Skip to main content
sharethis

เครือข่าย นศ.และประชาชนคืนความยุติธรรม 33 องค์กรร่วมเรียกร้องต่อประธานศาลฎีกาให้คืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังที่คดียังไม่สิ้นสุดและยุติการดำเนินคดีมาตรา 112 ตามข้อเรียกร้องของ “เก็ท โมกข์หลวงริมน้ำ” 

3 ต.ค. 2566 เครือข่ายนักศึกษาและประชาชนคืนความยุติธรรมได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อประธานศาลฎีกา เรื่องขอให้ศาลพิจารณาถึง 2 ข้อเรียกร้องของโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง หรือเก็ท  นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำที่ขณะนี้เป็นผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 โดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวระหว่างพิจารณาคดีหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านับตั้งแต่ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 66 ตัดสินจำคุกโสภณเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ จากกรณีเข้าร่วมปราศรัยในกิจกรรม “ฟื้นฝอยหาตะเข็บ 240 ปี ใครฆ่าพระเจ้าตาก” ที่วงเวียนใหญ่เมื่อ 6 เม.ย.2565 และต่อมา 4 ก.ย. 2566 โสภณถูกเบิกตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเขาได้แถลง “ขอถอนทนายความ” ในคดี ม.112 พร้อมปฏิเสธอำนาจศาลไม่ขอร่วมกระบวนพิจารณาคดีไม่ว่าในทางใดๆ โดย พร้อมเสนอข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ดังนี้

1) ขอให้คืนสิทธิประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคน

2) เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดี ม.112 ทั้งหมด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เวลา 11:30 น. อันเจลโลว์ ศตายุ สาธร นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า สาเหตุที่มายื่นหนังสือต่อประธานศาลฎีกาในฐานะที่เป็นประมุขฝ่ายตุลาการและประธานคณะกรรมการหลายชุดที่บริหารศาลยุติธรรมหลายชุดในประเทศไทย ให้พิจารณาถึง 2 ข้อเรียกร้องของเก็ทที่ถูกกล่าวข้างต้น พร้อมกับรายชื่อของผู้ต้องขังที่คดียังไม่สิ้นสุดจำนวน 25 คน โดยมีทั้งหมด 33 กลุ่มที่ร่วมลงนามในข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้

อันเจลโลว์กล่าวต่อว่า  เหตุที่ควรสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้ง 2 คือ สิทธิการประกันตัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและคดีทั้งหมดที่ถูกกล่าวถึงในจดหมายฉบับนี้เป็นคดีที่ยังไม่ถูกตัดสินจนถึงที่สุด ดังนั้น ศาลจึงควรเคารพในสิทธิการประกันตัวของประชาชน นอกจากนั้น ปัจจุบันยังไม่มีข้อกำหนดหรือขอบเขตในการบังคับใช้มาตรา 112 ที่ชัดเจนทำให้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ปิดปากประชาชนผู้แสดงออกทางการเมือง ดังนั้น ศาลจึงควรยุติการดำเนินคดีมาตรา 112 อย่างน้อยจนกว่าจะมีการกำหนดขอบเขตหรือการบังคับใช้ที่ชัดเจน

“นักโทษการเมืองทุกคนที่กำลังถูกจำคุกขณะนี้ต่างมีครอบครัว ความฝัน การงาน และหน้าที่ไม่ต่างจากคนทั่วไป หากศาลยิ่งพรากอิสระภาพของพวกเขาไป หลักนิติธรรมในประเทศก็จะยิ่งเสื่อมลง” อันเจลโลว์

จากนั้น ณิชารีย์ มีคุณ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อภิสิทธิ์ ฉวานนท์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมอ่านจดหมายเปิดผนึกต่อสื่อมวลชนและประชาชนบริเวณหน้าสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลและมีเจ้าหน้าที่นิติกรออกมารับจดหมายดังกล่าวพร้อมช่องทางการติดตามความคืบหน้า

ในแถลงการณ์ระบุถึงเหตุผลที่ทางเครือข่ายร่วมเรียกร้องตามข้อเรียกร้องของโสภณด้วยสองเหตุผลคือ หนึ่ง ผู้ต้องขังทั้ง 25 คนนี้คดีของพวกเขายังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดในชั้นฎีกาจึงมีสิทธิ์ในการได้รับการประกันตัวตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

“หากศาลที่ควรจะเป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรมในประเทศ ตัดสินใจที่จะไม่คืนสิทธิการประกันตัวแก่ผู้ต้องกาคดีทางการเมืองดังกล่าวทั้งหมดจะเป็นการสวนทางกับผู้ต้องหาในคดีอื่น ๆ ที่มีอัตราโทษสูงกว่า ส่งผลให้หลักนิติธรรมของประเทศเสื่อมเสียและความเชื่อมั่นในฝ่ายตุลาการลดลง”

นอกจากนั้นเหตุผลที่สองคือการดำเนินคดีพวกเขาโดยเฉพาะการใช้มาตรา 112 ที่ผ่านมานั้นเป็นการก่อนิติสงครามโดยรัฐบาลประยุทธ์ที่จะเอาผิดผู้ชุมนุมที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งการใช้กฎหมายลักษณะนี้ขัดกับที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยตรัสไว้เมื่อ 4 ธ.ค.2548 “แต่ความจริง ก็ต้องวิจารณ์บ้างเหมือนกัน แล้วก็ไม่กลัว ถ้าใครจะวิจารณ์ว่าทำไม่ดีตรงนั้น ๆ จะได้รู้ เพราะถ้าบอกพระเจ้าอยู่หัวไปวิจารณ์ท่านไม่ได้ก็หมายความว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่เป็นคน ” และที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ตรัสว่า “สิ่งที่อยากจะบอกคนไทยทุกคนมาตรา 112 ไม่ได้ใช้เลย เพราะอะไรรู้มั้ยเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรง พระเมตตา ไม่ให้ใช้นี่คือสิ่งที่ท่านทรงทำให้แล้ว ” เมื่อ 15 มิ.ย. 2563 ด้วย

ในข้อเรียกร้องที่ส่งถึงประธานศาลฎีกามีการระบุรายชื่อของผู้ต้องขังทั้ง 25 คนไว้ดังนี้

1. วารุณี (สงวนนามสกุล)
2. เวหา แสนชนชนะศึก
3.วุฒิ (นามสมมติ)
4.“เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง 
5.อุดม (สงวนนามสกุล) 
6.อานนท์ นำภา
7.ถิรนัย (สงวนนามสกุล)
8.ชัยพร (สงวนนามสกุล)
9.“มาร์ค” ชนะดล (สงวนนามสกุล)
10.ประวิตร (สงวนนามสกุล)
11.ธีรภัทร (สงวนนามสกุล)
12.ปฐวีกานต์ (สงวนนามสกุล) 
13.คเชนทร์ (สงวนนามสกุล)
14.ขจรศักดิ์ (สงวนนามสกุล)
15.วัฒน์ (นามสมมติ)
16.ทีปกร (สงวนนามสกุล)
17.จตุพล (สงวนนามสกุล)
18.พลพล (สงวนนามสกุล)
19.วัชรพล (สงวนนามสกุล) 
20.ณัฐพล (สงวนนามสกุล)
21.วีรภาพ วงษ์สนาม (รีฟ)
22.สมบัติ ทองย้อย
23.ไพฑูรย์ (สงวนนามสกุล)
24.สุขสันต์ (สงวนนามสกุล)
25.ธนายุทธ ณ อยุธยา

ส่วนรายชื่อเครือข่ายนักศึกษาและประชาชนคืนความยุติธรรมทั้ง 31 กลุ่มมีดังนี้

1. โมกหลวงริมน้ำ
2. แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม
3. DemHope
4. ทะลุฟ้า
5. พรรคโดมปฏิวัติ
6. กอผือรื้อ เผด็จการ
7. เพื่อนกัญปฏิวัติ
8. 14 ขุนพลคนของราษฎร
9. Law Long Beach – กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้
10. พรรคจุฬาของทุกคน
11. ทะลุวัง
12. Campaigners.who.hate.paperwork
13. แก๊ส
14. ภาคีนิสิตจุฬาฯ เพื่อสิทธิและเสรีภาพ
15. สโมสรนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. คณะกรรมการนิสิตปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. คณะกรรมการนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19. คณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.)
20. ฝ่ายส่งเสริมมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนสากล องค์การบริหารสโมสรนิสิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
23. องค์การ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
24. คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
25. คณะกรรมการนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
26. คณะกรรมการนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. คณะกรรมการนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. คณะกรรมการนักศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
29. คณะกรรมการนักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
30. คณะกรรมการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
31. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนาศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. คณะกรรมการนักศึกษาวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
33. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net