Skip to main content
sharethis

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนสรุปสถานการณ์ติดตามคุกคามนักกิจกรรม-ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในรอบเดือน ก.ย.-ต.ค. 2566 พบไม่น้อยกว่า 23 กรณี แนวโน้มที่พบมากที่สุด คือการถูกจนท.ไปหาที่บ้าน โทรติดต่อ หรือติดตามสอดแนม ระหว่างนายกฯ หรือสมาชิกราชวงศ์ลงพื้นที่ พบไม่น้อยกว่า 12 กรณี

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2566 ว่าระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566 หลังตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย แต่สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะตำรวจไปติดตามคุกคามประชาชนหรือนักกิจกรรม จากการแสดงออกทางการเมืองหรือในขณะที่มีบุคคลสำคัญลงพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ยังเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากยุครัฐบาลประยุทธ์ ดูเหมือนจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าว โดยจากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในรอบสองเดือนที่ผ่านมา พบกรณีไม่น้อยกว่า 23 กรณี

ในจำนวนนี้แยกเป็นกรณีที่เป็นลักษณะการติดตามโดยเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงที่มีบุคคลสำคัญ อาทิ นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ลงพื้นที่ จำนวนอย่างน้อย 12 กรณี, กรณีติดตามเนื่องจากทำกิจกรรมทางการเมือง 3 กรณี, การติดตามคุกคามในประเด็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ จำนวน 3 กรณี, การติดตามคุกคามจากการจัดกิจกรรมของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน จำนวน 2 กรณี, การติดตามคุกคามกรณีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของสมัชชาคนจน 2 กรณี และกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด 1 กรณี

โดยภาพรวมตั้งแต่ต้นปี 2566 ศูนย์ทนายฯ บันทึกสถิติการติดตามคุกคามประชาชนที่ส่งผลต่อเสรีภาพในการแสดงออก และความเป็นส่วนตัวแล้ว ไม่น้อยกว่า 123 กรณี โดยนักกิจกรรมบางรายถูกติดตามหลายครั้งตามวาระสำคัญหรือการมีบุคคลลงพื้นที่ต่าง ๆ

อ่านรายละเอียดทั้งหมดในเว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net