Skip to main content
sharethis


"

ประเทศจีน เป็นประเทศที่ถูกระบุมากที่สุดในฐานะปลายทางสำหรับการขยายฐานการวิจัยและพัฒนาในอนาคต..ส่วนประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่เป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพคือ สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม" ข้อมูลการสำรวจความเห็นจากบรรษัทข้ามชาติในรายงานการลงทุนของโลกประจำปี 2548 : บรรษัทข้ามชาติกับฐานการวิจัยและพัฒนาในต่างประเทศ ของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาหรือองค์ถัด ระบุ

วันนี้ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาเปิดแถลง

"รายงานการลงทุนของโลก ประจำปี 2548 : บรรษัทข้ามชาติกับฐานการวิจัยและพัฒนาในต่างประเทศ" โดยมีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการอังค์ถัด เป็นผู้แถลงอย่างเป็นทางการ รวมทั้งได้แจกจ่ายรายงานฉบับดังกล่าวไปทุกประเทศทั่วโลก เพื่อให้มีการเปิดเผยข้อมูลพร้อมกัน

ทั้งนี้ในส่วนที่สองของรายงาน กล่าวถึงหัวข้อ

"ประเทศกำลังพัฒนาเริ่มเป็นปลายทางที่น่าจับตามองสำหรับการวิจัยและพัฒนา" อธิบายความสำคัญของการกระจายฐานการวิจัยและพัฒนา (Research & Development -อาร์แอนด์ดี) ของบรรษัทข้ามชาติ ไปยังต่างประเทศ "จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางการลงทุนและการจ้างงาน" ภายใต้ความเหมาะสมทางด้านนโยบายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

อังค์ถัดรายงานโดยอ้าง ผลการสำรวจความเห็นบริษัทเอกชน ในหัวข้อ

"ประเทศที่มีแนวโน้มจะเป็นฐานการวิจัยและพัฒนาที่น่าดึงดูดมากที่สุด ปี 2548-2551" ระบุว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 13 ของการลงทุนอาร์แอนด์ดี ขณะที่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดียและญี่ปุ่น อยู่ใน 1-4 ตามลำดับ

นอกจากนั้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เอกชนสนใจลงทุนด้านอาร์แอนด์ดี และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ เกาหลี มาเลเซีย


อาร์แอนด์ดีเอเชียโตต่อเนื่อง


รายงานสรุปว่า ในการลงทุนโดยตรงเพื่อการวิจัยและการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นการเติบโตในมิติใหม่ของบรรษัทข้ามชาตินั้น มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในเอเชีย ช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา และมีบางประเทศเช่น จีน และอินเดีย ซึ่งมีแรงงานทักษะที่ดี เป็นปลายทางสำคัญ


โดยในปี

47 จำนวนศูนย์การวิจัยและพัฒนาต่างชาติในประเทศจีนเพิ่มขึ้นเป็น 700 แห่ง และมากกว่า 100 บรรษัทข้ามชาติ มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการวิจัยและพัฒนา

รายงานชี้ให้เห็นว่า การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาในหลายประเทศ โดยเฉพาะ จีน อินเดีย และสิงคโปร์ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ

1990 โดยมี โมโตโรล่า เป็นผู้บุกเบิกสร้างห้องทดลองเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็นแห่งแรกในจีน หลังจากนั้นก็มีบรรษัทข้ามชาติอื่นๆ ทยอยเข้าไปลงทุนจนกระทั่งเพิ่มเป็น 700 แห่งในปัจจุบัน

เช่นเดียวกันกับที่อินเดีย ห้องทดลองทางด้านอาร์แอนด์ดีของ เจอเนอรัล อิเล็คทริค ทำให้มีการว่าจ้างบุคคลากรในด้านการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้อง

2.4 พันคน หรือกระทั่งกรณีที่ โตโยต้า ต้องการสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาในต่างประเทศเป็นแห่งที่ 4 ก็ได้เลือกที่จะสร้างในประเทศไทย

อังค์ถัด เห็นว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในด้านอาร์แอนด์ดี ช่วยให้ประเทศต่างๆ เพิ่มศักยภาพในการสร้างนวตกรรม สามารถทำงานตอบสนองความต้องการ จัดการกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย และผลิตสินค้าที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ภายใต้นโยบายของรัฐบาลประเทศปลายทางของทุน จะต้องสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมรองรับอาทิ การสร้างนวตกรรม การศึกษา การลงทุน เพื่อดึงดูดเทคโนโลยี ทักษะ และเงินทุนจากต่างประเทศ


"

เหล่านี้คือ การลงทุนอย่างต่อเนื่องในทรัพยากรมนุษย์ และมีการสร้างสวนวิทยาศาสตร์ ห้องทดลองสาธารณะเพื่อการวิจัยและพัฒนา และตู้อบเชื้อ รวมถึงการใช้นโยบายที่มีเป้าหมายเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและสร้างระบบเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา" รายงานการลงทุนของโลกประจำปี 2548 ระบุ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net