Skip to main content
sharethis


ภาพประกอบจาก www.dollarsandsense.org


 


 


โดย วิทยากร บุญเรือง


 


 


"สวัสดี - เศรษฐกิจพอเพียง"


แฟชั่นกระแสนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยแรงศรัทธา เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์ (เศรษฐกิจ) ในปัจจุบัน ถ้าไม่กล่าวถึงเรื่อง 'เศรษฐกิจแบบพอเพียง' (sufficiency economics) ก็อาจจะดูเหมือนเป็นคนตกยุค หรือไม่มีจิตใจอันที่จะบ่งบอกถึงการเป็นพลเมืองที่ดี เพราะในปัจจุบัน ถือว่าเรื่องของเศรษฐกิจแบบพอเพียงนี้ เป็น 'วาระแห่งชาติ' ที่ทุกคนในบ้านนี้เมืองนี้ จำเป็นจะต้อง 'สมาทาน' ไว้โดยพร้อมเพรียงกัน และก็ดูเหมือนว่า คงจะเป็นการไม่เหมาะสม สำหรับการวิพากษ์-วิจารณ์แนวคิดนี้


 


สำหรับกรณีนี้ ถือว่าเป็นปรากฎการณ์สำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้คนไทยเราส่วนใหญ่ หันมาขบคิดเกี่ยวกับเรื่องที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป  ทั้งๆที่แต่เมื่อครั้งอดีตนั้น การกล่าวถึงมันดูเหมือนที่จะเป็นเรื่องไกลตัวเกินไป --- นั่นก็คือเรื่องของ "เศรษฐกิจ" (economics)


 


แต่ก็จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" ไม่ได้มี หรือ ไม่ได้เป็นแนวทางของหลักการและเป้าหมายในองค์ความรู้หมวดหมู่เศรษฐศาสตร์ อันที่จะทำให้เกิดการบริหาร-จัดการทรัพยากรของโลกอย่างคุ้มค่ามากที่สุด … แต่คำถามที่ไม่น่าจะให้ผ่านเลยไปโดยปราศจากการวิพากษ์-วิจารณ์ ก็คือ "ใครบ้างที่สมควรจะพอเพียง และจะทำอย่างไรให้มีความพอเพียงแบบเท่าเทียมกันโดยถ้วนหน้า?"


 


ดังที่ ผศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล เคยกล่าวไว้ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง "ทิศทางใหม่ของการปฏิรูปการเมืองไทย" ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า "คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" ในปัจจุบัน คล้ายๆ กับคำว่า "สวัสดี" คือสามารถนำมาพูดกันได้ทุกคน เพื่อให้รู้สึกดี พูดกันได้ง่ายๆ … แล้วความหมายของมันล่ะ? "


 


"สวัสดีครับ… แล้วยังไงต่อล่ะ? คุณสบายดีไหม? ผมสบายดี? ถ้าคุณมีเรื่องทุกข์ร้อนแล้วผมจะสามารถช่วยอะไรได้บ้างรึเปล่า? ฯลฯ" --- เช่นเดียวกันกับการนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ไปต่อยอดอย่างจริงๆ จังๆ อาจจะเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามที่ได้กล่าวไป และก็หาหนทางนำมันมาใช้อย่างยุติธรรมกับคนหมู่มากของสังคม


 


เมื่อมีหนทางบางสิ่งบางอย่างที่พอจะนำไปต่อยอด-แสวงหาจุดร่วมเพื่อที่จะนำพาให้พวกเราเดินไปสู่วันข้างหน้าที่ดีกว่าวันนี้  คงจะเป็นการดี ถ้าเราใช้มันให้เป็นและใช้มันให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนหมู่มาก เท่าที่สิ่งนั้นจะนำพาเราไปได้ … ดีกว่าอยู่เฉยๆ เปล่าๆ เปลี้ยๆ จมปรักอคติ แล้วก็เพียงแต่รอให้อะไรบางสิ่งบางอย่าง มันหล่นหาใส่เราเองด้วยความบังเอิญ!


 


000


 


"Noah"s Ark : การกลับไปที่จุดประสงค์ของเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น " 


 




ภาพประกอบจาก www.dollarsandsense.org


 


 


บางที สิ่งที่จะชี้ให้เห็นถึงหนทางในการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ อาจจะถูกยัดอยู่ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ในบทที่หนึ่งของตำราเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์รหัส 101 ก็เป็นได้ --- นั่นก็คือการจัดสรร-จัดการทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด  ซึ่งหมายถึงการนำทรัพยากรนั้นๆ ไปใช้ในกิจกรรมการผลิตให้เหมาะสม ระหว่างปริมาณของมัน ต่อความคุ้มค่าในการผลิต และต่อผู้ที่จะได้รับประโยชน์ ทั้งสามส่วนนี้จะต้องมีสัดส่วนเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างยุติธรรม นี่คือแนวคิดที่ง่ายต่อการนำเสนอ แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องยากในการนำมาปฏิบัติในทุกยุคทุกสมัย


 


แต่จากนี้ไป ข้อเสนอง่ายๆ นี้ จำเป็นจะต้องถูกนำมาปัดฝุ่นใช้อย่างเร่งด่วนที่สุด ผู้ผลิต-ธุรกิจรายย่อยและภาคประชาชนจะต้องร่วมมือกันกดดัน "อำนาจนิยมที่บิดเบี้ยวบนโลกใบนี้" ให้กระจายความ "มั่งคั่ง" สู่ส่วนรวมโดยเร็วที่สุด


 


โดยรวบรวมเหตุผลและข้อเสนอได้ ดังนี้ …


 


มองโลกในแง่ร้ายแบบ Malthus


หลังจากที่ Adam Smith ตีพิมพ์หนังสือ "An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations" ได้ 22 ปี หนังสือเล่มเล็กๆ เกี่ยวกับหลักเศรษฐศาสตร์และสัญชาตญาณของมนุษย์เล่มหนึ่งก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา นั่นก็คือ "An Essay on the Principle of Population"


 


ในแรกเริ่มไม่มีการเปิดเผยตัวของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ แต่เป็นที่ทราบกันในภายหลังว่ามันคือผลงานของสาธุคุณหนุ่ม  Thomas Robert Maltthus


 


"An Essay on the Principle of Population" ถือว่าเป็นหนังสือที่โดนตำหนิเป็นอย่างมากในยุคนั้น เนื่องจากเนื้อหาของมันนำเสนอแนวคิดแบบ "การมองโลกในแง่ร้าย" (Pessimism) พอสมควร นั่นก็คือ Maltthus อธิบายถึงยุคเข็ญของมนุษย์ที่จะเกิดเพราะการเพิ่มตัวของจำนวนประชากรที่ไม่มีสิ้นสุด (eternal misery)


 


Maltthus ยังได้นำทฤษฎี ค่าจ้างพอเพียงประทังชีวิต (subsistence wage theory) หรือ กฎเหล็กแห่งค่าจ้างแรงงาน (the iron law of wage) มาอธิบายถึงความชอบธรรมในการกดค่าแรง เพื่อให้คนงานมีพอมื้อกินมื้อไป แต่หากเมื่อไหร่ที่คนงานได้ค่าแรงสูงจะทำให้แรงงานมีลูกมาก ทำให้ประชากรเพิ่มมากเพิ่มจนค่าจ้างไม่พอเลี้ยง ค่าจ้างแรงงานจึงจะตกลงมา ทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานก็จะต่ำตาม อันเป็นผลให้เกิดโรคระบาดและการล้มตาย ทำให้ประชากรลดลงเหลือพอจำนวนค่าจ้างเลี้ยงดูได้ ทฤษฎีนี้ยังอธิบายถึงการไม่สนับสนุนให้มีการบรรเทาทุกข์แก่คนยากจน เพราะว่าในการต่อสู้ผู้ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น ที่สมควรจะอยู่รอด และการกำกับการเพิ่มจำนวนของประชากรนั้น สงคราม-ความอดอยาก-และการชะลอการสมรส ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นตามความคิดของ Multhus  นอกจากนี้ Multhus ยังแสดงความไม่เชื่อมั่นว่าการผลิตสินค้าจะจำหน่ายได้หมดเสมอไป เพราะว่าความต้องสินค้า (Effective Demand) อาจจะมีน้อยกว่าที่จำเป็น ซึ่งจะทำให้ขายสินค้าไม่หมดและส่งผลกระทบสู่ภาวะเศรษฐกิจ


 


โดยภาพรวมแล้ว ข้อเสนอของ Multhus เป็นข้อเสนอที่ไม่สมควรนำมาใช้เป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม แต่ในทางกลับกัน ข้อเสนอของ Multhus นั้น กลับเป็นข้อเสนอที่ทำให้เห็นภาพปัญหาจริงๆจังๆ ของระบบเศรษฐกิจสังคม ที่เกิดขึ้นมาแล้ว-และที่กำลังจะเกิด


 


ถึงแม้ว่าในหลายประเทศกำลังมีปัญหาการลดลงของอัตราประชากร แต่โดยรวมแล้ว อัตราการเพิ่มของประชากรรวมทั้งโลกในปัจจุบันมีเท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อปี และด้วยอัตรานี้สหประชาชาติคาดการณ์ว่า ในปี ค.. 2100 ประชากรโลกจะมีถึง 11000 ล้านคน และจำนวนประชากรของประเทศด้อยพัฒนาจะเพิ่มสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นจำนวนมาก


 


สิ่งหนึ่งที่คาดการณ์ได้เลยว่า หากระบบเศรษฐกิจยังคงไม่เป็นธรรมต่อคนหมู่มาก พลโลกที่กำเนิดขึ้นมาใหม่จำนวนมากจะต้องกลายเป็นเพียง "แรงงานทาส-ผู้บริโภคผู้ซื่อสัตย์" ภายในจำนวน 11000 ล้านคนนั้น กลุ่มคนผู้มีอิทธิพลต่อโลกอาจจะไม่ถึงหลักหมื่นด้วยซ้ำ! หากการขยายตัวแบบจักรวรรดินิยมบรรษัทยังคอยจ้องกลืนกินธุรกิจเล็กๆ , หากยังไม่มีการจัดสรรที่ดินที่เป็นธรรม ,หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนกฎหมายเกี่ยวกับมรดก , และหากยังไม่มีการสร้างรัฐสวัสดิการขึ้นมารองรับคนในสังคม


 


สิ่งที่ Multhus ชี้ให้เห็นนั้นคือความน่ากลัวที่เคยเกิดขึ้นแล้ว และในอนาคตมันจะเกิดขึ้นอีก หากเรายังไม่สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมขึ้นมา


 


ระบบตลาดแบบสมบูรณ์


สิ่งที่ถูกต้องในการ "จัดสรร-บริหาร" ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุดนั่นก็คือ "การวางแผน" ทั้งในการผลิต และกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่าง แต่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้น "ระบบตลาดที่เป็นธรรม" ก็สามารถเกิดขึ้นได้ และเช่นเดียวกันหนทางที่จะนำไปสู่การเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้น ระบบตลาดที่เป็นธรรมก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยนำไปสู่เป้าหมายนั้น


 


มนุษย์มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะต้องถูกจำกัดอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่งก็ตาม พลังในการสร้างสรรค์ก็จักต้องมีการแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนามันให้ดียิ่งขึ้นไปอีก


 


ขนมปังเพียงก้อนเดียวอาจถูกเปลี่ยนรูปแบบและรสชาติ จากนั้นก็แลกเปลี่ยนกับขนมปังก้อนอื่น!


 


Adam Smith คือบิดาแห่งระบบตลาด ที่ถูกลูกหลานและศาธานุศิษย์รุ่นต่อมาจำนวนหนึ่ง และเป็นจำนวนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อโลก ด้วยลัทธิเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) อย่างในปัจจุบันหักหลัง! (แต่ก่อนหน้านั้น เขาทำการหักหลังตัวเองด้วยการเป็นหัวหน้าศุลกากรในสกอตแลนด์ ทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้า และตรวจสอบสินค้าหนีภาษี อย่างขยันขันแข็ง ;-)


 


ใน "An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations" บรรยายถึงเสรีภาพ-ประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งจริยธรรมในการจัดระเบียบตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรการผลิตของสังคมด้วยความเท่าเทียมและพอเหมาะ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขายตั้งอยู่บนพื้นฐานการตัดสินใจที่ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน โดยลักษณะตลาดที่สมบูรณ์ของ Smith นั้นจะต้องประกอบไปด้วยลักษณะดังนี้


 


·         ผู้ซื้อและผู้ขายมีขนาดเล็กหลายราย (Numerous buyers and sellers) และจักต้องไม่มีอิทธิพลต่อตลาด


·         ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องรับรู้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ (All buyers and sellers are about market and price) และจักต้องไม่มีความลับทางการค้า


·         ผู้ขายจะต้องแบกภาระทางต้นทุนไว้เองทั้งหมด แล้วจึงส่งผ่านไปในราคาขาย


·         เงินลงทุนจักต้องอยู่ภายในท้องถิ่น การค้าระหว่างประเทศจึงจะมีความสมดุล


·         เงินออมจะต้องถูกนำไปลงทุนในการผลิตสินค้าใหม่ๆ


 


แต่ภายใต้การกำกับเศรษฐกิจโลกของจักรวรรดิบรรษัทนิยม กลับบิดเบือนและนำพาระบบตลาดไปสู่การผูกขาด (Monopoly Market) ซึ่งในระบบตลาดแบบผูกขาดนี้ ย่อมไม่เป็นการสรรค์สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมขึ้นมาได้เลย


 


การค้าเสรีระหว่างท้องถิ่น ภายใต้ทฤษฎี "Comparative advantage"


การสร้างการแข่งขันแบบผูกขาดโดยจักรวรรดิบรรษัทนิยม ไม่ใช่เฉพาะเป็นการกระทำในตลาดใดตลาดหนึ่ง หรือท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง แต่กลับจะทำให้โลกทั้งโลกกลายเป็นตลาดเดียว และเป็นตลาดที่ผูกขาดโดยพวกเขา ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "การค้าเสรีระหว่างประเทศ" หรือ "โลกาภิวัฒน์"


 


ความพยายามที่จะทำให้โลกกลายเป็นตลาดเดียวของจักรวรรดิบรรษัทนิยม นอกเหนือที่จะทำให้ความหมายของระบบตลาดถูกบิดเบือนไปอย่างมหาศาลแล้ว วัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันหลากหลายก็จะถูกทำลายลงไปด้วยวัฒธรรมและเอกลักษณ์ที่จักรวรรดิบรรษัทนิยมยัดเยียดให้แก่ท้องถิ่นนั้นๆ --- Hip-Hop จะกลายเป็นวัฒนธรรมของโลก เช่นเดียวกับน้ำอัดลมเพียงสองยี่ห้อเท่านั้น ที่ชาวโลกจะได้ดื่มมัน!


 


ใน Theory of comparative Advantage ของ David Ricardo ได้เสนอไว้ว่า การค้าแบบเปิดระหว่างสองชาติย่อมเอื้อต่อผลประโยชน์ของทั้งสอง ตราบเท่าที่มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะจำนวนหนึ่ง คือจะต้องมีการสร้างความสมดุล มีการจ้างงานอย่างเต็มที่เต็มอัตราในประเทศทั้งสอง


 


โลกในความจริงที่เป็นอยู่นั้นก็คือศักยภาพของแต่ละแห่งนั้นยังไม่เท่าเทียมกัน การก้าวกระโดดโดย "โลกาภิวัฒน์ของนายทุน" ตามแบบอย่างลัทธิเสรีนิยมใหม่ในปัจจุบัน ที่มีนโยบาย - ย้ายฐานการผลิตสู่ถิ่นที่แรงงานราคาถูก , ย้ายทุนทางการเงินเพื่อการเก็งกำไรชั่วคราว , สร้างตลาดผู้บริโภคใหม่ๆ ในแต่ละภูมิภาคในโลกโดยที่ศูนย์กลางในการ "เก็บเกี่ยวกำไร" ยังอยู่ในส่วนที่เจริญที่สุดของโลกอยู่ ฯลฯ เหล่านี้ย่อมไม่ส่งผลให้การค้าเสรีระหว่างประเทศ ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพมวลรวมในท้องถิ่นนั้นจริงๆ จังๆ ผลประโยชน์ก็คงจะตกแก่นายทุน-นายหน้า-พ่อค้าคนกลาง ท้องถิ่นเท่านั้น และความได้เปรียบอย่างเด็ดขาด (absolute advantage) จะเกิดแก่ท้องถิ่นที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่าท้องถิ่นอื่นๆ เท่านั้น


 


เศรษฐกิจที่เป็นธรรมมิได้ปฏิเสธการค้าระหว่างท้องถิ่น แต่จะต้องทำให้ท้องถิ่นนั้นๆ ดูแลตนเองได้ก่อน การเปิดเสรีในทันทีทันใดโดยไม่คำนึงถึง "ปัจจัยพื้นฐาน" ในแต่ละท้องถิ่น ย่อมจะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อคนในท้องถิ่นที่ขาด "อำนาจ-การตัดสินใจ" ในเรื่องเศรษฐกิจ  คนเหล่านี้ (แรงงาน,เกษตรกร,ธุรกิจรายย่อย) จะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ล้มหายตายจากไปก่อนเพื่อนจากโลกาภิวัฒน์ที่บิดเบือนนี้


 


การค้าระหว่างท้องถิ่นที่เป็นธรรม จะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง การค้าเสรีอาจจะเป็นการร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นที่ยังด้อยพัฒนาแต่ละแห่ง สร้างความสัมพันธ์ทางการค้าในสิ่งที่แต่ละท้องถิ่นขาดแคลน ผลิตในสิ่งที่ตนเชี่ยวชาญและมีคุณภาพ (greater relative efficiency) แล้วก็แลกเปลี่ยนกันกับท้องถิ่นอื่นๆ ตามหลักการแบ่งงานกันทำระหว่างท้องถิ่น(Local division of labor) --- โลกาภิวัฒน์แบบนี้ต่างหากที่โลกกำลังต้องการ … มิใช่การเข้าไปหาผลประโยชน์จากท้องถิ่นอื่นๆ อย่างตะกละตะกลาม โดยจักรวรรดิบรรษัทนิยม อย่างในปัจจุบัน!  


 


 


ทุนนิยมผูกขาดคือหายนะ


Fernand Braudel ได้ให้ความหมายของคำว่า "Capitalism" ไว้ว่า "ทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจและสังคมที่คนส่วนน้อยกีดกันความเป็นเจ้าของและผลประโยชน์ของทุนจากคนส่วนใหญ่ซึ่งซึ่งใช้แรงงานทำให้ทุนสร้างผลผลิต" ---การสะสมทุนและการกีดกันจึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ระบบทุนนิยมไม่เคยสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจมาทุกยุคทุกสมัย


 


ระบบทุนนิยมได้นำเพียงเศษเสี้ยวของวิธีการในระบบตลาดมาใช้ แล้วก็บิดเบือนมัน ทั้งๆที่หนทางในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมผ่านกลไกของตลาดสมบูรณ์นั้นเป็นหนทางหนึ่งที่เป็นไปได้


 
































































 


ทุนนิยม


ตลาดที่สมบูรณ์


สิ่งจูงใจหลัก


เงิน


ชีวิต


การกำหนดจุดหมาย


ใช้เงินเพื่อหาเงินให้กับผู้มีเงิน


ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของทุกคน


ขนาดกิจการ


ใหญ่มาก


เล็กและปานกลาง


ต้นทุน


ผลักออกไปให้สารธารณะ


รับไว้ภายในโดยผู้ใช้


ความเป็นเจ้าของ


ไม่เป็นบุคคล


ไม่อยู่ในท้องถิ่น


มีความเป็นบุคคล


มีรากเหง้า


ทุนทางการเงิน


ไร้พรมแดน


ระดับท้องถิ่น


ระดับชาติ


มีพรมแดน


จุดมุ่งหมายของการลงทุน


ทำกำไรส่วนบุคคลสูงสุด


เพิ่มผลิตผลที่มีประโยชน์


บทบาทของกำไร


จุดหมายที่ต้องทำให้ได้มากที่สุด


เป็นแรงจูงใจให้ลงทุน


ที่ก่อให้เกิดผลผลิต


กลไกประสานงาน


วางแผนจากส่วนกลาง


โดยบรรษัทยักษ์ใหญ่


เครือข่ายและตลาดที่มีการจัดระเบียบ


การร่วมมือ


ระหว่างคู่แข่งเพื่อเลี่ยงกติกาการแข่งขัน


ระหว่างผู้คนและชุมชน


เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมมากยิ่งขึ้น


จุดมุ่งหมายของการแข่งขัน


กำจัดผู้ที่ไม่แข็งแรง


กระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพและนวัตกรรม


บทบาทของรัฐบาล


ปกป้องผลประโยชน์แห่งทรัพย์สิน


ทำให้ผลประโยชน์ของมนุษย์รุดหน้า


การค้า


เสรี


เป็นธรรมและมีสมดุล


ความโน้มเอียงทางการเมือง


ชนชั้นนำ


ประชาธิปไตยของเงินตรา


มวลชน


ประชาธิปไตยของมวลชน


 


ตารางเปรียบเทียบระหว่างทุนนิยม กับ ตลาด ของ David C. Korten


 


ภาพประกอบจาก www.dollarsandsense.org


 


 


ระบบเศรษฐกิจบนความเสมอภาคของมนุษย์


ทั้งนี้ระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ความเสมอภาคทางเพศ , แนวคิด , และวิถีทางในการเลือกที่จะดำรงชีวิตเอง ตามแบบต่างๆ ที่อยู่ในกรอบของการใช้ทรัพยากรอย่างถ้วนหน้าและคุ้มค่าที่สุด --- จะต้องไม่มีลักษณะอำนาจนิยมที่บีบบังคับให้เรา "พอเพียง" หรือ "พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่" ทั้งๆ ที่ความเสมอภาคในสังคมเหล่านั้น ยังไม่เกิดขึ้น


 


และต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า ในโลกที่เราดิ้นรนต่อสู่อยู่ทุกวันนี้ ผลประโยชน์จากการบริโภค - การทำงาน - รวมถึงการขายเราเป็นสินค้า มันอยู่ในมือของชนชั้นนำและนายทุนทั้งหมดทั้งสิ้น --- และเราจะไม่มีวันได้ "ระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม" จากกลุ่มคนเหล่านี้


 


ระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมจะต้องสร้างรากฐานจากล่างสู่บน  คนธรรมดา,แรงงาน,เกษตรกร,วิสาหกิจรายย่อย จะต้องท้าทายกับอำนาจนิยมเหล่านั้น ด้วยวิถีทางใหม่ๆ เช่น สร้างสหกรณ์การผลิต-การค้า , ปฎิเสธโลกาภิวัฒน์ของนายทุน , สร้างการศึกษาทางเศรษฐศาสตร์-บริหารธุรกิจ ทางเลือกขึ้นมา เป็นต้น


 


ถ้าระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ทุกวันนี้มันงี่เง่าและไม่ได้เรื่อง … ก็จงช่วยกันออกแบบใหม่ และก็ลงมือสร้างมันขึ้นมาซ๊ะ! ด้วยน้ำมือของ "คนเล็กๆ" อย่างพวกเรา!


 


 


อคติและคำตอบ เกี่ยวกับ "การสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม"


อคติ : ระบบทุนนิยมเกี่ยวโยงกับระบบตลาดอย่างเป็นโครงสร้างที่แยกกันไม่ออก ไม่สามารถที่จะแยกส่วนในการวิเคราะห์ได้


คำตอบ : ความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมที่เป็นโครงสร้างต่างหากที่เป็นปัญหา ระบบตลาดเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสร้างสรรค์ผลงานการผลิตของมนุษย์ ซึ่งสามารถสร้างโครงสร้างความยุติธรรมและประชาธิปไตยเข้าครอบวิธีการนี้ได้


 


อคติ : การทำลายระบบตลาดคือคำตอบของเศรษฐกิจที่เป็นธรรม


คำตอบ : ถูกต้อง นั่นคืออีกหนทางในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม แต่การคงไว้ซึ่งระบบตลาดที่ปราศจากความโลภของมนุษย์ เพื่อการแลกเปลี่ยนสร้างสรรค์ ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง การจะปฎิเสธว่ามนุษย์ไม่สามารถพัฒนาจริยธรรมของตนไปถึงขั้นที่ไม่เอาเปรียบคนอื่นๆได้นั้น เป็นการดูถูกมนุษย์มิใช่น้อย


 


อคติ : ไม่มีทางที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมนี้ได้ในเร็ววัน


คำตอบ : ถูกต้องอีกเช่นกัน แต่การละทิ้งความหวัง หรือได้แต่วิจารณ์โดยไม่ทำให้อะไรดีๆ เกิดขึ้น น่าที่จะเป็นการกระทำที่ดูสิ้นหวังเสียกว่า ;-)


 


ฯลฯ


 


.....................................................................................


 


ประกอบการเขียน - แหล่งข้อมูลแนะนำ


นิตยสาร Dollars & Sense ฉบับ november-december 2004


นิตยสาร Dollars & Sense ฉบับ july-august 2006


หนังสือ "when corporation Rule the world" - David C.Korten


หนังสือ "The Post-Corporate World : Life After Capitalism" - David C.Korten


หนังสือ "No Logo" - Naomi Klein


หนังสือ "Fences and Windows : Dispatches from the front lines of the globalization debate" - Naomi Klein


หนังสือ "The Accidental Theorist and Other Dispatches from the Dismal Science" - Paul Krugman


หนังสือ "Parecon Life After Capitalism" - Michael Albert


หนังสือ "What is the real Marxist tradition" - John Molyneux


http://en.wikipedia.org/wiki/Fair_trade


http://en.wikipedia.org/wiki/Trade_justice


http://www.fairtraderesource.org/


http://www.usft.org/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net