Skip to main content
sharethis


กรณีมีการคัดค้านการตัดสินใจแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตของรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นในวันที่ 2 ตุลาคม ซึ่งจะทำให้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) มีผลบังคับใช้ใน 30 วันหลังจากการแลกเปลี่ยน (1 พฤศจิกายน) โดยไม่มีการยื่นเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นั้น 


 


กลุ่มพลเมืองชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สิทธิมนุษยชน เกษตรกรรมและผู้บริโภค ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า การตัดสินใจและจุดมุ่งหมายของรัฐบาลไทยครั้งนี้ละเมิดมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 


 


ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า พวกเขาสนับสนุนการคัดค้านของพลเมืองไทยต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญและความไม่โปร่งใสของรัฐบาลสุรยุทธ์อย่างยิ่ง และย้ำว่ามาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550  กำหนดให้สนธิสัญญา อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศใดๆ ซึ่งรวมถึงเจเทปป้าต้องผ่านการพิจารณาจาก สนช.


 


นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องไม่ให้รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนรัฐบาลไทยในการหลบหลีกการนำเจเทปป้าเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. โดยละเมิดรัฐธรรมนูญไทยเพื่อที่จะให้สัตยาบันข้อตกลงโดยเร็วด้วย รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นอย่าผูกพันตนเองในการแลกเปลี่ยนจดหมายทางการทูตกับรัฐบาลไทยโดยไม่ส่งเจเทปป้าเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.


 


"เราคาดหวังว่าไม่เพียงแต่ประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าของเสียอันตรายเท่านั้นที่จะได้รับการถกเถียงใน สนช.แต่รวมถึงปัญหาทั้งหมดที่มีอยู่ในเจเทปป้าด้วย" แถลงการณ์ระบุทิ้งท้าย


 


 


 


0000000


 


แถลงการณ์ร่วมแสดงความห่วงใยจากกลุ่มพลเมืองญี่ปุ่น


 


"รัฐบาลญี่ปุ่นได้รับการเรียกร้องไม่ให้สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทย


ที่จะเร่งให้สัตยาบันเจเทปป้า


โดยไม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


ซึ่งละเมิดรัฐธรรมนูญไทย"


 


28 กันยายน 2550


 


กลุ่มพลเมืองไทยคัดค้านการละเมิดรัฐธรรมนูญและความไม่โปร่งใสของรัฐบาลไทย ซึ่งได้ตัดสินใจที่จะแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตกับญี่ปุ่นในวันที่ 2 ตุลาคม และทำให้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) มีผลบังคับใช้ใน 30 วันหลังจากการแลกเปลี่ยน (คือ วันที่ 1 พฤศจิกายน)  โดยไม่ยื่นเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์ กำลังพยายามรักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ให้เจเทปป้ามีผลบังคับใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  การตัดสินใจและจุดมุ่งหมายของรัฐบาลไทยครั้งนี้ละเมิดมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550  


 


เรา  กลุ่มพลเมืองชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานด้านสิ่งแวดล้อม  สุขภาพ  สิทธิมนุษยชน  เกษตรกรรมและผู้บริโภค  ขอแสดงจุดยืนของเราต่อสถานการณ์แวดล้อมเจเทปป้าและการประท้วงของพลเมืองไทย


 


(1)  เราสนับสนุนการคัดค้านของพลเมืองไทยต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญและความไม่โปร่งใสของรัฐบาลสุรยุทธ์อย่างยิ่ง ย้ำว่ามาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550  กำหนดให้สนธิสัญญา อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศใดๆ ซึ่งรวมถึงเจเทปป้าต้องผ่านการพิจารณาจาก สนช.


 


(2) เราเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นอย่าสนับสนุนรัฐบาลไทยในการหลบหลีกการนำเจเทปป้าเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. โดยละเมิดรัฐธรรมนูญไทยเพื่อที่จะให้สัตยาบันข้อตกลงโดยเร็ว


 


(3) เราเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นอย่าผูกพันตนเองในการแลกเปลี่ยนจดหมายทางการทูตกับรัฐบาลไทยโดยไม่ส่งเจเทปป้าเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ในการละเมิดรัฐธรรมนูญไทย


 


(4) เราคาดหวังว่าไม่เพียงแต่ประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าของเสียอันตรายเท่านั้นที่จะได้รับการถกเถียงใน สนช.แต่รวมถึงปัญหาทั้งหมดที่มีอยู่ในเจเทปป้าด้วย


 


องค์กรที่ร่วมลงนาม:


Advocacy and Monitoring Network on Sustainable Development (AM-Net)


ATTAC (Association for the Taxation of financial Transaction for the Citizens) Japan


Basel Action Network (BAN) / USA


Campaign for Future of Filipino Children (CFFC)


Chemical Sensitivity Support Center


Chikugo River Water Watch


Citizens Against Chemicals Pollution


Citizens Policy Research Committee


Consumers Union of Japan


Forum for Peace, Human Rights and the Environment


Globalization Watch Hiroshima


Japan Family Farmers Movement (NOUMINREN)


Japan Occupational Safety and Health Resource Center (JOSHRC)


Jubilee Kansai Network


Kansai Action Center on Philippine Human Rights Issues


"National Coalition of Workers, Farmers and Consumers for Safe Food and


Health in Japan (SHOKKENREN)"


No-to-WTO/FTA Grassroots Campaign


Pesticide Awareness Group


Stop! Dioxin Pollution! East Japan Network


Stop the Dioxin Pollution! Kansai Network


 


 


 
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net