Skip to main content
sharethis

คณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา เชิญประธาน จนท.บริหาร เอ็มอาร์ซี ให้ข้อมูล เผยรายงานประเมินสิ่งแวดล้อม ชี้ 12 เขื่อนกั้นน้ำโขงสร้างผลกระทบมาก แนะชะลอการตัดสินใจอีก 10 ปี

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต  และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา โดย คณะอนุกรรมาธิการศึกษาคุณค่า การพัฒนา และผลกระทบในลุ่มน้ำโขง ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการทรัพยากร น้ำ ในคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้จัดเสวนาประชาชน เรื่อง “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำกับการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน” โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานราชการและภาคประชาชน เข้าร่วมจำนวนมาก

นายเจเรมี เบริ์ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) กล่าวว่าผลการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายหลัก ฉบับสมบูรณ์ ที่เพิ่ง ทำแล้วเสร็จในเดือนต.ค.53 หลังจากใช้เวลาถึง 16 เดือนเต็มว่า แผนพัฒนาเขื่อน 12 แห่งพบว่า 96% ของความต้องการพลังงานในปี 2568 มาจากไทยและเวียดนาม และเขื่อนจะผลิตไฟฟ้ามากถึง 14,697 เมกกะวัตต์ หรือคิดเป็น 23-28% ของศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานระดับชาติของ 4 ชาติในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ขณะเดียวกันยังง ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนมหาศาล ถ้าเทียบกับความสูญเสียจากผลกระทบอื่นๆโดยเฉพาะประมงความมั่นคงทางอาหาร การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำโขง เที่ยบเท่ากับสูญเสียระดับโลก และความเสี่ยงต่อการลุ่มสลายของชุมชนในลำน้ำโขง เป็นต้น

เจเรมี กล่าวอีกว่า จากรายงานดังกล่าว ได้เสนอ 4 แนวทางเลือกดังนี้ 1.ควรให้ชะลอการตัดสินใจการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขงสายหลักออกไป 10 ปี โดยอาจทบทวนทุกๆ 3 ปี  2.เป้าหมายในระหว่างการชะลอการตัดสินใจ คือการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกั้นลำน้ำบางส่วน หรือการกั้นลำน้ำเพื่อให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน หรือระบบนวัตกรรมการสร้างเขื่อนอย่างอื่น โดยอาจไม่จำเป็นต้องสร้างเขื่อนกั้นตลอดความกว้างของแม่น้ำ 3.ในช่วงชะลอการตัดสินใจควรต้องประเมินอย่างละเอียดแทนที่จะผลักดันโครงการ พัฒนาพลังงานน้ำในลำน้ำสาขาที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ไว้แล้ว และ4.ควรต้องเผยแพร่รายงานการประเมินชิ้นนี้ในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่าง เป็นระบบ เพราะเห็นว่าแม่น้ำโขงไม่ควรถูกใช้เป็นสนามทดลองในการปรับปรุงเทคโนโลยีการ สร้างเขื่อนพลังงานน้ำอย่างเต็มรูปแบบ

"ยอมรับว่าเอ็มอาร์ซี  ไม่ได้มีหน้าที่ตัดสินใจว่าต้องสร้าง หรือไม่สร้างเขื่อนในน้ำโขง แต่ข้อมูลการรประเมินชิ้นนี้ จะถูกส่งให้ประเทศสมาชิกใช้ข้อมูลตัดสินใจเท่านั้น"นายเจเรมี เบริ์ด ระบุ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net