Skip to main content
sharethis

ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง หลายองค์กรพยายามจัดเวทีให้นักการเมืองแต่ละพรรคมาแสดงวิสัยทัศน์และแนวนโยบายต่างๆ ให้ประชาชนได้ทราบ ในเวทีสาธารณะ เรื่อง\ไฟใต้ดับได้ด้วยการกระจายอำนาจ\" ก็เป็นเวทีหนึ่งที่สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นร่วมกับองค์กร เมื่อที่ 4 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ก็ได้เชิญตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ มาแสดงวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการกระจายอำนาจ ครั้งนี้มีตัวแทน 6 พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผศ.จิระพันธ์ เดมะ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นผู้ดำเนินรายการ ตัวแทนทั้ง 6 พรรค ได้แก่ นายมูฮำมัดซูลฮัน ลามะทา ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์) ลำดับที่ 78 พรรคชาติไทยพัฒนา นายถาวร เสนเนียม ผู้สมัครเขต 6 สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ นายอีรฟาน สุหลง พรรคเพื่อไทย นายนาเซ บากา ตัวแทนพรรคดำรงไทย นายมูฮำหมัดอารีฟีน จะปะกียา ผู้สมัคร ส.ส.ปัตตานี เขต 2 พรรคมาตุภูมิ นายอัซโตร่า โต๊ะราแม ผู้สมัครเขต 4 นราธิวาส พรรคความหวังใหม่ แต่ละพรรคมีแนวนโยบายอย่างไร มีเนื้อสรุปได้ดังนี้ นายมูฮำมัดซูลฮัน ลามะทา พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติไทยพัฒนาจะตั้งศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจร รูปแบบคล้ายรัฐบาลส่วนหน้าที่มาตั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมาพรรคสนับสนุนการออกพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ พ.ร.บ.ศอ.บต. พรรคจึงพยายามนำเสนอนโยบายที่ทำได้ใน 4 ปี ไม่อยากเสนอโมเดล(รูปแบบ) ที่ทำไม่ได้ใน 4 ปีหลังจากเลือกตั้ง ความแตกต่างของบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจรกับศอ.บต.(ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) คือ ศอ.บต.มีงบประมาณของตัวเอง กระทรวงต่างๆก็มีงบประมาณของตัวเอง ต่างก็วางงบประมาณของตัวเอง ไม่มีความเป็นเอกภาพ สิ่งที่พรรคเสนอคือการวางงบประมาณตรงนี้ และมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจ ถามว่าการกระจายอำนาจอยู่ตรงไหน ก็อยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน และของทุกภาคส่วน มีอำนาจจริงๆในการวางกรอบงบประมาณ แม้ศอ.บต.มีสภาที่ปรึกษาในการวางกรอบงบประมาณ แต่ก็เฉพาะงบประมาณของศอ.บต. และศอ.บต.ก็ไม่สามารถไปควบคุมงบประมาณกระทรวงอื่นได้ แต่ศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจรมีอำนาจเบ็ดเสร็จมากขึ้น เป็นการยกระดับศอ.บต.ขึ้นมาเป็นศูนย์บริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ครบวงจร ซึ่งทำได้แน่นอนในระยะเวลา 4 ปี โครงสร้างคือ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบ นายถาวร เสนเนียม พรรคประชาธิปัตย์ หลายเวทีที่มีนักการเมืองและนักวิชาการเรียกร้อง ให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ โดยรวม 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและ 4 อำเภอของสงขลา เป็นปัตตานีมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นใหญ่ จะมีรูปแบบอย่างไร ดูในเรื่องพื้นที่ก่อน คือ มีพื้นที่รวม 11

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net