CNNgo มองย้อนภาพยนตร์ไทยที่เคยส่งเข้าชิงออสการ์

ไม่นานมานี้เองประเทศไทยได้ส่งผลงานเข้าชิงรางวัลออสก้าร์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมประจำปี 2554 คือผลงานเรื่อง 'คนโขน' ซึ่งเป็นภาพยนตร์ดราม่าเร้าอารมณ์เกี่ยวกับนาฎศิลป์ไทย ขณะที่กรณีนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ไม่มีนักวิจารณ์รับรองความยอดเยี่ยมและไม่ทำรายได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะว่าคณะกรรมการออสก้าร์จากสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติของไทย (FNFAT) ซึ่งได้รับการผลักดันจากกระทรวงวัฒนธรรม มักจะให้ค่ากับภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมไทยและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เรื่อง \คนโขน\" เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความขัดแย้งของคณะละครโขนคู่ปรับ และแม้ว่านักวิจารณ์จะชื่นชมผู้กำกับศรัญยู วงศ์กระจ่าง ในแง่ของการมีอุดมคติสูงส่งดีงามในการอนุรักษ์วัฒนธรรม พวกเขาก็กล่าวโจมตี \"คนโขน\" ว่าตัวละครมีมิติเดียว 'ดราม่า' กันหนักหน่วงเกินไป และขาดความชัดเจนในพล็อตเรื่อง ไม่เพียงแค่นักวิจารณ์จะไม่ปลื้ม แม้แต่ผู้ชมทั่วไปก็ถอยหนี ภาพยนตร์ชิ้นนี้ทำเงินได้เพียงราวๆ 7 ล้านบาท กระทรวงวัฒนธรรมซึ่งช่วยออกเงินทุนให้ก็ไม่ได้ยี่หระอะไร ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มส่งภาพยนตร์เข้าประกวดออสก้าร์ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา ไม่มีเรื่องใดเลยที่ชนะรางวัลหรือผ่านเข้ารอบสุดท้ายในฐานะผู้เข้าประกวดรางวัลภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม กระทรวงวัฒนธรรมกล่าวผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ว่าเป้าหมายในครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อเอาชนะรางวัลออสก้าร์ แต่เพื่อโปรโมทวัฒนธรรมไทยผ่านภาพยนตร์ ซึ่งภาพยนตร์ที่ส่งเข้ามาก็ไม่ได้เป็นเช่นที่ว่า (โปรโมทวัฒนธรรม) เสมอไป ในช่วงแรกๆ ที่ส่งไปคือช่วง คริสตศตวรรษที่ 2523 ถึงราว 2533 มักจะเป็นภาพยนตร์ดราม่าในแบบที่เรียกว่าแนว 'ปัญหาสังคม' ที่สะท้อนสภาพสังคมในยุคสมัยนั้นๆ และ มีหลายครั้งที่ภาพยนตร์ไทยที่เลือกเข้าชิงออสก้าร์เป้นภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ ต่อจากนี้จะเป็นการนำเสนอภาพยนตร์ไทยทั้ง 18 เรื่องที่เคยส่งเข้าชิงออสการ์ ปี 2527 เรื่อง 'น้ำพุ' ผู้กำกับ : ยุทธนา มุกดาสนิท เนื้อหาเกี่ยวกับ : ลูกชายวัยรุ่นของนักเขียนชื่อดังหันไปใช้ยาเสพติดและติดเฮโรอินจนเสียชีวิต นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : ละครชีวิตจากเรื่องจริงที่นำเนื้อหามาจากหนังสือได้รับรางวัลของสุวรรณี สุคนธา ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเรื่องนี้ไว้หลังจากที่ลูกชายของเธอเสียชีวิตเมื่ออายุ 18 จากการเสพย์เฮโรอีนมากเกินขนาด เรื่องนี้นักร้อง อำพล ลำพูน เล่นเป็นลูกชาย ขณะที่นักแสดงละครเวทีอาวุโส ภัทราวดี มีชูธน แสดงเป็นแม่ ปี 2532 เรื่อง 'คนเลี้ยงช้าง' ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เนื้อหาเกี่ยวกับ : บุญส่ง (สรพงษ์ ชาตรี) ควาญช้างและแตงอ่อนช้างของเขาต่อสู้เพื่อหางานทำหลังจากที่บริษัทค้าไม้หันไปใช้เครื่องยนต์และผืนป่าก็ร่อยหรอ เมื่อพวกเขาไม่มีทางไป จึงกันไปทำงานกับบริษัทค้าไม้เถื่อนและตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับมาเฟียค้าไม้เถื่อน นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เป็นภาพสะท้อนช่วงหนึ่งในยุคที่สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างช้างยังคงถูกใช้งานในป่าและไม่ได้มาแสดงเรียกร้องความสนใจนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน 'คนเลี้ยงช้าง' ก็เป็นมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม เรื่องนี้โดดเด่นในแง่การใช้ภาพแบบสารคดีในการสะท้อนชีวิตช้างไทย ปี 2533 เรื่อง 'น้องเมีย' ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เนื้อหาเกี่ยวกับ : ผู้หญิงคนหนึ่งที่เริ่มเบื่อหน่ายชีวิตบนเรือขนทราย ที่ต้องขึ้นๆ ล่องๆ แม่น้ำเจ้าพระยา วันหนึ่งเธอก็หนีออกจากเรือแล้วหนีหายไปในเมือง สามีของเธอ (สรพงษ์ ชาตรี) ก็ออกตามหาตามตรอกซอกซอยในเขตย่านโลกีย์ของกรุงเทพฯ ขณะที่น้องเมียของเขาอยู่บนเรือคอยดูแลทั้งเรื่องครอบครัวและธุรกิจ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : อีกหนึ่งผลงานของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมที่เป็นภาพยนตร์แนว 'ปัญหาสังคม' ชวนมองการแบ่งแยกระหว่างคนชนบทกับคนในเมือง ปี 2538 เรื่อง 'กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเช้านี้' ผู้กำกับ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เนื้อหาเกี่ยวกับ : เด็กผู้หญิงกับน้องชายของเธอไม่พอใจที่พ่อแม่หย่ากัน พวกเขาไม่อยากอาศัยอยู่กับผู้เป็นแม่ 'จินตหรา สุขพัฒน์' ในอพาร์ทเมนต์ซอมซ่อ พวกเขาจึงพากันหอบหิ้วเอาน้องชายแบเบาะรวมเป็นสามคนออกเดินทางไปทั่วประเทศไทยเพื่อจะได้ไปอยู่กับพ่อ (สันติสุข พรมศิริ) ขณะที่พ่อแม่ของเด็กๆ เหล่านี้ก็ลืมเรื่องความขัดแย้งกันช่วงคราวเพื่อออกตามหาลูกๆ ของพวกเขา ขณะที่เด็กๆ ตกไปอยู่ในมือของเด็กไร้บ้านที่ค้าขายยาเสพติดและถูกไล่ล่าโดยกลุ่มแก็งค์อิทธิพลที่หาเหยื่อที่เป็นเด็ก นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : ภาพยนตร์แนว 'ปัญหาสังคม' ที่แน่นปึกอีกเรื่อง เรื่องนี้สะท้อนปัญหาครอบครัวแตกแยก เด็กไร้บ้าน ปัญหายาเสพติด และการค้าประเวณีเด็ก ปี 2540 เรื่อง 'เสียดาย 2' ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เนื้อหาเกี่ยวกับ : เด็กสาวอายุ 13 ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อยู่ในครอบครัวที่มีอันจะกิน มาวันหนึ่งเธอติดเชื้อเอชไอวีจากการถ่ายเลือด นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : ใจกลางของเรื่องราวเอดส์ดราม่าเรื่องนี้ ตอกย้ำลงไปที่ครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูงที่มีพ่อเป็นนักดนตรีคลาสสิคและแม่เป็นครูสอนบัลเลต์ฝรั่ง ซึ่งเป็นการท้าทายต่อความเชื่อที่ว่าเอดส์จะเกิดกับครอบครัวคนจนและถ่ายทอดผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือทางเข็มฉีดยาเสพติดเท่านั้น เช่นเดียวกับที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมมักจะทำในภาพยนตร์ยุคคริสตศตวรรษที่ 1970 จนถึง 1990 เขาได้ชี้นิ้วประณามไปที่ความไร้ประสิทธิภาพและความฉ้อฉลของผู้มีอำนาจ ในกรณีของเรื่องนี้คือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่ง่วงหลับแล้วกรนเสียงดังในขณะที่นักวิจัยกำลังรายงานเกี่ยวกับโรค ปี 2541 เรื่อง 'ท้าฟ้าลิขิต' ผู้กำกับ : อ็อกไซด์ แปง เนื้อหาเกี่ยวกับ : หลังจากที่คนรักของชายหนุ่มประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บสาหัส ก็มีพระรูปหนึ่งทำให้เขาเชื่อว่าชะตากรรมของคนรักเขามาจากกรรมไม่ดีเมื่อชาติปางก่อน ชายหนุ่มจึงออกเดินทางเพื่อยับยั้งการเสียชีวิตของคนอื่น 5 คน เพราะหวังว่าจะทำให้กรรมเลวถูกลบล้างไปได้ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : ความเชื่อเรื่องกงกำกงเกวียนของศาสนาพุทธถูกนำมาร้อยเรียงในภาพยนตร์ระทึกขวัญ (ทริลเลอร์) ผลงานของหนึ่งในสองฝาแฝดชาวฮ่องกงผู้ที่ร่วมกันสร้างภาพยนตร์เขย่าขวัญยอดฮิตอย่าง \"คนเห็นผี\" ปี 2543 เรื่อง 'เรื่องตลก 69' ผู้กำกับ : เป็นเอก รัตนเรือง เนื้อหาเกี่ยวกับ : หญิงสาวผู้หนึ่ง (ลลิตา ปัญโญภาส นักแสดงละครหลังข่าว) ถูกเลย์ออฟจากงานบริษัทเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ เธอพบลังมาม่าที่เต็มไปด้วยธนบัตร 500 บาทถูกวางไว้ผิดที่หน้าประตูห้องเธอ มีนักเลงที่จะมาเก็บเงินจำนวนนี้ถูกสังหารในสถานการณ์ที่แปลกประหลาด มีศพกองมากขึ้นเรื่อยๆ ในห้องของเธอ และเธอต้องหาทางหลบหนีจากความยุ่งเหยิงนี้ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เมื่อเปิด 'ฝา' เรื่องตลกร้ายเสียดสีของเป็นเอกออกแล้ว คุณก็จะพบว่ามันได้สะท้อนชีวิตคนเมืองในประเทศไทยสมัยนั้น ไม่กี่ปีหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และความสิ้นหวังที่ชนชั้นแรงงานชาวไทยรู้สึก ปี 2544 เรื่อง '14 ตุลา สงครามประชาชน' ผู้กำกับ : บัณฑิต ฤทธิ์ถกล เนื้อหาเกี่ยวกับ : นักกิจกรรมนักศึกษาในยุค พ.ศ. 2516-2524 หนีเข้าป่าเพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มกบฏพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : มันคือประวัติศาสตร์ไทย เรื่องราวอัตชีวประวัติดราม่าเร้าอารมณ์จากชีวิตของเสกสรรค์ ประเสิร์ฐกุล และจิระนันท์ พิตรปรีชา นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้ประทัวงเรียกร้องประชาธิปไตย จนเป็นเหตุให้เกิดการปราบปรามโดยทหารในวันที่ 14 ต.ค. 1973 จนกระทั่งผู้นำเผด็จการทหารเดินทางออกนอกประเทศ แต่เมื่อปี พ.ศ. 2519 กระแสนักศึกษาก็ถูกตีกลับและรัฐบาลทหารก็กลับเข้ามามีอำนาจ เสกสรรค์และจิระนันท์ก็ต้องหนีเข้าป่าเพื่อร่วมกับ พคท. ปี 2545 เรื่อง 'มนต์รักทรานซิสเตอร์' ผู้กำกับ : เป็นเอก รัตนเรือง เนื้อหาเกี่ยวกับ : หนุ่มบ้านนอกผู้มีความฝันอยากเป็นนักร้องหนีทหารและทิ้งเมียเขาไว้ขณะที่ออกมาไล่ล่าความฝันของตัวเองแต่ก็ถูกดึงเข้าสู่หนทางอาชญากรรมเข้าไปเรื่อยๆ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เรื่องนี้ไม่มีบทเรียนทางประวัติศาสตร์หรือนิทานธรรมทางพุทธศาสนา เรื่องราวสนุกสนานปนตลกร้ายของเป็นเอกเป็นอีกเรื่องที่สะท้อนความฝันอันชอกช้ำของชนชั้นแรงงานในประเทศไทยยุคปัจจุบัน แต่ถ้าหากประทรวงวัฒนธรรมอยากจะอ้างถึงวัฒนธรรมนัก เรื่องนี้ก็มี 'วัฒนธรรม' ของจริง คือเพลงลูกทุ่งของสุรพล สมบัติเจริญ ที่ขับกล่อมตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งในอีกแง่หนึ่งเรื่องนี้ก็แต่งขึ้นเพื่ออุทิศให้กับนักร้องซูเปอร์สตาร์ผู้นี้ด้วย ปี 2546 เรื่อง 'เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล' ผู้กำกับ : เป็นเอก รัตนเรือง เนื้อหาเกี่ยวกับ : ชายหนุ่มบรรณารักษ์ชาวญี่ปุ่น (ทาดาโนบุ อาซาโน) ผู้ชอบคิดถึงเรื่องฆ่าตัวตายประสบกับเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้เขาต้องหนีจากกรุงเทพไปอยู่นอกเมืองที่บ้านของหญิงชาวไทย (\"นุ่น\" สินิทธา บุญยศักดิ์) ต่อมาเขาถึงเริ่มครุ่นคำนึงถึงตัวตนของตัวเอง นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : จากการเขียนสคริปต์ของนักเขียนที่เคยได้รางวัลอย่างปราบดา หยุ่น 'เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล' เป็นภาพแทนตัวเองของสังคมไทยร่วมยุคสมัยที่พรมแดนทางวัฒนธรรมถูกทลายลงโดยโลกาภิวัตร สะท้อนจากตัวละครชาวต่างชาติญี่ปุ่น แต่จริงๆ แล้ว 'เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล' เป็นหนึ่งในกรณีหายากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เมื่อภาพยนตร์ไทยที่ถูกส่งเข้าชิงออสการ์เพราะว่ามันเป็นภาพยนตร์ที่ดีจริงๆ และไม่ใช่เพราะว่ามันได้แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอะไรที่เจาะจงดูเป็นไทย เว้นแต่ฉากหนึ่งที่มีตำรวจยืนวันทยหัตถ์เคารพธงชาติอยู่ เป็นตัวเลือกที่น่าแปลกใจมากสำหรับเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องที่มีบทสนทนาทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย มีแม้กระทั่งภาษาอังกฤษ ซึ่งเสี่ยงมากกับการส่งเข้าชิงสาขา \"ภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม\" ปี 2547 เรื่อง 'โหมโรง' ผู้กำกับ : อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เนื้อหาเกี่ยวกับ : เรื่องราวชีวิตของนักดนตรีไทยที่ย้อนอดีตไปราว 130 ถึง 70 ปีก่อน ช่วงที่ยังเป็นนักดนตรีในวัง มีการแข่งประชันอย่างดุเดือดกับคู่ปรับฝีมือฉกาจ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้สืบทอดอุ้มชูศิลปะประเพณีไทยในช่วงเวลาที่ความเป็นสมัยใหม่และการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกกำลังแผ่เข้ามาอย่างรวดเร็ว นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เรื่องนี้ถือเป็นการนำชีวิตของหลวงประดิษฐ์ไพเราะนักดนตรีไทยในวังมาทำให้ดูเป็นนิยายและใส่ความดราม่าเร้าอารมณ์ลงไปมาก และนี่แหละเป็นภาพยนตร์ในแบบที่กระทรวงวัฒนธรรมและเหล่ากรรมการต้องการส่งไปออสการ์ ในเวลาที่ภาพยนตร์ 'โหมโรง' ออกฉายก็ทำให้ปลุกกระแสความสนใจในดนตรีไทยรวมถึงเครื่องดนตรีระนาดเอกกลับมาอีกครั้ง นักดนตรีที่ชื่อ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า ผู้แสดงเป็นมือระนาดเอกจอมขมัง 'ขุนอิน' ก็ได้รับความนิยมและมีผู้คนจดจำเขาในนาม 'ขุนอิน' ด้วย ปี 2548 เรื่อง 'มหา'ลัย เหมืองแร่' ผู้กำกับ : จิระ มะลิกุล เนื้อหาเกี่ยวกับ : ชายหนุ่มคนหนึ่งในกทม. ยุค 60 ปีที่แล้ว สอบไม่ผ่านเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยจึงถูกพ่อส่งไปอยู่ในป่าทางภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้ชีวิตในฐานะคนงานเหมือง นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : จากเรื่องสั้นกึ่งอัตชีวประวัติของนักเขียนอาจินต์ ปัญจพรรค์ เรื่องดราม่าเกี่ยวกับการข้ามพ้นช่วงวัยเป็นเสมือนภาพโปสการ์ดจากยุคเหมืองแร่ที่มีอยู่ทั่วภูเก็ตก่อนที่ยุค 'สวรรค์ของนักท่องเที่ยง' จะเข้ามาแทนที่ ปี 2549 เรื่อง 'อหิงสา จิ๊กโก๋ มีกรรม' ผู้กำกับ : กิตติกร เลียวศิริกุล เนื้อหาเกี่ยวกับ : อหิงสา ชายหนุ่มผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับแสงสียามค่ำคืนของพัทยา ตัวเขาถูก 'เวรกรรม' ตามรังควาญ ซึ่งมีรูปร่างเป็นชายชุดแดงทั้งตัวถือไม้หน้าสามคอยไล่ตีอหิงสา นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : ผลงานตลกแอบเสิร์ดของ 'ลีโอ' กิตติกรเป็นเรื่องแนวคำสอนพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรรมเลวของชายคนหนึ่งได้สร้างความวุ่นวายให้ทั้งกับตัวเขาเองและกับคนรอบข้าง มีประเด็นถกเถียงอยู่อย่างหนึ่งคือการที่เรื่อง 'อหิงสา' เป็นเรื่องที่ถูกส่งเข้าชิงแทน 'คำพิพากษาของมหาสมุทร' ที่ทางคณะกรรมการฝั่งไทยไม่อนุญาตเนื่องจากเรื่องแนวอาชญากรรมของเป็นเอกเรื่องนี้ไม่ถูกจัดเป็นภาพยนตร์ไทยจากการที่มีทั้งนักแสดงชาวญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลีใต้ รวมถึงมีบางฉากที่ใช้ฮ่องกงเป็นแหล่งถ่ายทำ ปี 2550 เรื่อง 'ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนประกาศอิสรภาพ' ผู้กำกับ : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เนื้อหาเกี่ยวกับ : เรื่องราวมหากาพย์อิงประวัติศาสตร์แบบล้นเกิน นำเสนอช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 21 ของ 'สยาม' ที่มีการสู้รบบู๊ดุเดือดของ 'พระองค์ดำ' ในฐานะนักรบผู้หาญกล้าและนักวางแผนผู้ชาญฉลาด ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชย์ปกครองอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่พ.ศ. 2133 - 2148 นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ชาติไทยอีกแล้ว ในที่นี่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมต้องทำการบ้านในการค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด และสร้างภาพยนตร์ไทยที่ใช้ทุนสร้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย งานโปรดักชั่นกินเวลาตลอด 7 ปีที่ผ่านมาทั้งในสตูดิโอของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิมและเมืองโบราณจำลองในจังหวัดกาญจนบุรี ภาคต่อของ 'ตำนานสมเด็จนเรศวร' คือภาค 3 และ 4 มีได้ออกฉายเมื่อต้นปี ขณะที่ภาค 5 ซึ่งจะมีฉากสงครามยุทธหัตถีก็มีกำหนดจะออกฉายในอนาคตอันใกล้ ปี 2551 เรื่อง 'รักแห่งสยาม' ผู้กำกับ : ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล เนื้อหาเกี่ยวกับ : มิตรภาพในวัยเยาว์ผลิบานเป็นรักแรกระหว่างวัยรุ่นชาย 2 คน (มาริโอ เมาเร่อ และวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล) นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกๆ ที่แสดงให้เห็นความรักโรแมนติกระหว่างเด็กผู้ชาย 2 คน \"รักแห่งสยาม\" เป็นหมุดหมายสำคัญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซึ่งมักจะแสดงภาพผู้ชายเกย์เป็นตัวละครตลกและแสดงออกถึงความเป็นหญิงอย่างฉูดฉาด \"รักแห่งสยาม\" ได้รับการชื่นชมอย่างมากและชนะรางวัลมาหลายรางวัล รวมถึงรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากรางวัลสุพรรณหงส์ ปี 2552 เรื่อง 'ความจำสั้น แต่รักฉันยาว' ผู้กำกับ : ยงยุทธ ทองกองทุน เนื้อหาเกี่ยวกับ : เรื่องดราม่าแนวครอบครัวไร้การเสแสร้งอีกเรื่อง เรื่องนี้พูดถึงความรักโรแมนติกระหว่างคุณป้าแม่ม่ายกับสุภาพบุรุษชาวนาสูงอายุผู้ที่กำลังเป็นโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เรื่องนี้ย้อนกลับไปเป็นภาพยนตร์ปัญหาสังคมอีกครั้ง คราวนี้แสดงให้เห็นประเด็นเรื่องผู้สูงอายุ ปี 2553 เรื่อง 'ลุงบุญมีระลึกชาติ' ผู้กำกับ : อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เนื้อหาเกี่ยวกับ : ชาวสวนคนหนึ่งกำลังจะตาย มีเพื่อนพี่น้องคอยอยู่รายล้อมรอบตัวเขารวมถึงผีภรรยาของเขาและลูกชายของเขาที่เคยบาดหมางกันกลับมาในสภาพของ \"ลิงผี\" การระลึกชาติปางก่อนของชาวสวนผู้นี้อาจจะรวมไปถึงเจ้าหญิงยุคโบราณผู้มีเพศสัมพันธ์กับปลาดุกด้วยหรือไม่ก็ได้ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : บทของเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือธรรมะและอาศัยความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด ลุงบุญมีเชื่อว่าการเจ็บป่วยอย่างกระทันหันของเขาเป็นผลมาจากกรรมเก่า เขาเล่าว่าเคยเป็นทหารที่ฆ่าพวกคอมมิวนิสต์มาก่อนในช่วงพ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2525 ภาพยนตร์ชิ้นที่ 6 ของอภิชาติพงศ์ ได้รับรางวัลปาล็มทองคำจากเมืองคานส์ หนึ่งในรางวัลภาพยนตร์ระดับโลกและเป็นครั้งแรกที่ภาพยนตร์ไทยได้รับเกียรตินี้ 'ลุงบุญมี' เป็นเรื่องที่ขาดเสียไม่ได้ พวกผู้มีอำนาจด้านวัฒนธรรมของไทยมีความสัมพันธ์กึ่งรักกึ่งชังกับอภิชาติพงศ์มายาวนาน ซึ่งภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ก็ประสบความสำเร็จในเมืองนอกมากกว่าในไทยเอง ก่อนหน้านี้พวกเขาเคยเซนเซอร์เรื่อง \"แสงศตวรรษ\" ในปี 2549 แต่ก็มอบรางวัลศิลปาธร ซึ่งเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติสูงสุดสำหรับศิลปินร่วมสมัยไทย ปี 2554 เรื่อง 'คนโขน' ผู้กำกับ : ศรัญยู วงศ์กระจ่าง เนื้อหาเกี่ยวกับ : ในช่วงยุคปีพ.ศ. 2508 คณะละครโขนคู่ปรับได้ประชันการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์งที่ดัดแปลงจากต้นฉบับร้อยกรองมหากาพย์รามายณะของอินเดีย เรื่องราวรักสามเส้า เพื่อนหักหลังเพื่อน ภรรยาคบชู้สู่ชาย ศิษย์ทรยศอาจารย์ และทุกคนก็จะต้องชกใช้กรรมที่ตัวเองก่อ นัยสำคัญทางวัฒนธรรม : เรื่องนี้ยกย่องบูชานาฏศิลป์ตามธรรมเนียมไทยที่เรียกว่า 'โขน' ซึ่งเป็นการเล่นละครสวมหัวโขน มีชุดแต่งกายวาววับ แสดงเป็นตัวละครในเทพนิยาย องค์ประกอบทั้งหมดถูกนำเสนอในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีของแถมคือคติเตือนใจตามหลักศาสนาพุทธที่ศรัญยูสอดแทรกไว้"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท