ผลโพลนิด้า ชี้ ปชช. ร้อยละ 92.95 อยากให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลรับจำนำข้าว

นิด้าโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 'โครงการรับจำนำข้าวกับการขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท' จาก 1,249 ตัวอย่างทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เชื่อว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทจริง แต่ยังหนุน รัฐฯ ดำเนินโครงการฯ ต่อ โดยปรับราคาตามกลไกตลาด

 
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “โครงการรับจำนำข้าว กับ การขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 มิถุนายน 2556 จากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล และการขาดทุนเป็นมูลค่า 2.6 แสนล้านบาท โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.)  ไม่เกิน ร้อยละ 1.4
 
จากการสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.95 เห็นว่า รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าว เพราะต้องการทราบถึงการดำเนินโครงการ ต้องการให้รัฐบาลแสดงถึงความโปรงใส่ในการทำงาน จะได้เป็นที่กระจ่างชัดต่อประชาชนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร  รองลงมา ร้อยละ 3.84 ระบุว่า ไม่ควรเปิดเผย เพราะ คิดว่ารัฐบาลน่าจะโปร่งใสในการทำงานอยู่แล้ว รัฐบาลให้ราคาจำนำข้าวเป็นที่น่าพอใจ และไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งกัน
 
ทั้งนี้จากกระแสข่าวที่ระบุว่า รัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาท นั้น พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.71 เชื่อว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาทจริง เพราะรับจำนำข้าวในราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคากลางในตลาด แต่ตอนขายกลับขายในราคาที่ต่ำกว่าราคารับจำนำ และมีข้าวล้นในสต๊อกเป็นจำนวนมาก และยังมีกระแสข่าวออกมาว่าขาดทุน รองลงมา ร้อยละ 26.50 ไม่เชื่อว่าขาดทุน เพราะเป็นตัวเลขที่ไม่น่าจะขาดทุนมากขนาดนั้น และยังไม่มีข้อมูลหรือการชี้แจงจากรัฐบาลที่ชัดเจน และข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกก็ยังสามารถขายออกได้เรื่อยๆ  ขณะที่ ร้อยละ 20.82 เชื่อว่าขาดทุนแต่อาจจะไม่ถึง 2.6 แสนล้านบาท และร้อยละ 14.97 ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของรัฐบาล หากรัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาท พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.51 เห็นว่า รัฐบาลควรดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อ แต่ควรปรับราคาการรับจำนำให้เป็นไปตามกลไกตลาด รองลงมา ร้อยละ 21.38 ควรยุติโครงการรับจำนำข้าว เพราะเกิดช่องโหว่ง่ายต่อการทุจริต เกิดผลเสียในด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ เงินส่วนหนึ่งที่มาจ่ายส่วนต่างก็มาจากเงินภาษีของประชาชน ร้อยละ 20.82 เห็นว่า ควรเปลี่ยนระบบเป็นการประกันราคาข้าว เพราะง่ายต่อการตรวจสอบ และน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการรับจำนำข้าว  ร้อยละ 9.61 ให้ดำเนินโครงการเหมือนเดิม และ ร้อยละ 1.44 อื่นๆ เช่น ให้เน้นไปที่การตรวจสอบการทุจริต การบริหารจัดการโครงการ เพื่อลดช่องว่างที่เอื้อต่อการทุจริต เปิดโอกาสให้ชาวนาซื้อขายกันเอง และรัฐบาลควรพิจารณาตัวเอง
 
สำหรับผู้ที่ควรรับผิดชอบ หากโครงการรับจำนำข้าวมีการขาดทุนจริง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.95 ควรเป็นคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ รองลงมา ร้อยละ 27.06 ควรรับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด ทั้ง นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร้อยละ 15.45 เป็น น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 8.57 เป็น นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 1.68 เป็น นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
 
ท้ายสุด เมื่อถามถึง ผู้ที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.60 ระบุว่าเป็นรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 36.20 เป็นโรงสี ร้อยละ 34.03 เป็นชาวนา ร้อยละ 29.86 เป็นนักการเมือง ร้อยละ 14.04 เป็นผู้ส่งออกข้าว
 
รองศาสตราจารย์ ดร. อดิศร์  อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ประจำคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า  แสดงให้เห็นชัดเจนว่าสังคมไทยมีความคาดหวังสูงด้านการรับรู้ข่าวสารข้อมูลจากภาครัฐ การที่หน่วยงานภาครัฐปิดบังข้อมูลสาธารณะอาจเป็นสิ่งที่กระทำได้ในอดีต แต่ในปัจจุบันประชาชนต้องการมีส่วนรู้เห็นกับการดำเนินงานของรัฐมากขึ้นและอยากตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลดังจะเห็นได้ว่าประชาชน ร้อยละ 92.95 เห็นว่ารัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูล การที่รัฐบาลไม่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวยังส่อเจตนาของความเป็นไปได้ที่โครงการนี้อาจมีการทุจริตในรูปแบบต่างๆ และรัฐบาลไม่สามารถหาทางออกได้
 
“ในส่วนของภาพรวมของการดำเนินโครงการจำนำข้าว ผลการสำรวจเป็นไปในทิศทางที่สะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในผลกระทบของโครงการรับจำนำข้าวมากขึ้นและสามารถแยกแยะออกได้ว่าการช่วยเหลือชาวนานั้นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องมีวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ไม่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ดังจะเป็นได้ว่าประชาชนยังยินดีให้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อ แต่ต้องปรับราคารับจำนำลงในขณะที่ประชาชนอีกบางส่วนเห็นว่าควรยุติโครงการไปเลย รวมแล้วมีประชาชนมากถึงร้อยละ 80 ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการปรับปรุงโครงการจำนำข้าวนี้” รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร์ ระบุ
 
ดาวน์โหลดรายงานผลการสำรวจได้ที่  http://nidapoll.nida.ac.th
 

 

1. ท่านคิดว่ารัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวหรือไม่

ความคิดเห็นต่อการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล

ร้อยละ

ควร        เพราะ ต้องการทราบถึงการดำเนินโครงการ ต้องการให้รัฐบาลแสดงถึงความโปรงใส่ในการทำงาน

               จะได้เป็นที่กระจ่างชัดต่อประชาชนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

92.95

ไม่ควร   เพราะ คิดว่ารัฐบาลน่าจะโปร่งใสในการทำงานอยู่แล้ว รัฐบาลให้ราคาจำนำข้าวเป็นที่น่าพอใจ และ

              ไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้งกัน

3.84

ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ

3.20

รวม

100.00

 

2. ท่านเชื่อหรือไม่ว่ารัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาท

   ความเชื่อของประชาชนต่อการขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว 2.6 แสนล้านบาทของรัฐบาล

ร้อยละ

เชื่อว่าขาดทุน 2.6 แสนล้านบาท เพราะ รับจำนำข้าวในราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคากลางในตลาด แต่ตอน

                                                   ขายกลับขายในราคาที่ต่ำกว่าราคารับจำนำ และมีข้าวล้นในสต๊อกเป็นจำนวนมาก  

                                                   และยังมีกระแสข่าวออกมาว่าขาดทุน

37.71

ไม่เชื่อว่าขาดทุน                        เพราะ เป็นตัวเลขที่ไม่น่าจะขาดทุนมากขนาดนั้น และยังไม่มีข้อมูลหรือการชี้แจง

                                                  จากรัฐบาลที่ชัดเจน และข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกก็ยังสามารถขายออกได้เรื่อยๆ

26.50

เชื่อว่าขาดทุน แต่ อาจจะไม่ถึง 2.6 แสนล้านบาท

20.82

ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ

14.97

รวม

100.00

 

3. หากรัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว ถึง 2.6 แสนล้านบาท ตามที่เป็นข่าว ท่านคิดว่ารัฐบาลควรตัดสินใจอย่างไร

       การตัดสินใจของรัฐบาลหากรัฐบาลขาดทุนในโครงการรับจำนำข้าว ถึง 2.6 แสนล้านบาท

ร้อยละ

ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวต่อแต่ควรปรับราคาการรับจำนำให้เป็นไปตามกลไกตลาด

38.51

ยุติโครงการรับจำนำข้าว เพราะ เกิดช่องโหว่ง่ายต่อการทุจริต เกิดผลเสียในด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ

      เงินส่วนหนึ่งที่มาจ่ายส่วนต่างก็มาจากเงินภาษีของประชาชน

21.38

เปลี่ยนระบบเป็นการประกันราคาข้าว เพราะ ง่ายต่อการตรวจสอบ และน่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่าการรับจำนำข้าว

20.82

ดำเนินโครงการเหมือนเดิม

9.61

อื่นๆ เช่น ให้เน้นไปที่การตรวจสอบการทุจริต การบริหารจัดการโครงการ เพื่อลดช่องว่างที่เอื้อต่อการทุจริต เปิดโอกาส

         ให้ชาวนาซื้อขายกันเอง รัฐบาลควรพิจารณาตัวเอง

1.44

ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ

8.25

รวม

100.00

 

4. ถ้าโครงการรับจำนำข้าวขาดทุนจริง ท่านคิดว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ

                   ผู้ที่ควรรับผิดชอบ หากโครงการรับจำนำข้าวมีการขาดทุนจริง

ร้อยละ

คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ

39.95

รับผิดชอบร่วมกันทั้งหมด ทั้ง นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

27.06

น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

15.45

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

8.57

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

1.68

ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ

7.29

รวม

100.00

 

5. ท่านคิดว่าความจริงแล้วโครงการรับจำนำข้าว ใครได้ประโยชน์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

       ผู้ที่ได้ประโยชน์จากโครงการรับจำนำข้าว

ร้อยละ

รัฐบาล

36.60

โรงสี

36.20

ชาวนา

34.03

นักการเมือง

29.86

ผู้ส่งออกข้าว

14.04

ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ

4.65

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

 

1. ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ

จำนวน

ร้อยละ

ชาย

679

54.36

หญิง

570

45.64

รวม

 1,249

100.00

 

 

2. ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ

จำนวน

ร้อยละ

ต่ำกว่า 25 ปี

86

6.89

25 – 39 ปี

453

36.27

40 – 59 ปี

593

47.48

60 ปีขึ้นไป

117

9.37

รวม

 1,249

100.00

 

 

3. ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา

จำนวน

ร้อยละ

พุทธ

1,176

94.16

อิสลาม

60

4.80

คริสต์ และอื่นๆ

13

1.04

รวม

1,249

100.00

 

 

4. ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส

จำนวน

ร้อยละ

โสด

330

26.42

สมรส

899

71.98

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

20

1.60

รวม

 1,249

100.00

 

 

5. ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา

จำนวน

ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า

316

25.30

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

392

31.39

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า

122

9.77

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

337

26.98

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

82

6.57

รวม

1,249

100.00

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท