ทั่วโลกกำลังเรียกร้องความร่วมมือด้านน้ำ

งานสัปดาห์น้ำโลก (World Water Week) จัดขึ้นทุกปีที่สต๊อกโฮล์มเมืองหลวงของสวีเดน ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-6 กย. 56 ภายใต้แนวคิดหลักคือ "ความร่วมมือด้านน้ำ" ตามแนวคิดหลักขององการณ์สหประชาชาติ (UN)
 

นาย Jan Eliasson รองเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (UN) กล่าวในพิธีเปิดงานวันที่ 2 ก.ย. 56 (คลิกดูภาพเพิ่มเติม)

 
 
งานสัปดาห์น้ำโลก (World Water Week) จัดขึ้นทุกปีที่สต๊อกโฮล์มเมืองหลวงของสวีเดน ปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-6 กย. 56 ภายใต้แนวคิดหลักคือ "ความร่วมมือด้านน้ำ" ตามแนวคิดหลักขององการณ์สหประชาชาติ (UN) ที่ได้กำหนดหัวข้อหลักในแต่ละปีไว้ต่างกันไปตามสถานการณ์โลก อย่างปี 2555 ก็เป็นเรื่อง "น้ำและความมั่นคงทางอาหาร" ปี 2557 จะเป็น "น้ำกับการพัฒนา" และปี 2558  "น้ำและพลังงาน"  และยูเอ็นยังได้กำหนดให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งความร่วมมือโลกด้านน้ำ”
 
พิธีเปิดงานจัดอย่างยิ่งใหญ่มีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำและผู้นำจากทั่วโลกกว่ามาร่วมกว่า 2,500 คนทั้งนักวิชาการ องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ภาครัฐ นักการเมือง และนักธุรกิจ รวมถึงรองเลขาธิการยูเอ็นที่มาร่วมกล่าวเปิดงาน
 
ในเวทีอภิปรายของผู้นำระสูงในช่วงพิธีเปิดงานนายปีเตอร์ บาร์กเกอร์ ได้กล่าวว่า เราจำเป็นที่จะต้องสร้างภาษาใหม่ขึ้นมาสื่อสารกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักธุรกิจและสร้างความไว้ใจกัน
 
การสัมนาเป็นไปอย่างเข้มข้นตลอดทั้ง 6 วันตั้งแต่เช้าถึงหนึ่งทุ่มแม้กระทั่งช่วงเที่ยงก็มีการแบ่งห้องย่อยจัดการเสวนา 
 
ภายใต้แนวคิดหลักเรื่องความร่วมมือ มีคำสำคัญถูกพูดถึงตลอดทั้งงานอยู่หลายคำ แต่สองคำหลักคือ ความซับซ้อน (complexity) และความไม่แน่นอน (uncertainty) ของเรื่องน้ำ ซึ่งหมายถึงการจัดการน้ำเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆอย่างซับซ้อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และสิ่งแวดล้อม และเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน หลายระดับ ภายใต้ภาวะการณ์ปัจจุบันของโลกที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านในด้านต่างๆทั้งด้านภูมิอากาศ สังคม การเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ 
 
สองปัจจัยนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่โลกจำเป็นต้องเรียกร้องความร่วมมือในการจัดการน้ำ เพราะไม่มีภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งจะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำที่ซับซ้อนนี้ได้โดยลำพัง  และการสื่อสารก็เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความร่วมมือ 
 
แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะต่างออกไปอย่างมาก ในเวลานี้ภาครัฐกำลังเร่งรีบผลักดันโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน โดยไม่สนใจความร่วมมือของภาคประชาสังคม   การสื่อสารและการสร้างความร่วมมือถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแค่ฉาก   ประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นและขอมีส่วนร่วมกลับถูกด่าว่าเป็น “พวกขยะ”
 
ในวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา ส.ส.ท่านหนึ่งได้ลงไปชี้แจงข้อมูลกับชาวบ้านเรื่องเขื่อนแม่แจ่มว่า "ไม่มีโครงการอื่นใด นอกจากโครงการอ่างแม่มุโครงการเดียว" "พื้นที่ทั้งหมดเนี่ยจะกักเก็บน้ำได้ประมาณ 17 ล้านลูกบาตเมตร ไม่ใช่อ่างใหญ่" และยังได้ย้ำกับชาวบ้านว่าอย่าได้ตกอกตกใจกันเกินไป ชาวบ้านที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะถูกเอ็นจีโอหลอกเอาเงิน 
 
แต่ข้อมูลที่สส.ท่านนี้นำไปบอกชาวบ้านกลับตรงกันข้ามกับข้อมูลในนิทรรศการเรื่องโครงการ 3.5 แสนล้านที่รัฐบาลกำลังจัดขึ้นที่ห้างสยามดิสคัพเวอรี่ช่วง 4-12 ก.ย. นี้ ที่ระบุชัดเจนถึงเขื่อนแม่แจ่มโดยมีความจุประมาณ 175 ล้าน ลบม. ตั้งอยู่บน ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
 
ในขณะที่ไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านด้านต่างๆ โดยเฉพาะทางสังคมและการเมืองที่ประชาชนมีบทบาทมากขึ้น การสื่อสารในสังคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว  แต่การเมืองที่ขาดคุณภาพของไทยยังคงทำให้นักการเมืองก้าวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง และไม่พ้นการมองสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นแค่เรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองและพวกพ้อง   
 
ความร่วมมือในประเทศไทยคงเกิดขึ้นได้ยากหากก้าวไม่ผ่านและไม่ทัน
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท