เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปเสนอ 3 ทางออกประเทศฝ่าวิกฤติการเมืองสู่ปฏิรูป

“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” ยื่นข้อเสนอทางออกประเทศไทยต่อ “วุฒิสภา-กตต.” พร้อมเปิดโมเดล 3 ทางเลือกผ่านเวทีความคิดครั้งที่5 “เดินหน้าผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย” ชี้สมการที่เหมาะสมที่สุดเป็นทางเลือกที่ 2 เลือกตั้ง 2 ครั้ง ทำประชามติสร้างกลไกปฏิรูปอย่างมีข้อผูกพันกับรัฐบาลใหม่ “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน”ยกมือสนับสนุนการเมืองบนวิถีประชาธิปไตยสร้างสังคมปลอดคอร์รัปชันได้เริ่มจากการเลือกตั้ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและทางสังคมซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มระดับความวิกฤติและความรุนแรงมากขึ้น มีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน มีความพยายามจากหลายองค์กร หลายเครือข่ายที่จะแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมาเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป (RNN-Reform Now Network) จัดเวทีความคิดเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 5 "เดินหน้าผ่าทางตันวิกฤตประเทศไทย" นำเสนอ ข้อวิเคราะห์และข้อเสนอ“ทางเลือกและทางรอดประเทศไทย" ต่อสื่อมวลชน วิทยากรประกอบด้วย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์ และนายสันติ สาทิพย์พงษ์ ดำเนินรายการ โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 
 
วันเดียวกัน ตัวแทนเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์,นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์,นางปรีดา คงแป้นได้ยื่นเอกสารชื่อ “ข้อวิเคราะห์และข้อเสนอทางเลือก-ทางออกจากวิกฤติความขัดแย้งโดยวิถีประชาธิปไตย” เป็นจดหมายเปิดผนึกต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ว่าที่ประธานวุฒิสภาและนายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการหาทางออกให้ประเทศด้วย
 
นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ตัวแทนเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปกล่าวว่า เนื้อหาสาระข้อเสนอดังกล่าวประกอบด้วย 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 : มีการเลือกตั้งตามกำหนดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้หารือกับทางรัฐบาลไว้ก่อนหน้านี้ คือ วันที่ 20 กรกฎาคม 2557 แนวทางนี้จะถูกคัดค้านอย่างหนักตามที่ทาง กปปส.ประกาศจุดยืนไว้ ในขณะที่ได้รับการสนับสนุนจาก นปช. ดังนั้น จึงมีโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบ นำไปสู่การปะทะระหว่างมวลชนทั้งสองฝ่าย
 
ข้อดีคือจะมีการจัดการเลือกตั้งภายในระยะเวลาอันสั้น แต่มีความไม่แน่นอนสูงว่า หลังเลือกตั้งจะมีความสงบหรือไม่ จะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ หรือจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และการปฏิรูปจะสามารถเดินหน้าต่อและมีผลสำเร็จได้หรือไม่
 
ทางเลือกที่ 2 ขยับเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ในช่วงเวลาประมาณ 4-5 เดือนนับจากนี้ (ช่วงสิงหาคม-กันยายน) เพื่อให้มีเวลาเพียงพอในการจัดกระบวนการ “ออกเสียงประชามติ” ในบางเรื่องที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ระหว่างคู่ขัดแย้งทางการเมือง (ตามกฎหมายการออกเสียงประชามติ ต้องมีการประกาศล่วงหน้าก่อนวันออกเสียงประชามติ อย่างน้อย 90 วัน) ให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้ร่วมออกเสียงตัดสินใจโดยการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงของตนเอง จากข้อถกเถียงเรื่องการปฏิรูปที่เกิดขึ้นผ่านมา หัวข้อหรือประเด็นที่อาจต้องให้มีการออกเสียงประชามติ เช่น เรื่องรูปแบบองค์กรหรือกลไกเพื่อดำเนินการปฏิรูป เป็นต้น
 
นอกจากนี้ ในระหว่างก่อนถึงวันเลือกตั้ง จะมีระยะเวลาพอสมควรต่อการดำเนินการในหลายเรื่องเพื่อเกื้อหนุน เอื้ออำนวยให้เกิดการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรมและยุติธรรม และการปฏิรูปในระยะต่อไป 
 
สำหรับทางเลือกนี้ มีข้อจำกัดในการปฏิรูปการจัดการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขกฎหมายได้ อีกทั้ง ยังเป็นการเลือกตั้งภายใต้ระบบรัฐสภาแบบเดิม ดังนั้น รัฐบาลหลังการเลือกตั้งในระยะอันใกล้ตามทางเลือกนี้ ควรเป็นรัฐบาลที่มีภารกิจหลักเพื่อการปฏิรูป ไม่ได้ถือครองอำนาจยาวแบบ 4 ปี (อาจมีระยะเวลา 1- 2 ปี หรือตามที่จะเจรจาตกลงกัน) และมีการทำสัตยาบันร่วมกันของพรรคการเมืองหรือทำเป็นสัญญาประชาคมในรูปแบบใดแบบหนึ่ง รูปแบบรัฐบาลแบบไม่ได้ครองอำนาจ
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท