'บทสนทนากับชอมสกี' ของ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

<--break- />

เมื่อวันที่  1 ต.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ 'นิวแมนดาลา' ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เผยแพร่ 'บทสนทนากับชอมสกี'  ของ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวที่เขาได้มีโอกาสพบปะกับ นอม ชอมสกี นักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) โดยมีการพูดคุยทั้งเรื่องการเมืองไทย, ระบอบกษัตริย์, การปกครองแบบเผด็จการ และเรื่องของทักษิณ เนื้อหามีดังนี้

ถอดความจาก 'A conversation with Chomsky'

นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ชีวิตของผมก็เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ

เผด็จการทหารไทยเรียกผมไปรายงานตัว 2 ครั้งในเรื่องที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การแทรกแซงการเมืองของพวกเขา เมื่อผมปฏิเสธไม่ไปรายงานตัวเพียงเพราะว่าผมไม่ยอมรับความชอบธรรมของผู้ก่อรัฐประหาร พวกเขาก็ออกหมายจับและเพิกถอนหนังสือเดินทางของผม เป็นการบีบให้ผมต้องขอสถานะผู้ลี้ภัยในญี่ปุ่น

ในช่วงที่เกิดความวุ่นวายดังกล่าวนี้ ศาตราจารย์นอม ชอมสกี หนึ่งในนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของโลก ผู้ที่เป็นนักวิจารณ์การเมืองและนักกิจกรรมเพื่อความเป็นธรรมในสังคมได้คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือในกระบวนการยื่นขอสถานะผู้ลี้ภัยของผมมาโดยตลอด

เขาช่วยขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณากรณีของผมอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องที่รัฐบาลเผด็จการทหารของไทยกระทำการคุกคามสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

ผมไม่เคยพบกับชอมสกีมาก่อนเลยในตอนที่ไทยยังไม่เกิดการรัฐประหาร ดังนั้นการที่เขารู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อการต่อสู้ดิ้นรนของผมนั้นเป็นเรื่องที่ผมไม่คาดคิดมาก่อนและทำให้ผมรู้สึกประทับใจมาก ดังนั้นเมื่อผมได้รับเชิญให้ไปพูดที่โครงการไทยศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันที่ 25 ก.ย. ผมจึงทิ้งข้อความไว้ให้ชอมสกีว่าเขาจะว่างเจอผมหรือไม่ ซึ่งเขาตอบกลับมาว่าเขาสามารถเจอผมได้

ผมพบปะพูดคุยกับชอมสกีในวันเดียวกันในสำนักงานของเขาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) โดยเป็นการพบปะพูดคุยอย่างเป็นส่วนตัว ทันทีที่ผมได้รับเชิญให้นั่งลง ชอมสกีก็ยิงคำถามหนักๆ ใส่หลายคำถาม เขาสนใจอยู่ 3 ประเด็นคือ ประเด็นเรื่องกองทัพ, สถาบันกษัตริย์ และทักษิณ ชินวัตร

อย่างแรกเขาถามว่าผมจะสามารถอธิบายเรื่องประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลทหารในปัจจุบันนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้หรือไม่ เขาสงสัยว่ารัฐบาลเผด็จการทหารรับมืออย่างไรกับการต้องเผชิญความกดดันทั้งจากภายในประเทศและจากนานาชาติ ในขณะเดียวกันเขาก็ขอให้ผมเล่าถึงข้อมูลข่าวสารสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในปัจจุบัน

ชอมสกีแสดงความคิดเห็นของตัวเองต่อเรื่องการปกครองระบอบเผด็จการในโลกยุคปัจจุบันและเรื่องที่ว่าเผด็จการมีการรับมืออย่างไรกับกระแสการทำให้เป็นประชาธิปไตยในโลกสมัยนี้ เขาบอกว่าในศตวรรษนี้รัฐบาลใดก็ตามที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจะคงอยู่ได้ไม่นาน แต่ในกรณีของไทยแล้วชอมสกียอมรับว่ามีปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลทำให้รัฐบาลทหารอยู่ได้นานคือสถาบันกษัตริย์

เขาถามผมว่าสถาบันกษัตริย์มีบทบาทในทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน ผมตอบไปโดยอ้างอิงถึงการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ของสถาบันกษัตริย์

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

การพูดคุยหารือในเรื่องนี้นำไปสู่การเน้นพูดคุยในเรื่องที่เกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ชอมสกีบอกผมว่าเขาจำได้ว่าเคยลงนามในการรณรงค์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในไทยเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่เขาก็บอกว่าความพยายามของเขาไม่เป็นผล เขาเชื่อว่าถ้าหากไม่มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยทันที ฝ่ายสถาบันกษัตริย์จะพบความยุ่งยากมากขึ้นในการอยู่ร่วมกับประชาธิปไตย

ชอมสกียังรู้สึกแปลกใจมากที่รู้ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ยังคงเป็นที่รักและเคารพในหมู่คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งในไทย ก่อนหน้านี้เขาเคยตั้งข้อสงสัยกับนโยบายประชานิยมของทักษิณซึ่งถูกมองว่าเป็นการ "สะกดจิต" ให้ชาวไทยลงคะแนนเสียงให้กับกลุ่มที่มีความใกล้ชิดทางการเมืองของเขาต่อไป

แต่ชอมสกีก็ยังคงสงสัยเรื่องการแสดงออกในเชิงการแข่งขันทางการเมืองของทักษิณซึ่งดูมีความแตกต่างจาก "เครือข่ายราชสำนัก" (Network Monarchy) อย่างมาก เขาตั้งคำถามอย่างตรงประเด็นว่าแนวคิดทางการเมืองของทักษิณจะสามารถเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์การเมืองไทยไปสู่การเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นได้อย่างไร

ชอมสกีถามอีกว่าทำไมศัตรูของทักษิณไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรูในกลุ่มอำนาจเก่าถึงไม่สามารถริเริ่มนโยบายที่ดีกว่าและมีการตลาดมากกว่าเพื่อชนะใจชาวบ้านได้ ผมตอบได้เพียงว่าพวกเขาไม่สนใจการส่งเสริมพลังประชาชน การส่งเสริมให้ประชาชนมีพลังมากขึ้นอาจจะเกิดการท้าทายอำนาจที่พวกเขาดำรงอยู่ในทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจ

ชอมสกียังถามคำถามอื่นๆ บางคำถามเกี่ยวกับข้อเสียของนโยบายประชานิยมของทักษิณแต่ในขณะเดียวกันเขาก็เข้าใจว่าเหตุใดกลวิธีแบบประชานิยมถึงไปได้ดีในประเทศที่คนชายขอบยังคงพยายามต่อสู้เพื่อเข้าถึงทรัพยากรทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ

เรื่องนี้นำพวกเรามาสู่การหารือกันในประเด็นสุดท้ายคือเรื่องเศรษฐกิจไทย ชอมสกีอยากรู้มากว่าการรัฐประหารส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างไร ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนและสังคมและในด้านการส่งผลต่อนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย เป็นอีกครั้งที่ผมทำได้แค่แสดงทัศนะแบบมองโลกในแง่ร้าย ซึ่งชอมสกีก็แสดงความเสียใจต่อประเทศไทยที่ตกหลุมพรางทางการเมืองของตัวเอง

นอกจากความอยากรู้ในเรื่องวิกฤตการเมืองไทยแล้ว ชอมสกียังถามผมเกี่ยวกับอนาคตซึ่งในตอนนี้ผมกลายเป็นผู้ลี้ภัยที่หนีจากประเทศตัวเองไปแล้ว ผมจะทำอย่างไรต่อไป

ผมทำให้เขามั่นใจว่าสถานะของผมในฐานะผู้ลี้ภัยในประเทศญี่ปุ่นมีการรับประกันว่าผมแค่ต้องรอดูการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนผ่าน เขาบอกอีกว่าถ้าผมต้องการความช่วยเหลืออะไรเขาก็จะเต็มใจช่วยให้ได้มากที่สุดเท่าที่เขาจะสามารถทำได้

แล้วผมก็ถามคำถามสุดท้ายกับชอมสกีว่าเขาอยากจะเห็นอะไรเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต เขาตอบอย่างรวดเร็วว่าเขาอยากให้ประเทศไทยเป็น "รัฐประชาธิปไตยที่ไม่มีการแทรกแซงใดๆ จากสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง"

 

ที่มา

A conversation with Chomsky,  PAVIN CHACHAVALPONGPUN, New Mandala, 01-10-2015

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท