Skip to main content
sharethis

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ พาไปชมกำเนิดวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์ในประเทศไทยซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มแรกมีการนำภาพยนตร์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากตะวันตก ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เหลือแต่ภาพยนตร์จากญี่ปุ่น ก่อนที่หลังสงครามโลกจึงจะกลับมาเป็นยุคของ “หนังฮอลลีวูด” อีกครั้ง ส่วนภาพยนตร์ไทยมีการนำมาฉายบ้าง แต่เมื่อนำมาฉายก็มักถูกโห่จากผู้ชมในโรงเนื่องจากฉากไม่สมจริง เช่น ฉากเมืองจีนแต่ถ่ายที่สำเพ็ง หรือฉากวังแต่ถ่ายที่วัดโพธิ์ ฯลฯ และจากปัญหาการไม่รับหนังไทยมาฉายในโรง จึงนำมาสู่การตั้ง “สมาคมส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ไทย” ช่วง พ.ศ. 2499

ชานันท์ยังกล่าวถึงยุคขยายตัวของโรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลน ทั้งยุคศาลาเฉลิมกรุง และศาลาเฉลิมไทย โดยการสร้างโรงภาพยนตร์ที่เริ่มจากในกรุงเทพฯ ได้ขยายตัวไปในจังหวัดหัวเมือง พร้อมๆ ไปกับการฉาย “หนังขายยา” ในพื้นที่ชนบท ก่อนที่ต่อมาโรงภาพยนตร์สแตนด์อะโลนจะทยอยเลิกกิจการ แทนที่ด้วยโรงภาพยนตร์เครือใหญ่ที่เปิดในห้างสรรพสินค้า รวมถึงการรับชมภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์อย่าง Netflix ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรการชมภาพยนตร์ได้กลายเป็นมหรสพหนึ่งคู่สังคมไทย นับเป็นหมุดหมายสำคัญหนึ่งในแง่มุมของประวัติศาสตร์สังคม

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai

หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net