Skip to main content
sharethis

ศาลรธน. นัดลงมติ พ.ร.ป. ส.ว. ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 23 พ.ค. นี้ ส่วนร่าง พ.ร.ป. ส.ส. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 นัดวินิจฉัยต่อวันเดียวกัน พร้อมขยายเวลาให้คสช. แจงคำสั่ง 53/2560 ถึงวันที่ 11 พ.ค.

2 พ.ค. 2561 ข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รายงานว่า ในวันนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาพิจารณาคดี 3 คดี ประกอบด้วย 1.กรณีประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ร่างพระร่างบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ในมาตรา 91 , 92 , 93 , 94 , 95 และ 96 ว่ามีข้อความที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 107 หรือไม่

โดยข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรวม 30 คน เห็นว่าร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ในบทเฉพาะกาลมาตรา 91 ถึงมาตรา 96 ที่กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 ซึ่งการกำหนดจำนวนผู้สมัคร วิธีการสมัคร และกระบวนการเลือก ในบทเฉพาะกาลดังกล่าวได้กําหนดไว้แตกต่างไปจากการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามบททั่วไป มีข้อความ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 จึงเสนอความเห็นต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ ส่งความเห็นดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 263 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. . มาตรา 91 มาตรา 92 มาตรา 43 มาตรา 44 มาตรา 95 และมาตรา 96 มีข้อความขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่

ต่อมาประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กิตติ วะสีนนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้แทนของฝ่ายผู้เสนอความเห็น สมชาย แสวงการ ผู้แทนของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ลงมติเห็นชอบในวาระที่สาม และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .... ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 วรรคห้า ได้ส่งความเห็นเป็นหนังสือต่อศาล ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

ผลการพิจารณา ศาลพิจารณาความเห็นเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว มีคําสั่งรับรวมไว้ในสํานวน ต่อจากนั้นศาลได้กําหนดประเด็นและอภิปรายเพื่อนําไปสู่การวินิจฉัย นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และ ลงมติในวันพุธที่ 23 พ.ค. 2561

2. กรณีผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 140 และมาตรา 143 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 45 หรือไม่

ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า พลตํารวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร้องเรียนต่อผู้ร้องว่าคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ร้องพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าคําสั่งหัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีสถานะเป็น “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) และบทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้รับรองและคุ้มครองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 ประกอบมาตรา 45 อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควร แก่เหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความ แตกต่างในเรื่องสถานะของบุคคล ฐานะทางสังคม และความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งขัดกับหลักความเสมอภาค ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 ได้รับรองและคุ้มครองไว้ ผู้ร้องจึงเสนอเรื่องพร้อมความเห็น ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่าพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 140 และมาตรา 141 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 53/2560 เรื่อง การดําเนินการตามกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 27 และมาตรา 45

ต่อมาประธานกรรมการการเลือกตั้ง พลตํารวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้า พรรคเพื่อไทย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ส่งความเห็นเป็นหนังสือและ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อศาล ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

ผลการพิจารณา ศาลพิจารณาความเห็นเป็นหนังสือและข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว มีคําสั่ง รับรวมไว้ในสํานวน สําหรับกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีหนังสือขอขยายระยะเวลาในการส่ง ความเห็นเป็นหนังสือและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นวันศุกร์ที่ 11 พ.ค. 2561 นั้น ศาลพิจารณาแล้ว มีคําสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามคําขอ และนัดอภิปรายเพื่อนําไปสู่การวินิจฉัยในวันพุธที่ 23 พ.ค. 2561

3. กรณีประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ส่งความเห็นของสมาชิกสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ จํานวน 27 คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง (1) ประกอบมาตรา 263 ว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. ... มาตรา 35 (4) และ (5) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 95 วรรคสาม และร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... มาตรา 92 วรรคหนึ่ง มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 85 หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 7/2563)

ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กับคณะ รวม 27 คน เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ... มาตรา 35 (4) และ (5) มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 วรรคสาม และร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... มาตรา 92 วรรคหนึ่ง มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 85 จึงเสนอความเห็นต่อผู้ร้องเพื่อส่งความเห็นดังกล่าว ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 263 วรรคห้า และมาตรา 263 และผู้ร้องได้ส่งความเห็นดังกล่าวมายังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 148 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 263

ต่อมา ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ปรีชา วัชราภัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้แทนของฝ่ายผู้เสนอความเห็น ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. . ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 วรรคห้า และประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ส่งความเห็นเป็นหนังสือและข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อศาล ภายในระยะเวลาที่ศาลกําหนด

ผลการพิจารณา ศาลพิจารณาความเห็นเป็นหนังสือและข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวแล้ว มีคําสั่ง รับรวมไว้ในสํานวน ต่อจากนั้นศาลได้กําหนดประเด็นและอภิปรายเพื่อนําไปสู่การวินิจฉัย และนัดอภิปราย เพื่อนําไปสู่การวินิจฉัยต่อในวันพุธที่ 23 พ.ค.2561


 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net