Skip to main content
sharethis

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (แฟ้มภาพ)

6 มิ.ย. 2562 ข่าวศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง รายงานว่า วันนี้ เมื่อเวลา 11.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง อ่านคําพิพากษาคดีหมายเลขดําที่ อม. 1/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 10/2552 ระหว่าง คตส. โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน โจทก์ พันตํารวจโททักษิณ หรือทักษิณ ชินวัตร จําเลยที่ 1 กับพวกรวม 47 คน เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 ระหว่างการพิจารณา จําเลยที่ 1 หลบหนี ศาลออกหมายจับและจําหน่ายคดีเฉพาะจําเลยที่ 1 เสียจากสารบบความชั่วคราว ต่อมามีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทาง การเมือง พ.ศ. 2560 ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีอํานาจ พิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทําต่อหน้าจําเลย ศาลจึงให้ยกคดีเฉพาะจําเลยที่ 1 ขึ้นพิจารณาต่อไป และอ่านคําพิพากษาลับหลังจําเลยที่ 1 ในวันนี้ (6 มิถุนายน 2562)

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมีคําวินิจฉัยในสาระสําคัญว่า พระราชบัญญัติสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เข้ารัฐ สํานักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดให้เล่นและจําหน่ายเอง โดยได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย หากจําหน่ายสลากได้ไม่หมด รางวัลอาจถูกลดลงได้ เงินได้หลังหักเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแล้ว ต้องนําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน คดีนี้ทางไต่สวนได้ความจากจําเลยที่ 42 ว่า จําเลยที่ 1 มีนโยบายที่จะ ปราบปรามหวยใต้ดิน จึงเร่งรัดให้สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลดําเนินการตามนโยบายการออก สลากพิเศษเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว (หวยบนดิน) แต่มีบุคคลหลายคนมีหนังสือทักท้วงจําเลยที่ 1 ว่า การดําเนินการดังกล่าวเป็นการกระทําที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการออกสลาก พิเศษเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว (หวยบนดิน) เป็นการจําหน่ายสลากตามความต้องการของผู้ซื้อ ไม่มีจํากัดวงเงินในการเล่น และไม่มีจํากัดวงเงินรางวัลที่จะจ่าย จึงมีความแตกต่างจากสลากกินแบ่ง รัฐบาลและสลากการกุศลที่เคยออกมา เนื่องจากไม่มีวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินรายได้เป็นการเฉพาะ เช่นเดียวกับสลากการกุศล รวมทั้งข้อแตกต่างสําคัญที่มิได้มีเงื่อนไขการจ่ายเงินเช่นเดียวกับสลากกินแบ่ง รัฐบาล ที่ในแต่ละงวดจะมีการจํากัดวงเงินรางวัล ดังนั้นการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว (หวยบนดิน) จึงมีลักษณะเป็นสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) ที่อาจทําให้สํานักงานสลากกิน แบ่งรัฐบาลมีโอกาสขาดทุน และส่งผลกระทบต่อกระทรวงการคลัง ทําให้กระทรวงการคลังได้รับ ความเสียหายได้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ให้ออกสลากพิเศษเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว (หวยบนดิน) จึงไม่เป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์ของสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติสํานักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 5 และมาตรา 9 แม้ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ถึงงวดวันที่ 16 กันยายน 2549 จะมีรายได้รวมเป็นเงิน 123,339,890,730 บาท 

แต่ปรากฏว่า มีผลขาดทุนรวม 7 งวด เป็นเงินรวม 1,668,192,060.02  บาท ซึ่งรัฐอาจอุดหนุนเงินให้แก่ ประชาชนได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งในหลายกรณีไม่ถือว่าการจ่ายเงินชดเชยแก่ประชาชนจะถือเป็นผล ขาดทุนของรัฐ เพราะเป็นการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในแต่ละภาคส่วน แต่การจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไข เช่นเดียวกับสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) อันเป็นเรื่องการพนันขันต่อ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชน ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข การสั่งการของจําเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและจริยธรรมของผู้ดํารง ตําแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้นเงินที่จ่ายเกินไปกว่ารายได้ของการจําหน่ายสลากจึงถือว่าก่อให้เกิดผล ขาดทุนแก่รัฐ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏด้วยว่าสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลขอเบิกเงินเกินบัญชีจาก ธนาคารออมสินในวงเงิน 20,000,000,000 บาท เพื่อเป็นเงินสํารองรับการจ่ายเงินรางวัลสลากพิเศษ แบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว กรณีถูกเงินรางวัลเกินกว่าที่สํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจัดสรรไว้

จึงเชื่อได้ว่าจําเลยที่ 1 ก็ทราบดีถึงการอาจเกิดผลขาดทุนดังกล่าว มิฉะนั้นคงไม่มีการดําเนินการ ขอเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าว ดังนั้นการจําหน่ายสลากดังกล่าวเป็นการจัดให้มีการเล่นพนัน ซึ่งสํานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ โดยไม่มีกฎหมายให้อํานาจ การใช้จ่ายเงิน รายได้ไม่มีการกําหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและไม่ปรากฏว่าได้รับการตรวจรับรองจากสํานักงาน การตรวจเงินแผ่นดินในทุกกรณี ทั้งมิได้ดําเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบราชการในทุกขั้นตอน แม้หักค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน เงินสมทบ ค่าบริหารและเงินคืนสู่สังคมแล้ว ก็ยังคงมีเงินรวมประมาณ นับแสนล้านบาทที่ไม่ได้นําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งเงินที่ไม่นําส่งเป็นรายได้แผ่นดินนี้ก็ไม่ปรากฏ ค่าใช้จ่ายแต่ละรายการเช่นเดียวกับการเสนอขอใช้งบประมาณแผ่นดินในโครงการอื่น การออกสลาก ดังกล่าวโดยไม่ได้ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายก่อน แสดงว่าจําเลยที่ 1 ไม่ต้องการให้เงินจากการ ขายสลากดังกล่าวถูกจัดสรรเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน อันจะส่งผลให้การใช้จ่ายเงินต้องเป็นไปตาม ช่องทางปกติตามวิธีการงบประมาณ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทําของ จําเลยที่ 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยร่วมกระทําการกับ จําเลยที่ 10 ที่ 31 และที่ 42 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 และมีมติเสียงข้างมากให้ลงโทษจําคุก 2 ปี ข้อหาและคําขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

อนึ่ง ในวันนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองได้ออกหมายจับ จําเลยที่ 1 มาเพื่อบังคับตามคําพิพากษาแล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net