Skip to main content
sharethis

สำรวจค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ กทม. รอบ 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับราคาข้าวราดแกงกับข้าว 2 อย่าง สามารถซื้อได้กี่จาน ขณะที่นิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในอดีตระบุคือ รายได้ของคนงาน 1 คน จะต้องสามารถเลี้ยงสมาชิกครอบครัวได้อีก 2 คน

จากกรณีกระทรวงแรงงานส่งสัญญาณเคาะขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเดือนสิงหาคม 2565 นี้ โดยคณะกรรมการไตรภาคีเตรียมเคาะตัวเลขปรับขึ้น 5-8% คำนวณจากฐานเงินเฟ้อตามหลักสากล และจะมีผลช่วงเดือน มกราคม 2566 ส่งผลต่อกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบนั้น แม้จากบทความของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI เผยแพร่เมื่อปี 58 ระบุว่า คำจำกัดความของค่าจ้างขั้นต่ำในอดีตขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือ ILO คือ รายได้ของคนงาน 1 คน จะต้องสามารถเลี้ยงสมาชิกครอบครัวได้อีก 2 คน เหมือนว่าค่าจ้างขั้นต่ำของไทยจะไม่ได้นิยามในแบบ ILO

ในโอกาสนี้จึงขอย้อนดูค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเมื่อเทียบกับราคาอาหารกลางวัน ข้าวราดแกงกับข้าว 2 อย่าง ใส่จาน\ขนาด 8 นิ้ว ที่จำหน่ายตามร้านอาหารทั่วไป ซึ่งถือเป็นอาหาร 1 มื้อที่น่าจะเป็นอาหารพื้นที่ที่เข้าถึงง่ายเพื่อให้เห็นถึงสถานะการดำรงชีวิตของคนที่ได้ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ

ส่วนประวัติเกี่ยวกับร้านข้าวแกงนั้น ศิลปวัฒนธรรม รายงานอ้างถึง ส. พลายน้อย เขียนอธิบายใน “กระยานิยาย” ว่า คนไทยในอดีตไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน เพราะสมัยก่อนทำงานนอกบ้านเช่นทำไรทำนาก็เตรียมข้าวไปกินเอง หรือมีคนเอาไปส่ง คนที่กินข้าวนอกบ้านมีแต่พวกข้าราชการ ทั้งนี้ ส. พลายน้อย อธิบายว่า ข้าวแกงน่าจะมีมากขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 การขายข้าวแกงสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ตักแกงมาราดข้าว แต่ทำเป็นสำรับ จัดของใส่จานชามตั้งบนโต๊ะไม้ คือ โต๊ะลาวทาชาดสีแดง ๆ และบ้างก็เป็นโต๊ะทองเหลืองหรือที่เรียกว่า โตก เป็นพานขนาดใหญ่ มีทั้งสำรับคาว และสำรับหวาน ราคาที่ 1 สลึง

ที่มาข้อมูล :

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net