Skip to main content
sharethis

'Rocket Media Lab' ชวนดูจำนวน ส.ส. แบ่งเขต หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินให้ใช้จำนวนประชากรเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทย

Rocket Media Lab รายงานเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2566 ว่าจากการที่ กกต. มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ ตีความสูตรคำนวณจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขต หลังหลายภาคส่วนค้านการนับรวมประชากรไม่มีสัญชาติไทย ในวันที่ 14 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา จากนั้นในวันที่ 3 มี.ค. ศาลรัฐธรรมนูญมีการประชุมแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือ และลงมติ

“ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (1) ที่กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น คำว่า “ราษฎร” ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย”

จากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทำให้ จำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่ กกต. ประกาศออกมาก่อนหน้านี้ในวันที่ 31 ม.ค. 66 มีการเปลี่ยนแปลง โดยต้องคำนวณจำนวน ส.ส. แบ่งเขตตามจำนวนประชากรเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งได้ผลลัพธ์ตามที่ Rocket Media Lab เคยตั้งข้อสังเกตและคำนวณไว้ก่อนหน้านี้ (อ่านการคำนวณเวอร์ชั่นตัดผู้ไม่มีสัญชาติไทยออกจากร็อกเกต มีเดีย แล็บ ได้ที่ https://rocketmedialab.co/election-66-1/ ) 

โดยผลของมติศาลรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. แบ่งเขตใน 8 จังหวัด โดยแยกเป็น

4 จังหวัดที่จะได้จำนวน ส.ส. แบ่งเขตเพิ่มขึ้น (เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศ กกต. ก่อนหน้านี้) 

นครศรีธรรมราช จาก 9 คน เป็น 10 คน 

อุดรธานี               จาก9 คน เป็น 10 คน 

ลพบุรี                   จาก 4 คน เป็น 5 คน

ปัตตานี                จาก 4 คน เป็น 5 คน

4 จังหวัดที่จะได้จำนวน ส.ส. แบ่งเขตลดลง (เมื่อเปรียบเทียบกับประกาศ กกต. ก่อนหน้านี้) 

เชียงใหม่             จาก 11 คน เหลือ 10 คน

เชียงราย              จาก 8 คน เหลือ 7 คน 

สมุทรสาคร          จาก 4 คน เหลือ 3 คน

ตาก                      จาก 4 คน เหลือ 3 คน

ร็อกเกต มีเดีย แล็บ พูดคุยกับสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ผู้ที่ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงการคำนวณจำนวน ส.ส.ของ กกต. ในแบบแรกที่รวมประชากรที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วย ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าในการคำนวณให้ใช้เฉพาะประชากรที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น โดยสมชัยกล่าวว่า

“จากนี้ไปอยากให้ กกต. ประกาศตัวเลข ส.ส. แบ่งเขตใน 69 จังหวัดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากมติของศาลรัฐธรรมนูญลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน เพื่อที่จะได้เดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป ส่วนในอีก 8 จังหวัดที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามที่ร็อกเกต มีเดีย แล็บ เคยทำข้อมูลไว้ ผมเสนอว่าให้ กกต. ประกาศการเปลี่ยนแปลงตัวเลข ส.ส. ใน 8 จังหวัดวันนี้เลย แล้วจึงออกประกาศในราชกิจจาฯ ตามมาทีหลัง เพื่อให้พรรคการเมืองทำไพรมารี่โหวตได้ ซึ่งถ้าทำแบบนี้ผมคิดว่าจะไม่กระทบกับไทม์ไลน์การจัดการเลือกตั้งเดิมที่วางไว้ว่าไม่เกินวันที่ 7 พ.ค. 66” 

ดังนั้น จำนวน ส.ส. แบ่งเขต 400 เขตใน 77 จังหวัด ในการเลือกตั้ง 66 คือ

ภาคเหนือ 37 คน แบ่งเป็น

เชียงใหม่ 10 คน 

เชียงราย 7 คน

แพร่ 3 คน

แม่ฮ่องสอน 2 คน

น่าน 3 คน

พะเยา 3 คน

ลำปาง 4 คน

ลำพูน 2 คน

อุตรดิตถ์ 3 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 133 คน แบ่งเป็น

กาฬสินธุ์ 6 คน 

ขอนแก่น 11 คน

ชัยภูมิ 7 คน

นครพนม 4 คน

นครราชสีมา 16 คน

บึงกาฬ 3 คน

บุรีรัมย์ 10 คน

มหาสารคาม 6 คน

มุกดาหาร 2 คน

ยโสธร 3 คน

ร้อยเอ็ด 8 คน

เลย 4 คน

ศรีสะเกษ 9 คน

สกลนคร 7 คน

สุรินทร์ 8 คน

หนองคาย 3 คน

หนองบัวลำภู 3 คน

อำนาจเจริญ 2 คน

อุดรธานี 10 คน

อุบลราชธานี 11 คน

ภาคตะวันออก 29 คน แบ่งเป็น

จันทบุรี 3 คน

ฉะเชิงเทรา 4 คน

ชลบุรี 10 คน

ตราด 1 คน

ปราจีนบุรี 3 คน

ระยอง 5 คน

สระแก้ว 3 คน

ภาคตะวันตก 19 คน แบ่งเป็น

กาญจนบุรี 5 คน

ตาก 3 คน

ประจวบคีรีขันธ์ 3 คน

เพชรบุรี 3 คน

ราชบุรี 5 คน

ภาคกลาง 122 คน แบ่งเป็น

กรุงเทพมหานคร 33 คน

กำแพงเพชร 4 คน

ชัยนาท 2 คน

นครนายก 2 คน

นครปฐม 6 คน

นครสวรรค์ 6 คน

นนทบุรี 8 คน

ปทุมธานี 7 คน

พระนครศรีอยุธยา 5 คน

พิจิตร 3 คน

พิษณุโลก 5 คน

เพชรบูรณ์ 6 คน

ลพบุรี 5 คน

สมุทรปราการ 8 คน

สมุทรสงคราม 1 คน

สมุทรสาคร 3 คน

สระบุรี 4 คน

สิงห์บุรี 1 คน

สุโขทัย 4 คน

สุพรรณบุรี 5 คน

อ่างทอง 2 คน

อุทัยธานี 2 คน

ภาคใต้ 60 คน แบ่งเป็น

กระบี่ 3 คน

ชุมพร 3 คน

ตรัง 4 คน

นครศรีธรรมราช 10 คน

นราธิวาส 5 คน

ปัตตานี 5 คน

พังงา 2 คน

พัทลุง 3 คน

ภูเก็ต 3 คน

ยะลา 3 คน

ระนอง 1 คน

สงขลา 9 คน

สตูล 2 คน 

สุราษฎร์ธานี 7 คน

หากคำนวณ ส.ส. โดยตัดผู้ไม่มีสัญชาติไทยออก จังหวัดใดมี ส.ส. เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งปี 2562 บ้าง

เมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งมี ส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน แต่ในปี 2566 มีจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตทั้งสิ้น 400 คน พบว่า มี 42 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้น

โดยกรุงเทพฯ มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 คน จาก 30 คนเป็น 33 คน รองลงมา เพิ่มขึ้นจังหวัดละ 2 คน รวม 5 จังหวัด คือ นนทบุรี จาก 6 เป็น 8 คน, ชลบุรี จาก 8 เป็น 10 คน, นครราชสีมา จาก 14 เป็น 16 คน, บุรีรัมย์ จาก 8 เป็น 10 คน และอุดรธานีจาก 8 คนเป็น 10 คน 

จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 คน มี 36 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ ตรัง ตาก นครนายก นครปฐม นครศรีธรรมราช นราธิวาส บึงกาฬ ปทุมธานี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พังงา เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ร้อยเอ็ด ระยอง เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สมุทรปราการ สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ อ่างทอง อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี

8 จังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. เขต จากการคำนวณใหม่ตามมติศาลรัฐธรรมนูญ มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง

นครศรีธรรมราช  

จำนวน ส.ส. ‘62 : 8 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 10 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 8 ที่นั่ง แบ่งเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 5 ที่นั่ง ได้แก่ 1) เทพไท เสนพงศ์ 2) ประกอบ รัตนพันธ์ 3) ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 4) ชัยชนะ เดชเดโช 5) พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล และพรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่งได้แก่ 1) รงค์ บุญสวยขวัญ 2) สัณหพจน์ สุขศรีเมือง 3) สายัณห์ ยุติธรรม 

ปัตตานี 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 5 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 4 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคประชาชาติ 2 ที่นั่งได้แก่ 1) อนุมัติ ซูสารอ และ 2) สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ พรรคประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่งได้แก่ อันวาร์ สาและ และพรรคภูมิใจไทย 1 ที่นั่งได้แก่ อับดุลบาซิม อาบู

ลพบุรี

จำนวน ส.ส. ‘62 : 4 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66  : 5 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 4 ที่นั่ง แบ่งเป็น พรรคภูมิใจไทย 2 ที่นั่ง ได้แก่ 1) เกียรติ เหลืองขจรวิทย์ และ 2) มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช พรรคพลังประชารัฐ 1 ที่นั่งได้แก่ ประทวน สุทธิอำนวยเดช และพรรคเพื่อไทย 1 ที่นั่ง ได้แก่ อุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม

อุดรธานี 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 8 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 10 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 8 ที่นั่งเป็นของพรรคเพื่อไทย ได้แก่ 1) ศราวุธ เพชรพนมพร 2) อนันต์ ศรีพันธุ์ 3) ขจิตร ชัยนิคม 4) อาภรณ์ สาราคำ 5) จุฑาพัตธน์ เมนะสวัสดิ์ 6) จักรพรรดิ ไชยสาส์น 7) เกรียงศักดิ์ ฝ้ายสีงาม 8) เทียบจุฑา ขาวขำ

เชียงราย

จำนวน ส.ส. ‘62 : 7 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 7 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 จากทั้งหมด 7 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทยครอง 5 ที่นั่ง ได้แก่ 1) วิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ 2) วิสาร เตชะธีราวัฒน์ 3) รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ 4) พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 5) ละออง ติยะไพรัช และพรรคอนาคตใหม่ 2 ที่นั่งได้แก่ 1) เอกภพ เพียรพิเศษ ซึ่ง และพีรเดช คำสมุทร 

เชียงใหม่ 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 9 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 10 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 9 ที่นั่งเป็นของพรรคเพื่อไทย ได้แก่ 1) ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ 2) นพคุณ รัฐผไท 3) จักรพล ตั้งสุทธิธรรม 4) วิทยา ทรงคำ 5) สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 6) จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ 7) ประสิทธิ์ วุฒินันชัย 8) สุรพล เกียรติไชยากร 9) ศรีเรศ โกฎคำลือ 

ตาก 

จำนวน ส.ส. ‘62 : 3 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 3 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 3 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ ครอง 2 ที่นั่ง ได้แก่ ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ และภาคภูมิ บูลย์ประมุข ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่งคือ ภาคภูมิ บูลย์ประมุข 

สมุทรสาคร

จำนวน ส.ส. ‘62 : 3 ที่นั่ง

จำนวน ส.ส. ‘66 : 3 ที่นั่ง

ในการเลือกตั้งปี 2562 ทั้งหมด 3 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ ครอง 2 ที่นั่ง ได้แก่ ทองแดง เบ็ญจะปัก และสมัคร ป้องวงษ์ พรรคพลังประชารัฐครอง 1 ที่นั่ง ได้แก่ จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ

 

ดูข้อมูลพื้นฐานที่ https://rocketmedialab.co/database-election-66-1/ 

 

อ้างอิง

ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานทะเบียนราษฎร เมื่อ 31 ธันวาคม 2565 https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_65.pdf

ข้อมูล ส.ส.ปี 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net