Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

Friedrich Nietzsche (1844-1900) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งและเป็นคนที่ประกาศว่า “พระเจ้าตายแล้ว “ (God is dead) ในหนังสือ ชื่อ The Gay Science ค.ศ. 1882 ข้อความดังกล่าวมาจากความเชื่อของ Nietzsche ว่า วิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เช่น วิชาจิตวิทยาได้อธิบายจิตใต้สำนึก จนความผูกพันอยู่กับศาสนาสมัยก่อนต้องหลีกทางให้ ผลดังกล่าวจึงทิ้งให้มนุษย์มีชีวิตอยู่โดย  ไม่มีความหวังหรือเป้าหมาย เว้นแต่ว่ามนุษย์จะได้สร้างความหวังหรือเป้าหมายของเขาขึ้นเอง ซึ่งตรงจุดนี้เองที่   ถือกันว่าปรัชญาของ Nietzsche เป็นส่วนหนึ่งที่ให้กำเนิดแนวคิดอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ด้วย

สำหรับ “ศีลธรรมนายและศีลธรรมทาส” เป็นความคิดหลักของ Nietzsche ในงาน On the Genealogy of Morality และงานชิ้นหลังๆ ของเขา Nietzsche นิยามว่า “ศีลธรรมนาย” หมายถึงศีลธรรมของการมีเจตจำนงที่เข้มแข็ง (Nietzscher define master morality as the morality of the strong-will) Nietzsche เห็นว่านายเป็นผู้สร้างศีลธรรม ทาสตอบโต้ “ศีลธรรมนาย” ด้วยการมี “ศีลธรรมทาส” ซึ่งเป็นความรู้สึก “ศีลธรรมทาส” จึงตั้งอยู่บนการแสดงความรู้สึกตอบโต้ ลดคุณค่าของค่านิยมของนายที่ทาสไม่มี ศีลธรรมของนายถือกำเนิดจากความเข้มแข็ง ส่วนศีลธรรมทาสเกิดจากความอ่อนแอ ศีลธรรมของทาสเป็นปฏิกิริยาต่อการกดขี่ ใส่ร้ายผู้กดขี่ ศีลธรรมทาสอยู่กลับข้างกับศีลธรรมนาย จึงมีลักษณะมองโลกแง่ร้ายและเย้ยหยัน ศีลธรรมทาสถูกสร้างขึ้นเพื่อคัดค้านสิ่งที่ศีลธรรมนายเห็นว่าเป็นสิ่งดี 

(Wikipedia, Retrieved from “https://en.wikipedia.org/w/index.php?titile=Mster-slave_morality&oldid=1141438325)

ส่วนด้านการค้นหากำเนิดของศีลธรรมของ Nietzsche เป็นการค้นหาว่า “ศีลธรรม” ซึ่งเป็นระบบความเชื่อและเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งนั้นเกิดขึ้นจอย่างไร และแตกต่างกันไปตามสถานการณ์อย่างไร เช่น ศีลธรรมนายเกิดขึ้นจาก Nobility (ชนชั้นสูงในสังคมโรมัน) และศีลธรรมทาสเกิดจากพวกที่เป็นทาสในความหมายของการเป็นทาสจริงๆ (ในสังคมฮิบรู) ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าชนชั้นสูงในสังคมโรมันเป็นผู้สร้างศีลธรรมให้กับทาส เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีศีลธรรมของตนเอง

ต่อมาภายหลังศีลธรรมดี-ชั่ว (good-evil) ของสังคมฮิบรูได้รับการยอมรับทั่วโลก เนื่องจากศีลธรรมดี-เลว (good-bad) ของสังคมโรมันยินยอมให้ผู้ที่มีอำนาจเข้มแข็งรุกรานผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งโลกเห็นว่าขัดกับหลักความยุติธรรม หลังจากนั้น Nietzsche นำเอาศีลธรรมนายและศีลธรรมทาสมาใช้ใหม่ในทางการเปรียบเหมือน (metaphor) แต่มิใช่เป็น “ศีลธรรมนาย” ในความหมายของศีลธรรมของโรมหรือ “ศีลธรรมทาส” ในความหมายของศีลธรรมฮิบรู

เริ่มจาก Nietzsche โจมตีศีลธรรมตามแบบประเพณี (traditional moral views) ซึ่งก็คือศีลธรรมดี-ชั่วที่โลกรับมาจากสังคมฮิบรูว่าเป็นการรับมาโดยไม่ไตร่ตรอง ต่อมา Nietzsche โจมตีว่าศีลธรรมทางศาสนาขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ (religious morals are anti-nature) เช่น การสอนให้คนตัดกิเลส (il faut tuer les passions, one must kill the passions) เช่น ห้ามมีเพศสัมพันธ์ เขามองว่าขัดกับสัญชาตญาณมนุษย์ (turns against the instincts of life) สุดท้าย  Nietzsche เห็นว่ามนุษย์ไปสับสนระหว่างสาเหตุและผลเอง ที่จริงสาเหตุของปัญหาทุกอย่างมาจากตัวมนุษย์ หากมนุษย์รู้จักตั้งเป้าหมายด้วยตนเองและทำตามเป้าหมายได้ด้วยตนเอง เขาก็ไม่ต้องพึ่ง God หมายถึงไม่ต้องพึ่งศาสนา แต่ที่คนต้องพึ่งศาสนา ก็เพราะมนุษย์คิดไม่เป็นหรือไม่รู้จักตั้งเป้าหมาย

Nietzsche จึงต้องคำถามว่า “Why has an “anti-natural” morality - a “poison” which has spread “through the entire body of mankind” (On the Genealogy of Morality) - gained dominion over Western civilization? แปลได้ทำนองว่า ศีลธรรมที่ขัดต่อธรรมชาติอย่างคำสอนของศาสนา ซึ่งเปรียบเสมือนยาพิษได้แพร่หลายเข้าไปสู่ร่างกายทั้งหมดของมนุษยชาติได้อย่างไร โดยเฉพาะการครอบงำเหนืออารยธรรมตะวันตก

เขาให้คำตอบว่าเป็นเพราะ “most people uncritically and largely unconsciously, adopt the “value judgements of good and evil” dominant within their society” คนส่วนใหญ่รับค่านิยมดี-ชั่วมาโดยไม่รู้จักความสำคัญและไม่รู้จักคิด 

ต่อมา Nietzsche วิเคราะห์มนุษย์ว่าแบ่งออกได้เป็นสองพวก (two types of individuals) ได้แก่ พวกแรก คนที่มีความเป็นมนุษย์ระดับสูง และ พวกที่สอง มนุษย์ที่เป็นเหมือนฝูงสัตว์ (higher human being and those who belong to the herd) คนที่เป็นมนุษย์ระดับสูงยังแบ่งย่อยอีกสองพวก ได้แก่ (1) อัจฉริยะที่สร้างสรรค์ (creative geniuses) หมายถึงคนที่มีความสร้างสรรค์ที่เป็นผู้ยิ่งใหญ่จริงๆ (the men of great creativity, the really great men according to my understanding) (Nietzsche, The Will To Power) อย่างที่เขาเข้าใจ เช่น บีโธเฟน พวกนี้เกิดมาเพื่อสร้างความสุขให้กับมนุษย์ (2) มนุษย์ที่เหนือกว่าที่มีอยู่แพร่หลาย (the more prevalent higher humans) พวกนี้ไม่ใช่อัจฉริยะที่สร้างความสุขให้กับมนุษย์ด้านเสียงเพลง แต่ชอบทำงานเงียบๆ น่าจะหมายถึงพวกนักคิดนักประดิษฐ์ (hidden from the public eye, their lives are “without songs and singers” (The Dawn)

ส่วนมนุษย์ที่เหมือนฝูงสัตว์ แบ่งออกเป็นสองพวกย่อยเช่นกัน ได้แก่ (1) คนสุดท้าย (the last man) หมายถึงพวกที่อยู่ระดับปานกลางและไม่โลดโผน ถึงแม้โลกแตกสลาย เขาก็อยู่ได้เป็นคนสุดท้าย เพราะว่าปรับตัวได้หมดทุกสถานการณ์ และ (2) พวกทาส (the slave) ในที่นี้มิใช่ทาสจริงๆ เหมือนสมัยฮิบรู แต่เปรียบเปรยว่าเป็นทาส เนื่องจากเป็นพวกที่กลัวการเผชิญกับความจริงที่มีอำนาจเหนือเขาและกำลังคุกคามเขา (a festering hatred of life generated by feeling of importance in the face of an external reality felt to be overpowering and threatening) Nietzsche อธิบายว่ามนุษย์ที่เหมือนฝูงสัตว์นี้มีมากที่สุด ในหมู่มนุษยชาติ เป็นพวกที่น่ากลัวที่สุด เนื่องจากอ่อนแอ เจ็บป่วย ล้มเหลวและลำบาก คอยทำตามคนอื่นและเชื่อว่าการทำตาม  คนอื่นนั่นแหละ คือ “ศีลธรรม”

สรุปหลักปรัชญาของ Nietzsche เขาเห็นว่าพระเจ้าตายแล้ว วิทยาศาสตร์ได้เข้ามาแทนศีลธรรม เขาโจมตีศีลธรรมทางศาสนาว่าผิดธรรมชาติ และเห็นว่าที่จริงมนุษย์สับสนระหว่างเหตุและผล เหตุทั้งหลายมาจาก   ตัวมนุษย์ หากมนุษย์รู้จักพึ่งตัวเองและมีเป้าหมาย มนุษย์ก็ไม่ต้องพึ่งศาสนา หลักปรัชญาของ Nietzsche เป็นพื้นฐานของปรัชญาการมีชีวิตอยู่กับปัจจุบันและมีเป้าหมาย ส่วนการค้นหากำเนิดของศีลธรรมเป็นเพียงการอธิบายว่าศีลธรรมมีค่านิยมและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์แวดล้อมทางสังคมและขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์นิพนธ์ ความหมายของ Nietzsche คือ ศีลธรรมไม่ได้เป็นหลักปฏิบัติตายตัว

งานของ Nietzsche ไม่มีข้อความตอนใดที่ Nietzsche กล่าวว่า “ข้อวิจารณ์อย่างหนึ่งของนีทเชอคือ ศีลธรรมเป็นเรื่องของชนชั้น แยกเป็นศีลธรรมแบบนายและศีลธรรมแบบทาส อย่างแรกคือศีลธรรมที่แสดงสถานะอำนาจ อุปนิสัย มารยาทของชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง อย่างหลังแสดงความเชื่อฟัง อุปนิสัย มารยาทของชนชั้นผู้ถูกปกครองหรือคนส่วนใหญ่ที่เชื่อฟังและทำตามคำสั่งหรือเชื่อและทำอะไรตามๆ กันโดยไม่ตั้งคำถามและไม่ได้เลือกความซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกหรือความต้องการแท้จริงของตนเอง” 

อาตมาเห็นว่าน่าจะเป็นการแปลผิดหรือสรุปความมาผิด โดยรวบเอาศีลธรรมของนายในสมัยโรมันและศีลธรรมของทาสมรสมัยฮิบรู รวมเข้ากับการแบ่งประเภทของมนุษย์ของ Nietzsche อย่างสับสน งานของ Nietzsche ไม่ได้กล่าวถึงชนชั้น (Class) ไว้ ณ ตอนใด และไม่เคยกล่าวว่า “ศีลธรรมเป็นเรื่องของชนชั้น” มีแต่กล่าวว่า “ศีลธรรมนาย” เกิดจาก “ชนชั้นสูง” (nobility) ส่วนศีลธรรมทาสก็เกิดจากทาส

นอกจากนี้ การเรียกร้องให้ศาสนาพุทธของประเทศไทยมีการ secularization นั้น อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้

“ในความเข้าใจของผม secularization ทางศาสนา คือ แยกศาสนาจากการเมืองครับ
ผมเห็นว่า มองได้สองทาง คือ ตามกฎหมาย กับ ตามประเพณีวัฒนธรรม

การที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ถือว่า แยกศาสนาจากการเมือง
และเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค ศ 1953 (ใช้อยู่ในปัจจุบัน) ในมาตรา 4 กล่าวว่า

4. The Evangelical Lutheran Church shall be the Established Church of Denmark,
and as such, it shall be supported by the State.
จะเห็นว่า (เดนมาร์ก) มีศาสนาประจำชาติ 
แต่เขาก็มีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในความเชื่อด้วย
66. The constitution of the Established Church shall be laid down by Statute.
67. The citizens shall be entitled to form congregations for the worship of God in a
manner consistent with their convictions, provided that nothing at variance with
good morals or public order shall be taught or done.
68. No one shall be liable to make personal contributions to any denomination other
than the one to which he adheres.
69. Rules for religious bodies dissenting from the Established Church shall be laid
down by Statute.
70. No person shall for reasons of his creed or descent be deprived of access to
complete enjoyment of his civic and political rights, nor shall he for such reasons evade compliance with any common civic duty.

ซึ่งในแง่นี้ ของเราจะ secular กว่าเดนมาร์กในทางกฎหมาย

ส่วนในทางประเพณีวัฒนธรรม ผมว่า เราเปิดกว้างมาก ซึ่งจะเรียกว่า secular มากก็ได้ครับ
ยิ่งในสามจังหวัดภาคใต้ ศาสนาอิสลามจะ dominant กว่าพุทธ อย่างเห็นได้ชัด

อาตมาจึงเรียนเพื่อการอรรถาธิบาย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อศาสนาพุทธในฐานะที่เป็นศาสนาหนึ่งซึ่งมีคนไทยจำนวนมากนับถือ สรุปสาระสำคัญ คือ Nietzsche ไม่ได้กล่าวว่า “ศีลธรรมเป็นเรื่องชนชั้น” และศาสนาพุทธไทยในปัจจุบันมีการแยกศาสนาออกจากการเมืองมากอยู่แล้ว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net