Skip to main content
sharethis

กรุงเทพโพลสำรวจ 1,032 คน 91.4 % ระบุว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด โดย 67.2 % เห็นการขับเคลื่อนทางสังคมไทยเรื่องความหลากหลายทางเพศด้วยการอนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในสถานศึกษา และสถานที่ทำงาน ทั้งนี้ 78.6% เห็นด้วยค่อนข้างมากถึงมากที่สุดเรื่องให้คู่รัก LGBTQ+ได้รับสิทธิทางกฎหมาย และ 75.1% ยอมรับได้หากมีลูกหรือคนในครอบครัว เป็น LGBTQ+ แต่ยังคงห่วงว่าจะโดนล้อ/สังคมไม่ยอมรับ/เก็บกด

24 มิ.ย. 2566 เนื่องด้วยในเดือนมิถุนายนของทุกปีคือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ(Pride Month) กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คิดเห็นอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศ ในเดือน “Pride Month””โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,032 คน พบว่า

ประชาชนร้อยละ 44.6 ทราบว่าเดือนมิถุนายน เป็น “Pride Month” เดือนแห่งความภาคภูมิใจ ในความหลากหลายทางเพศที่เท่าเทียมของ LGBTQ+ ขณะที่ร้อยละ 55.4 ระบุว่าไม่ทราบ

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 ระบุว่าปัจจุบันสังคมไทยเปิดรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 8.6 ระบุว่ายังไม่ค่อยเปิดรับถึงไม่เปิดรับเลย

เมื่อถามว่าปัจจุบันเห็นการขับเคลื่อนทางสังคมไทยเรื่องความหลากหลายทางเพศในเรื่องใดบ้าง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 ระบุว่าเห็นการอนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ ในสถานศึกษา และสถานที่ทำงาน รองลงมาร้อยละ 64.4 ระบุว่า เห็นการแสดงออกที่มีต่อกับกลุ่ม LGBTQ+เหมือนปกติทั่วไป โดยไม่คิดว่าเป็นเรื่องแปลก และร้อยละ 61.2 ระบุว่า เห็นการทำซีรี่ส์วาย มีคู่จิ้นสายวาย มากขึ้น

ส่วนความเห็นเรื่องให้คู่รัก LGBTQ+ได้รับสิทธิทางกฎหมาย นั้น พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 ระบุว่าเห็นด้วยค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วยถึงไม่เห็นด้วยเลย

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ระบุว่ายอมรับได้ หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGBTQ+ รองลงมาร้อยละ 16.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ และร้อยละ 8.3 ระบุว่า ยอมรับไม่ได้

สำหรับเรื่องที่ห่วง/กังวล หากมี ลูก หรือคนใน ครอบครัว เป็น LGBTQ+ ส่วนใหญ่ร้อยละ 39.9 ระบุว่า กลัวโดนล้อ/สังคมไม่ยอมรับ/เก็บกด รองลงมาร้อยละ 38.6 ระบุว่าห่วงสุขภาพ เช่น กินฮอร์โมน โรคติดต่อ และร้อยละ 30.1 ระบุว่า กลัวถูกหลอกให้รัก        
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net