Skip to main content
sharethis


ชำนาญ จันทร์เรือง

 


 


ศาลปกครองเป็นองค์กรตุลาการที่ก่อกำเนิดขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ดังนี้ (ข้อความที่ขีดเส้นใต้หมายถึงข้อความที่แตกต่างกันระหว่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ)


 


1. เป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการสวนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน


 


2. เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


(มาตรา 276 วรรคหนึ่ง)


 


ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ดังนี้


 


1. เป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน


 


2. เป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


 


3. เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง


 


4. แต่ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น


(มาตรา 223 วรรคหนึ่งและวรรคสอง)


 


5. เป็นเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอความเห็นว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใด ตามมาตรา 244 (  1) () มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย


(มาตรา 245 (2))


 


6. เป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณ


(มาตรา 243 วรรคหนึ่ง)


 


7. เป็นเรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอความเห็นว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครอง กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย


(มาตรา 257 (3))


 


 


บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป


 


1) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (.245 (2)) มีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นเมื่อเห็นว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา 244 (1) () มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่าถ้าเป็นกฎ หรือคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด จะต้องเสนอเรื่องไปยังศาลปกครองเท่านั้น มิได้ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นพิจารณาว่าจะส่งไปศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเช่นเดิม


 


2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง มาตรา 22 กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และมิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่เดิมศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจที่ว่านี้หากเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ของใหม่นี้จำเพาะที่มิใช่การวินิจฉัยฯ ที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง


 


3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (. 257 (3)) มีอำนาจในการเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นไปยังศาลปกครองในกรณีที่เห็นชอบตามที่ผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 40 ไม่ได้ให้อำนาจนี้ไว้แก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่อย่างใด


 


4) คณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง (.253 วรรคหนึ่ง) ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดให้คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่ตั้งโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีหน้าที่วินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง  ซึ่งแต่เดิมไม่มีกรณีเช่นว่านี้แต่อย่างใด


 


ผลต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. 2542 ที่จะต้องมีการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ


 


  1)หน่วยงานทางปกครอง ต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติที่ว่าด้วยนิยาม "หน่วยงานทางปกครอง"ตาม ม.3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะรัฐธรรมนูญ ม.233 ขยายให้หมายรวมถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐทุกประเภท ยกเว้นเฉพาะการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น


 


2) จำนวนตุลาการ ต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติที่ว่าด้วยจำนวนตุลาการตาม ม.12 วรรคสอง และ ม.  17 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯจากเดิมที่ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศป.)กำหนด โดยให้ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วย แต่รัฐธรรมนูญ ม.224 วรรคสี่บัญญัติให้การกำหนดจำนวนตุลาการศาลปกครองในแต่ละชั้นศาลให้เป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง        


 


3) องค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ต้องมีการแก้ไข ม.35, .36, .37, .38 และ ม.4  1 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะรัฐธรรมนูญ ม.226 วรรคสาม บัญญัติว่าแม้ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือมีแต่ไม่ครบ 3 คน ถ้ากรรมการไม่น้อยกว่า 6 คน เห็นว่า เป็นเรื่องด่วนที่ต้องให้ความเห็นชอบ ก็ให้เป็นองค์ประกอบและองค์ประชุมพิจารณาเรื่องด่วนนั้นได้ ซึ่งก็เป็นการผ่อนคลายความเคร่งครัดในเรื่องของจำนวนขององค์ประกอบและองค์ประชุมลงกว่าเดิม


 


จะเห็นได้ว่าบทบาทและหน้าที่ของศาลปกครองได้มีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามและให้ความสนใจ ไม่จำเพาะแต่ผู้ที่อยู่ในวงการนักกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน เพราะไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งเราก็อาจจะต้องมีโอกาสใช้สิทธิทางศาลปกครองบ้างเช่นกัน


 


 


 


 


--------------------------------- 


หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 มกราคม 2551


 


 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net