Skip to main content
sharethis

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเชีย (AFIC)


Email: info@afic.org


 


 


1.เมลามีนคืออะไร


เมลามีนเป็นสารเคมีในอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบสูง ใช้ในการทำพลาสติก, กาว และไวท์บอร์ด กรณีเหตุการณ์ในประเทศจีนเมื่อเร็วๆนี้เกิดจากผู้ผลิตที่ไม่คำนึงถึงศีลธรรม และต้องการปกปิดโดยการนำน้ำนมไปเจือจางกับน้ำ จึงนำเมลามีนมาปนเปื้อนเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในนมเนื่องจากเมลามีนมีไนโตรเจนสูง เมื่อทดสอบออกมาจะแสดงค่าว่ามีปริมาณโปรตีนได้ตามมาตรฐาน การได้รับทราบรายงานว่ามีการกระทำเช่นนี้ในจีนทำให้เกิดความกังวลขึ้นอย่างกว้างขวางในเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่ใช้นมและผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตจากประเทศจีน


 


 


2. เมลามีนไม่ปลอดภัยหรือ?


โดยตัวของเมลามีนเอง หากเปรียบเทียบกับสารตัวอื่นแล้วมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณต่ำ จากการศึกษาในสัตว์ , เชื่อกันว่าเมลามีนไม่ใช่สาเหตุของโรคมะเร็งหรือการเกิดความพิการต่อทารกแรกเกิด การใช้เมลามีนในปริมาณที่สูงมากๆสามารถมีผลกระทบต่อกระเพาะปัสสาวะแต่ไม่มีผลกระทบต่อไตเมื่อมองจากการศึกษาที่ได้ในสัตว์ เมื่อรวมเมลามีนกับสารเคมีที่สัมพันธ์กันคือ กรดไซยานูริค (cyanuric acid) ส่วนผสมที่ได้สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตและพิษต่อไตได้


 


 


3. เมลามีนปนเปื้อนในอาหารได้อย่างไร?


กาวและพลาสติกที่มีส่วนผสมของเมลามีนเมื่อสัมผัสกับอาหารจะส่งผ่านเมลามีนไปยังอาหาร ระดับการปนเปื้อนลักษณะนี้ต่ำมาก เป็นระดับที่ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้ค่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์กรในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา


 


 


4. เมลามีนผสมอยู่ในนมผงทารกประเทศจีนได้อย่างไร?


ไม่นานมานี้ พบว่านมจากประเทศจีนมีการเติมเมลามีนและสารเคมีที่เกี่ยวข้องลงไปอย่างแนบเนียนและผิดกฎหมายเพื่อพยายามปกปิดความจริงว่านมถูกทำให้เจือจางด้วยน้ำ ในสถานการณ์เช่นนี้เป็นไปได้ว่าเมลามีนที่เติมลงไปในนมนั้นยังมีกรดไซยานูริค (cyanuric acid) ซึ่งเป็นสารปนเปื้อนด้วย การรวมตัวกันของเมลามีนและกรดไซยานูริคในระดับสูงทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงดังเห็นได้จากเด็กๆในประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อทารกและเด็กเล็กๆที่ต้องพึ่งพาอาศัยสารอาหารจากนมเป็นหลัก


 


 


5. มีการพบเมลามีนในระดับที่ไม่ปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหารอื่นไหม?


ในปี 2550 พบว่ามีการปนเปื้อนเมลามีนในโปรตีนข้าวสาลีและโปรตีนข้าวที่ส่งออกมาจากจีนและใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐอเมริกา เป็นผลให้สุนัขและแมวตายเป็นจำนวนมากเนื่องจากไตวาย


 


 


6. รายงานบอกว่า มีการตรวจพบเมลามีนในอาหารจานโปรดด้วย ควรกังวลหรือไม่?


หากคุณอยู่ในวัยผู้ใหญ่คงไม่ต้องกังวลอะไร ตราบใดที่ปริมาณเมลามีนบริสุทธิ์ซึ่งร่างกายรับเข้าไปอยู่ต่ำกว่าค่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์กรด้านสุขภาพ อาทิ ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (FSANZ), ยุโรป (EFSA) และสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งถูกกำหนดไว้ที่ 2.5 ppm (parts per million) มีความหมายว่า เมลามีน 2.5 ส่วนต่อเผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดล้านส่วน ยกเว้นในนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ดังนั้นคุณสามารถพิจารณาได้ว่าอาหารที่มีเมลามีนไม่เกิน 2.5 ppm ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์


 


สำหรับนมและนมผงดัดแปลงสำหรับทารก องค์กรส่วนมากใช้ค่าเกณฑ์เมลามีน 1 ppm (parts per million)


 


 


7. ในกรณีที่อาจรับประทานผลิตภัณฑ์นมบางชนิดที่ปนเปื้อนเมลามีนไปแล้ว ควรทำอย่างไร?


ความเสี่ยงที่เกิดผลกระทบอันเป็นอันตรายต่อร่างกายขึ้นอยู่กับปริมาณเมลามีนที่บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนมากที่ผลิตในประเทศจีนมีส่วนประกอบของนมผงซึ่งได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าไม่มีการตรวจพบเมลามีนหรือระดับเมลามีนอยู่ภายใต้ค่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่ยอมรับกันทั่วไป ความเสี่ยงของคุณน้อยมากหากอาหารที่คุณคาดว่ามีเมลามีนเป็นเพียงแค่ส่วนน้อยจากปริมาณอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป


 


หากคุณยังรู้สึกกังวล ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว


 


 


8. ภาครัฐมีการควบคุมเมลามีนในอาหารอย่างไร


คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร (FAO/WHO Codex Alimentarius) หรือหน่วยงานระดับประเทศต่างๆไม่อนุญาตให้มีการเติมเมลามีนลงไปในอาหาร สหรัฐอเมริกาได้กำหนดระดับความปลอดภัยของเมลามีนไว้ในระดับเดียวกับพวกสารเคมีจากกาว และพลาสติกที่อนุญาตให้ใช้สัมผัสกับอาหาร (indirect food additive) นอกจากนี้ยาฆ่าแมลงที่มีส่วนประกอบของสารไซโรมาซีน (cyromazine) สามารถแตกตัวเป็นเมลามีน ซึ่งยาฆ่าแมลงชนิดนี้อยู่ในรายการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าการจงใจปนเปื้อนเมลามีนในอาหารเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เมื่อเร็วๆนี้องค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) เช่นเดียวกับในสหภาพยุโรป, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ สรุปว่าปริมาณเมลามีนในอาหารที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ppm (parts per million)ไม่ควรก่อให้เกิดความกังวลในระบบสาธารณสุข


 


 


9. มีมาตรการอะไรบ้างที่นำมาใช้ในเพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนเหล่านี้ยังมีอยู่ในท้องตลาด?


รัฐบาลแต่ละประเทศทั่วโลกกำลังทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบหรือผลิตภัณฑ์นมจากประเทศจีนและกำลังดำเนินการไม่ให้ทำการขายผลิตภัณฑ์ใดๆที่พบว่าฝ่าฝืนข้อกำหนด


 


บริษัทเอกชนต่างๆได้เพิ่มความพยายามเป็นทวีคูณเพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าของพวกเขาไม่มีการปนเปื้อน และจะดำเนินการทันทีหากพบว่าที่ใดมีการปนเปื้อน


 


 


10. หากต้องการขอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ หรือสอบถามเกี่ยวกับความกังวลด้านสุขภาพ ควรปรึกษาใคร?


คุณควรปรึกษาหน่วยงานทางด้านสุขภาพในพื้นที่ โดยสามารถติดต่อโดยตรงหรือหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ โดย AFIC นำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องแนบตอนท้ายบทความนี้เพื่อที่คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้


 


 


11. "อาหารชนิดหนึ่ง" ถูกพบว่ามีค่าเมลามีน 0.5 ppm (parts per million) และยังได้รับการรับรองให้สามารถขายได้, เกิดอะไรขึ้น?


เมลามีนบริสุทธิ์ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคต้องกังวล ตราบใดปริมาณค่าที่ตรวจพบยังอยู่ภายใต้เกณฑ์ความปลอดภัยที่กำหนด นิวซีแลนด์กำหนดค่าเกณฑ์ความปลอดภัยไว้ที่ 2.5 ppm (parts per million) สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดยกเว้นนมผงดัดแปลงสำหรับทารก องค์กรของยุโรปเสนอเกณฑ์ที่ 2.5 ppm (parts per million)ในอาหารทั่วๆไป สำหรับนมและนมผงดัดแปลงสำหรับทารก องค์กรส่วนมากใช้ค่าเกณฑ์ที่ 1 ppm (parts per million)


 


ความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายขึ้นอยู่กับปริมาณเมลามีนที่บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารส่วนมากที่ผลิตในประเทศจีนมีส่วนประกอบของนมผงซึ่งได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าไม่มีการตรวจพบเมลามีนหรือระดับเมลามีนอยู่ภายใต้ค่าเกณฑ์ความปลอดภัยที่ยอมรับกันทั่วไป


 


 


12. วิธีการทดสอบเมลามีนที่ใช้กันอยู่นี้สามารถให้ความไว้วางใจได้มากเพียงใด?


มีวิธีการทดสอบเมลามีนได้หลายวิธีและความสามารถในการตรวจสอบเมลามีนให้พบในระดับที่น้อยมากๆนั้นมีความยากและปรวนแปรสูง วิธีการตรวจสอบส่วนมากสามารถจำแนกความแตกต่างได้ดีระหว่างเมลามีนในระดับเจือปนที่อันตรายกับระดับต่ำ


 


ค่าของเมลามีนที่ได้รับจากกาวและพลาสติกที่ใช้เป็นภาชนะสัมผัสอาหารอยู่ต่ำกว่าค่าเกณฑ์ความปลอดภัยมาก ซึ่งข้อกำหนดมาตรฐานนี้มาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา


 


 


000


 


ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นอย่างไร:


 


1.องค์การอนามัยโลก (WHO): เหตุการณ์สารเมลามีนปนเปื้อนในประเทศจีน เมื่อกันยายน 2551 และ คำถามและคำตอบเกี่ยวกับเมลามีนMelamine-contamination event, China, September 2008 and Questions and Answers on melamine


 


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจีนเป็นผลจากการจงใจปนเปื้อนนมเจือจางด้วยเมลามีนเพื่อให้ผลทดสอบปริมาณโปรตีนออกมาได้ตามมาตรฐาน


 


เมื่อเมลามีนอยู่รวมกับกรดไซยานูริค (cyanuric acid) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีความเป็นไปได้ที่จะก่อให้เกิดความเป็นพิษ


 


ผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนในจีนถูกพบว่ามีเมลามีนในระดับที่สูงกว่าค่าเกณฑ์ความปลอดภัยมาก โดยค่าเกณฑ์ความปลอดภัยนี้กำหนดโดยสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา


 


"เมลามีนและกรดไซยานูริค: ความเป็นพิษ, การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น และคำแนะนำระดับความปลอดภัยในอาหาร" "Melamine and Cyanuric Acid: Toxicity, Preliminary Risk Assessment and Guidance on Levels in Food."


 


คำแนะนำเบื้องต้นนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยองค์กรระดับประเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับความกังวลด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากเมลามีนที่พบในอาหาร


 


 


2.คณะกรรมการสำนักความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA): EFSA ทำการประเมินความเสี่ยงที่เป็นไปได้จากเมลามีนในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบหลักต่างๆชนิดกันจากประเทศจีน EU (European Food Safety Authority: EFSA): EFSA assesses possible risks related to melamine in composite foods from China


 


ปริมาณที่ผู้ใหญ่บริโภคช็อกโกแลตและขนมปังกรอบที่ทำจากนมผงปนเปื้อนไม่น่ากังวล


 


หากเด็กๆบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในปริมาณเฉลี่ยปกติก็ไม่ควรกังวล ยกเว้นเด็กได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนสูงในปริมาณมากๆ ค่าปนเปื้อนสามารถมากเกินเกณฑ์ความปลอดภัยของสหภาพยุโรป


 


สำหรับเด็กในยุโรปยังไม่มีข้อมูลว่ามีกรณีที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้น


 


 


3.ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์: การประเมินค่าความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์นม และอาหารที่มีส่วนผสมจากนมที่เจือปนด้วยเมลามีน Australia/New Zealand: risk assessment for dairy foods and foods containing dairy based ingredients adulterated with melamine


 


ในนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ระดับเมลามีนมากที่สุด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัมถือว่าเหมาะสม


 


ในอาหารที่ทำจากนมและอาหารที่มีส่วนผสมทำจากนม ระดับเมลามีนมากที่สุด 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัมถือว่าเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ


 


อาหารที่มีส่วนผสมที่ทำจากนม ยกตัวอย่างเช่น ลูกกวาด และขนมปังกรอบ ซึ่งบริโภคกันไม่บ่อยครั้งและการบริโภคอยู่ในปริมาณน้อยๆ ดังนั้นจึงพิจารณาให้เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงน้อยต่อการได้รับเมลามีนในปริมาณสูง ถึงแม้ส่วนผสมนั้นจะมีนมที่ปนเปื้อน


 


4.หน่วยงานด้านการเกษตรและสัตว์แพทย์สิงคโปร์ (AVA): ไม่มีความจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องเกิดความกังวลมากเกินไปในกรณีเมลามีนที่เกิดขึ้น Singapore Agriculture and Veterinary Authority (AVA): Consumers need not to be unduly concerned over melamine incidents


 


เมลามีนที่มีการพบในผลิตภัณฑ์ของสิงคโปร์ไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลใจจนเกินเหตุสำหรับผู้บริโภค


 


ระดับเมลามีนที่มีการตรวจพบในผลิตภัณฑ์ของสิงคโปร์นั้นต่ำกว่าที่พบในนมผงปนเปื้อนของจีนมาก และอยู่ในค่าเกณฑ์ความปลอดภัยซึ่งกำหนดโดยองค์กรอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA)


 


องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States FDA): บทเฉพาะการณ์ การประเมินค่าความปลอดภัย/ความเสี่ยงในเมลามีนและสารในกลุ่มเดียวกัน


 


 


5. United States FDA: Interim Melamine and Analogues Safety/Risk Assessment องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้จัดทำบทเฉพาะการณ์ การประเมินค่าความปลอดภัยในการบริโภคที่เกี่ยวข้องกับเมลามีน มีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้:


 


"องค์การอาหารและยายังไม่สามารถกำหนดระดับใดๆเกี่ยวกับเมลามีน และส่วนผสมที่เกี่ยวข้องกับเมลามีนในนมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่จะไม่สร้างความกังวลในระบบสาธารณสุข"


 


ในผลิตภัณฑ์อาหาร(อื่นๆ), องค์การอาหารและยาสรุปว่าระดับเมลามีนและส่วนผสมที่เกี่ยวกับเมลามีนที่ต่ำกว่า 2.5 ppm (parts per million) ไม่ก่อให้เกิดความกังวล


 


องค์การอาหารและยาอธิบายว่าค่าเกณฑ์ความปลอดภัย 2.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม คำนวณจากค่าปนเปื้อนสูงสุดที่ร่างกายได้รับต่อวันโดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Tolerable Daily Intake : TDI) 0.63 มิลลิกรัม/น้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม


 


 


6.แผนกความปลอดภัยและคุณภาพของอาหาร, กระทรวงสุขภาพมาเลเซีย:


 


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพมาเลเซียกำหนดว่าระดับเมลามีนที่ได้รับอนุญาตในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ใหญ่คือ 2.5 ppm (parts per million) และ 1 ppm (parts per million) ในอาหารเด็ก


 


 


หมายเหตุ


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้ที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านอาหารแห่งเอเชีย www.afic.org


ศูนย์ข้อมูลด้านอาหารแห่งเอเชียเป็นองค์กรทางสังคม ที่ไม่แสวงหาผลกำไร จดทะเบียนโดยประเทศสิงคโปร์ มีพันธกิจเพื่อจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการโภชนาการ สุขอนามัย และความปลอดภัยของอาหารแก่ผู้บริโภคในเอเชีย

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net