Skip to main content
sharethis

6 ส.ค. 54 - ในการประชุมสมัยที่ 60 คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบในการตัดสินใจ 2004/110 ซึ่งได้ตกลงแต่งตั้งผู้รายงานพิเศษ (Special Rapporteur) ด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก โดยเน้นมิติสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมอบให้มีอำนาจเป็นเวลา 3 ปี ในการตัดสินใจดังกล่าว คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ฯ จัดทำรายงานประจำปี พร้อมด้วยข้อเสนอแนะในเรื่องมาตรการที่จำเป็นในการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ คณะกรรมาธิการฯ ได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ฯ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพต่อข้อมูลข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายและผู้เสี่ยงที่จะตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และดำเนินการร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้รายงานพิเศษด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รายงานพิเศษด้านความรุนแรงต่อสตรี ตลอดจนให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ต่อการมีส่วนร่วมของผู้รายงานพิเศษด้านอื่น ๆ ในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯยังได้ขอให้ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้องค์การสหประชาชาติ องค์การระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เสียหายและตัวแทนของผู้เสียหายอีกด้วย ในวันที่ 18 มิถุนายน 2551 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้มีข้อมติ 8/12 ให้ขยายระยะเวลาที่ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ได้รับมอบอำนาจออกไปอีก 3 ปี ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ข้อมติ 17/1 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีก 3 ปี ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้:- ก) ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้า และต่อสถานการณ์ที่สิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าไม่ได้รับการคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการสื่อสารไปยังรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ หรือการออกแถลงการณ์และส่งข่าวแจกไปยังสื่อมวลชน ข) เดินทางไปเยือนประเทศที่มีการค้ามนุษย์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ ณ จุดเริ่ม และคิดค้นข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันและ/หรือปราบปรามการค้ามนุษย์ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้เสียหายในประเทศและ/หรือภูมิภาคใดโดยเฉพาะ ค) จัดทำและเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในระหว่างการรับมอบอำนาจ ชีวประวัติของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์คนปัจจุบัน Ms. Joy Ngozi Ezeilo (ปี 2551 ถึงปัจจุบัน) เป็นชาวไนจีเรีย ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก มาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ปัจจุบันเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน และเป็นศาสตราจารย์ที่ University of Nigeria มีประสบการณ์ทำงานให้แก่รัฐบาลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น เป็นข้าหลวงผู้ทรงเกียรติประจำกระทรวงกิจการสตรีและพัฒนาสังคมของรัฐเอนูกู และเป็นผู้แทนในการประชุมระดับชาติเรื่องการปฏิรูปการเมือง นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กร และมีบทบาทในองค์กรนอกภาครัฐ (NGO) หลายองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิสตรี มีผลงานทางวิชาการหลากหลายด้าน และได้รับการพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง เช่น ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และกฎหมายอิสลาม (Sharia) ในปี 2549 ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติชั้น Officer of the Order of Nigeria เนื่องจากการทำงานในฐานะผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้รายงานพิเศษฯ คนก่อนหน้านี้คือ Ms. Sigma Huda (ชาวบังคลาเทศ) (ปี 2547 – 2551) ขอบเขตของอำนาจที่ได้รับมอบ ดังที่ผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ได้ระบุในรายงานฉบับแรกที่เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ขอบเขตของอำนาจที่ผู้รายงานพิเศษฯ ได้รับมอบนั้น ครอบคลุมทุกรูปแบบและทุกปรากฏการณ์ของการค้ามนุษย์ อันได้แก่ :- (1) การค้าเด็ก ในปัจจุบันเด็กถูกค้าเพื่อจุดประสงค์ทางเพศ เพื่อการรับเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อ เป็นแรงงาน (เช่น ทำงานบ้าน , ดูแลเด็กขณะพ่อแม่ไม่อยู่/เป็นพี่เลี้ยงเด็ก , เป็นขอทาน , กระทำอาชญากรรม เช่น ขายยาเสพติด ฯลฯ) เพื่อเข้าร่วมในกรณีพิพาทที่ใช้อาวุธ คือ เป็นทหารรับจ้าง/ทหารเด็ก และเพื่อเป็นทาสทางเพศ ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่ามีแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้นที่ถูกค้าเพื่อจุดประสงค์ทางเพศ ไม่จริงเสียแล้วในปัจจุบัน เพราะปรากฏการณ์ที่เด็กผู้ชายอายุน้อยถูกค้า และถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศในกิจกรรมที่ไม่น่าสงสัย อย่างเช่น กีฬา เกิดบ่อยขึ้นเรื่อย ๆ (2) การค้าผู้ชายเพื่อเป็นแรงงานที่ถูกบังคับและเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ในลักษณะอื่น ๆ รูปแบบการค้ามนุษย์ลักษณะนี้ยังไม่เป็นที่สนใจมากนัก แต่ความจริงก็คือปรากฏการณ์นี้กำลังลุกลามกว้างขึ้น ผู้ชายและโดยเฉพาะเด็กผู้ชายถูกค้าเพื่อการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในงานก่อสร้าง การเกษตร รวมทั้งการประมงและการทำเหมืองแร่ (3) การค้าผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเพื่อบังคับให้แต่งงาน บังคับให้ค้าประเวณี เพื่อการแสวงหา ประโยชน์ทางเพศ และเพื่อเป็นแรงงานที่ถูกบังคับ (เช่น ทำงานบ้าน , ทำงานในโรงงาน และเหมืองแร่ รวมทั้งเป็นแรงงานในรูปแบบอื่น) เป็นเรื่องเข้าใจได้ว่าปัญหาการค้ามนุษย์เพื่อจุดประสงค์ทางเพศเป็นที่สนใจกันมาก อีกทั้งข้อมูลเรื่องการค้ามนุษย์ที่มีให้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ก็มุ่งไปที่ปัญหานี้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้รายงานพิเศษฯ จะสำรวจตรวจสอบปัญหาการค้าผู้หญิงเพื่อการเอารัดเอาเปรียบแรงงานให้ละเอียดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการใช้แรงงานในครัวเรือนและภาคอื่น ๆ (4) การค้ามนุษย์เพื่อให้ได้อวัยวะ ส่วนของร่างกาย และเนื้อเยื่อของมนุษย์ การแสวงหาข้อเท็จจริงและ สถิติเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในรูปแบบนี้เป็นงานที่ท้าทายมาก แต่ปัญหานี้มีแนวโน้มขยายตัวยิ่งขึ้นท่ามกลางความพร้อมของตลาดสำหรับสินค้าประเภทนี้ ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาปัญหานี้โดยละเอียด เพื่อวางกรอบของการแทรกแซงที่เหมาะสม (5) หลักฐานเดี่ยวกับการค้ามนุษย์ในรูปแบบอื่นนอกจากที่กล่าวมา พบว่ามีอยู่กระจัดกระจาย เช่น การค้ามนุษย์เพื่อการประกอบพิธีกรรม และการค้านักโทษ [1] ภาพรวมโดยสังเขปของมาตรฐานระหว่างประเทศ พิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็ก อันเป็นส่วน พิธีสารฉบับนี้เป็นตราสารทางกฏหมายในระดับระหว่างประเทศ ที่เป็นหลักอ้างอิงสำคัญในการปฏิบัติงานของผู้รายงานพิเศษฯ ทั้งยังเป็นกรอบทางกฎหมายที่สำคัญในการแก้ปัญหาการค้าเด็ก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ประเทศที่เป็นภาคีภายใต้พิธีสารฉบับนี้มีจำนวน 146 ประเทศ นอกจากนี้ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องปฏิบัติงานโดยอิงอยู่กับข้อเสนอแนะเรื่องหลักการและแนวทางว่าสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ (Recommended Principles and Guidelines on Human Rights and Human Trafficking) และเอกสารที่ใช้คู่กันคือ คำอธิบายข้อเสนอแนะเรื่องหลักการและแนวทางว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ (Commentary on the Recommended Principles and Guidelines on Human Rights and Human Trafficking) ที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชน (Office of the High Commissioner for Human Rights) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอแนวทางเชิงนโยบายในวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ และคุ้มครองผู้ถูกค้า ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้มีการบูรณาการมิติของสิทธิมนุษยชนเข้ากับกฏหมาย นโยบาย และการแทกแซงในเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับสากล เนื่องจากการค้ามนุษย์อาจจะเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในขอบเขตที่กว้างขวางมาก ดังนั้นผู้รายงานพิเศษฯ จึงต้องคิดค้นข้อเสนอแนะของตน โดยอ้างอิงถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับสำคัญ ๆ รวมทั้งสนธิสัญญาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ใช้บังคับในปัจจุบันด้วยเช่นกัน รายงานประจำปี รายงานประจำปีฉบับล่าสุดที่ผู้รายงานพิเศษฯ เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (A/HRC/17/35 เสนอเมื่อเดือนมิถุนายน 2554) มีการวิเคราะห์ถึงสิทธิของผู้ถูกค้าที่จะได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล ส่วนรายงานฉบับก่อนหน้านั้น (A/HRC/14/32) เสนอเมื่อเดือนมิถุนายน 2553) ได้เน้นถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค และระดับอนุภูมิภาคในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ผู้รายงานพิเศษฯ ได้เสนอรายงานประจำปีต่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อเดือนตุลาคม 2553 (A/65/288) มีเนื้อหาว่าด้วยการป้องกันการค้ามนุษย์ รายงานประจำปีฉบับต่อไปที่จะเสนอต่อสมัชชาใหญ่ในเดือนตุลาคม 2554 จะเน้นย้ำอีกครั้งถึงสิทธิของผู้ถูกค้าที่จะได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานประจำปีของผู้รายงานพิเศษฯ ที่เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และสมัชชาใหญ่ได้ที่ http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/annual.htm การเยือนประเทศที่มีการค้ามนุษย์ ประเทศที่ไปเยือนแล้ว ปี ประเทศ สัญญลักษณ์ของเอกสาร 2554 อาร์เจนตินา และอุรุกวัย (6-11 กันยายน 2553, 13-17 กันยายน 2553 A/HRC/17/35/Add.4 A/HRC/17/35/Add.3 2554 อียิปต์ (11 - 21 เมษายน 2553 A/HRC/17/35/Add.2 2553 อียิปต์ (11-21 เมษายน 2553) ข้อสังเกตเบื้องต้น A/HRC/14/32/Add.5 2552 ญี่ปุ่น (12 -17 กรกฎาคม 2552) A/HRC/14/32/Add.4 2552 เบลารุส และโปแลนด์ (18 – 29 พฤษภาคม 2552) A/HRC/14/32/Add.2 A/HRC/14/32/Add.2 2550 บาห์เรน , โอมานและการ์ตาร์ (29 ตุลาคม 2549 -12 พฤศจิกายน 2549) A/HRC/4/23/Add.2 2548 เลบานอน (7 -16 กันยายน 2548) E/CN.4/2006/62/Add.3 2548 บอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา (20-28 กุมภาพันธ์ 2548) E/CN.4/2006/62/Add.2 อ่านรายงานการเยือนประเทศต่างๆในตารางได้ที่http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/visits.htm ประเทศที่ได้รับเชิญให้ไปเยือน • มอลโดวา (2554) • ออสเตรเลีย (2554 ตามคำขอไปเยือนของผู้รายงานพิเศษฯ) • สเปน (2553 ตามคำขอไปเยือนของผู้รายงานพิเศษฯ) • แทนซาเนีย (การหารือแบบแลกเปลี่ยนโต้ตอบระหว่างกัน , การประชุม HRC สมัยที่ 10, มีนาคม 2552) • สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UPR สมัยที่ 3, ธันวาคม 2551) • เซเนกัล (2550 ตามคำขอไปเยือนของผู้รายงานพิเศษฯ) • ไทย (มกราคม 2553) ประเทศที่จะไปเยือนเร็ว ๆ นี้ • ไทย (8-19 สิงหาคม 2554) • ออสเตรเลีย (พฤศจิกายน 2554) การร้องทุกข์รายกรณี ผู้รายงานพิเศษฯ มีหน้าที่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้า และต่อสถานการณ์ที่สิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าไม่ได้รับการคุ้มครอง รวมถึงการดำเนินการให้มีการชดใช้อย่างพอเพียงสำหรับการละเมิดที่เกิดขึ้น และดำเนินการเยียวยาด้วยการให้ความช่วยเหลือที่เพียงพอด้านการรักษาพยาบาล ด้านจิตวิทยา สังคม และด้านอื่น ๆ ที่จำเป็น นอกจากนี้ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องดำเนินการทั้งในกรณีที่มีความเป็นไปได้ที่กฏหมายและ/หรือนโยบายใดอาจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกค้าทั้งในประเทศต้นทาง ประเทศส่งผ่าน และประเทศปลายทาง และในกรณีที่ความพยายามที่จะปราบปรามหรือป้องกันการค้ามนุษย์อาจจะมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ย้ายถิ่น ผู้ขอลี้ภัย หรือพลเมืองทั้งหมดของประเทศที่เกี่ยวข้อง อีกประการหนึ่ง ผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อคดีการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศหนึ่ง ๆ (การค้ามนุษย์ในประเทศ) เช่นเดียวกัน ผู้รายงานพิเศษฯ มีหน้าที่ส่งคำร้องเรียนด่วนทันทีที่ได้รับข้อมูลข่าวสารบ่งชี้ว่าในบริบทของการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลกำลังใกล้จะถูกละเมืดสิทธิมนุษยชน หรือกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง คำร้องเรียนด่วนดังกล่าวจะต้องเป็นไปเพื่อมนุษยธรรม ในคำร้องเรียนผู้รายงานพิเศษฯ ต้องเตือนให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น และขอร้องให้รัฐบาลแจ้งแก่ผู้รายงานพิเศษฯ ได้ทราบถึงมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อรับรองว่าสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่เกี่ยวข้องได้รับการเคารพโดยสมบูรณ์ ในกรณีที่ผู้รายงานพิเศษฯได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในบริบทของการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้รายงานพิเศษฯ ต้องส่งหนังสือที่เรียกว่าหนังสือกล่าวหาที่แสดงความกังวล และนำเสนอข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยสรุปไปยังรัฐบาลที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความกระจ่างต่อเรื่องนั้น ๆผู้รายงานพิเศษฯ จะต้องสนับสนุนให้ผู้กระทำการและบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและทุกคนส่งข้อมูลข่าวสารใด ๆ ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ของการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องมาให้แก่ผู้รายงานพิเศษฯ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้รายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็กได้ที่เวบไซต์ของผู้รายงานพิเศษฯ http://www2.ohchr.org/english/issues/trafficking/index.htm ส่งอีเมล์เพื่อติดต่อกับผู้รายงานพิเศษฯ รวมทั้งส่งข้อมูลข่าวสารสำหรับคำร้องเรียนด่วน และหนังสือกล่าวหาไปยังผู้รายงานพิเศษฯ ได้ที่ SRtrafficking@ohchr.org ส่งอีเมล์แจ้งข้อมูลข่าวสารสำหรับคำร้องเรียนด่วน และหนังสือกล่าวหาไปได้ที่ urgent-action@ohchr.org …….. [1] A/HRC/10/16 ย่อหน้าที่ 16 เสริมของอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมองค์การข้ามชาติของสหประชาชาติ ได้นิยามคำว่า “การค้ามนุษย์” ว่าคือ “การสรรหา การขนส่ง การโยกย้าย การให้ที่ซ่อนเร้นแก่หรือรับบุคคล ด้วยวิธีการข่มขู่หรือการใช้กำลังบังคับ วิธีการลักพาตัว การใช้กลฉ้อฉล การหลอกลวง การใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือการใช้สถานะอันเปราะบางของบุคคลไปในทางมิชอบ หรือการให้หรือรับเงิน หรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้รับความยินยอมจากบุคคลหนึ่งผู้มีอำนาจเหนือบุคคลอีกคนหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ของการแสวงหาประโยชน์ การกระทำที่เป็นการแสวงหาประโยชน์ อย่างน้อยที่สุดหมายถึงการแสวงหาประโยชน์ากการค้าประวณีของบุคคลอื่น หรือจากรูปแบบอื่น ๆ ของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การบังคับใช้แรงงาน หรือการบังคับให้ทำงานบริการ การเป็นทาส หรือการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับการเป็นทาส การอยู่ในอำนาจควบคุมของบุคคลอื่น หรือการนำอวัยวะออกจากร่างกายของ บุคคล”

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net