นของรายได้ 12.8838% ของเงินเดือนปีแรก มาเป็นตัวเพิ่มของรายได้ในปีถัด ๆ มา ก็จะได้เงินเดือน ๆ สุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการที่ 150,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 100 เท่า
ตามตารางข้างต้น รายได้ต่อปีก็เพียงคูณด้วย 12 เดือนเข้าไป โดยตั้งสมมติฐานง่าย ๆ ว่ารายได้ทุกบาททุกสตางค์จะไม่ได้นำไปใช้สอยอะไรเลย เช่น รายได้เดือนล่าสุดที่ 150,000 บาท คูณด้วย 12 เดือนก็เป็นเงิน 1,800,000 บาทนั่นเอง ส่วนรายได้ปีแรกเมื่อ พ.ศ.2519 ก็เป็นเงิน 18,000 บาทในปีนั้น
ถ้าเงินเดือนที่ได้ทุกเดือนนำไปฝากธนาคารไว้ โดยสมมติให้มีอัตราดอกเบี้ยประมาณ 8% ต่อปี ทั้งนี้บางช่วงอาจมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่านี้ เช่น ในช่วงปี 2533-2539 แต่ก่อนหน้านี้และในปัจจุบัน ดอกเบี้ยเงินฝากก็ต่ำมาก แต่สมมติให้มีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเท่ากันคือ 8% ทุกปี เงินที่ฝากไว้แต่ละปีก็จะเติบโตขึ้น เช่น เงินเดือน ๆ แรก 1,500 บาท หรือปีละ 18,000 บาท หากฝากธนาคารไว้โดยไม่ได้ใช้เลย ณ อัตราดอกเบี้ย 8% เป็นเวลา 38 ปี ก็จะเป็นเงินถึง 335,255 บาท ณ ค่าปัจจุบัน หรือรายได้เดือนที่ 2 ณ พ.ศ.2520 ก็จะเป็นเงิน 350,415 บาท ณ ค่าปัจจุบัน เป็นต้น
หากเอาเงินจำนวนนี้มารวมกันทั้งหมด ก็จะเป็นเงิน 34,191,338 บาท ซึ่งก็แปลว่า ในระยะเวลา 38 ปีที่รับราชการ หากไม่ใช้เงินสักสตางค์แดงเดียว ข้าราชการทหาร ตำรวจหรือข้าราชการพลเรือนนั้นๆ จะมีทรัพย์หรือความมั่งคั่งตามตัวเลขเท่านี้โดยถือเป็นทรัพย์สูงสุดที่พึงได้ เพราะในความเป็นจริง คงไม่มีใครไม่ใช่สอยอะไรเลย
แต่หากคิดว่าเงินเก็บจริง ๆ 40% ของรายได้สุทธิ ณ ปัจจุบัน ความมั่งคั่งที่สะสมก็น่าจะเป็นเงินเพียง 13,676,535 บาท อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปข้าราชการมักบ่นว่าหลังเกษียณแล้ว ไม่ค่อยมีเงินเหลือเก็บหรือยังต้องอาศัยเงินบำนาญอยู่ไปวันหนึ่ง ๆ
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีเงินมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงต้องถือว่ารวยด้วยกรณีพิเศษ ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการโกง แต่อาจเป็นเพราะ
แสดงความคิดเห็น