Skip to main content
sharethis

ศาลยกฟ้อง 'สกลธี-เสรี-สมบัติ-สนธิญาณ' แกนนำกปปส. คดีกบฏ มั่วสุม สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ระบุไม่เคยปราศรัยในลักษณะเป็นผู้สั่งการ และการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิของจําเลยตามรัฐธรรมนูญ

25 ก.ค.2562 วันนี้ ศาลอาญา มีคำพิพากษายกฟ้อง 4 แกนนำกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในคดีความผิดฐานร่วมกันก่อการกบฏ มั่วสุม สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง ที่มี สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม จำเลยที่ 1 สกลธี ภัทธิยกุล จำเลยที่ 2 สมบัติ ธำรงค์ธัญญาวงศ์ จำเลยที่ 3 และ  เสรี วงษ์มณฑา จำเลยที่ 4

กรณีเมื่อวันที่ 23 พ.ย.56 พวกจำเลยได้ร่วมกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยการชุมนุมทางการเมืองลักษณะเป็นอั้งยี่ ซ่องโจร เพื่อปฏิวัติประชาชนและปฏิวัติประเทศไทยเพื่อกดดันให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นลาออก จำเลยให้การปฏิเสธ และได้รับการประกันตัว

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานตามที่โจทก์และจําเลยทั้ง 4 นําสืบแล้ว เห็นว่า จากพยานหลักฐานที่โจทก์นําสืบ แม้ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า จําเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เป็นแกนนําเคยพา กลุ่มผู้ชุมนุมไปสถานที่ต่างๆ และมีเหตุการณ์นําโซ่คล้องประตู ล็อคกุญแจ ตัดไฟฟ้า ปิดล้อมยัง สถานที่ต่างๆตามฟ้อง หรือขัดขวางเพื่อมิให้ประชาชนเข้าไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่กลับปรากฏจาก พยานหลักฐานโจทก์ว่า จําเลยทั้ง 4 ไม่เคยปราศรัยในลักษณะเป็นผู้สั่งการ หรือร่วมกับผู้เข้าร่วมชุมนุม กระทําการใดๆ ที่เป็นความผิดอาญาตามฟ้อง การที่มีเหตุการณ์ใช้โซ่คล้องประตู ล็อคกุญแจ ตัดไฟฟ้า ปิดล้อมยังสถานที่ต่างๆตามฟ้อง หรือขัดขวางเพื่อมิให้ประชาชนเข้าไปใช้สิทธิเลือกตั้งจึงเป็น การกระทําที่ ถือเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มบุคคลที่กระทําการนั้น ๆ โดยจําเลยทั้ง 4 ไม่ได้มีส่วนร่วมกระทําความผิดนั้นด้วย

ประกอบกับคําสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ 54/2556 ที่ 58/2556 ที่ 59/2556 และที่ 21/2557 ก็มีคําวินิจฉัยว่า การที่กลุ่มของสุเทพ และกปปส. ออกมาชุมนุมคัดค้านเป็นการชุมนุมของ ประชาชนเพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ ผู้ซึ่งกระทําความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ถือเป็นการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน โดยมีเหตุผล สืบเนื่องมาจากการต่อต้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของ รัฐบาล จึงเป็นการใช้สิทธิชอบธรรมตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 61 วรรคหนึ่ง และมาตรา 63 วรรคหนึ่ง ให้การรับรองไว้ การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. จึงเป็นการประชุมทางการเมือง อันเป็นสิทธิของจําเลยทั้ง 4 เช่นเดียวกับประชาชนที่มาเข้าร่วมกับการชุมนุมกับจําเลยทั้ง 4 ถือเป็นการแสดงออกทางเสรีภาพของ ผู้ชุมนุมที่มีความเห็นตรงกันทางการเมือง ย่อมมีสิทธิที่จะมาร่วมชุมนุมกันได้ตามรัฐธรรมนูญ มิใช่การ ชุมนุมเพื่อการกระทําความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า จําเลยทั้ง 4 ร่วมกัน กระทําความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

หมายเหตุ : ประชาไท มีการปรับแก้พาดหัวและเนื้อหาเพิ่มเติม 16.25 น. วันที่ 25 ก.ค.62

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net