Skip to main content
sharethis

ขอให้พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์คดีที่ศาลมีนบุรียกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณี วุฒิ บุญเลิศ นักวิชาการชาวกะเหรี่ยงถูกฟ้องปิดปาก กรณีตรวจสอบการครอบครองพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

 

6 ม.ค.2563 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า วันนี้ ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ วุฒิ บุญเลิศ นักสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงและทนายความ รวมทั้ง สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เดินทางไปยืนหนังสือต่อ กฤษฎา กสานติกุล อัยการผู้เชียวชาญ ขอให้ พนักงานอัยการไม่อุทธรณ์คดี 

เกี่ยวกับคดีนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ วุฒิ บุญเลิศ ในคดีที่ ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร แจ้งความร้องทุกข์ข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา โดย ชัยวัฒน์ อ้างว่าตนเป็นผู้เสียหาย จาก เหตุที่ วุฒิ ได้แชร์ข้อความทางโซเชียลมีเดีย คือ เฟสบุ๊ค ชื่อ wut boonlert ซึ่ง วุฒิ นำข้อความมาจาก เฟสบุ๊คชื่อ สมัคร ดอนนาปี เกี่ยวกับ ไร่ชัยราชพฤกษ์ในเขตป่าสงวน ซึ่งข้อความดังกล่าว วุฒิ ไม่ได้ กล่าวถึงหรือทำให้เข้าใจได้ว่า ชัยวัฒน์  (โจทก์ร่วม) เป็นผู้ครอบครองไร่ชัยราชพฤกษ์ดังกล่าวแต่อย่างใด ชัยวัฒน์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย อีกทั้งเนื้อหาของข้อความก็แสดงให้เห็นถึงเจตนาของ วุฒิ ว่าต้องการให้หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐทำการตรวจสอบกรณีที่มีบุคคลเข้าครอบครองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อสาธารณะ

ต่อมา เมื่อ 18 พ.ย. 62 ศาลอาญามีนบุรี ได้ยกฟ้องนายวุฒิฯเป็นจำเลยที่ 2 ไปแล้วรวมทั้งยกคำร้อง ของโจทก์ร่วม( หรือ ชัยวัฒน์) ที่ให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นคดีหมายเลขแดงที่ อ.5967/2562 

สำหรับ วุฒิ เป็นปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นประธานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทำงานสิทธิมนุษยชนเพื่อชาวกระเหรี่ยงในเขตตะนาวศรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2554 วุฒิ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องคุ้มครองชาวบ้านบางกลอยบน หรือใจแผ่นดิน กรณีชาวบ้านฯถูกนายชัยวัฒน์ฯ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานพา ผู้ใต้บังคับบัญชาของตน เผาทำลายบ้านเรือน  ต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กรมอุทยานแห่งชาติซึ่งเป็น หน่วยงานต้นสังกัดของ ชัยวัฒน์ กับพวก ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ชาวบ้านไปแล้วเมื่อปี 2561  โดยมีความเป็นไปได้ ว่าคดีดังกล่าวมีต้นเหตุสำคัญมาจากที่ ชัยวัฒน์ ไม่พอใจบทบาทของนายวุฒิฯ นำมาสู่การดำเนินคดีอาญาดังกล่าว กับตนเพื่อให้ได้รับความเดือดร้อนยากลำบากในการต่อสู้คดีมาอย่างยาวนานตั้งแต่แจ้งความร้องทุกข์ของ ชัยวัฒน์ ในปี 2557

ต่อมาในเดือนธันวาคม 2562 ชัยวัฒน์ และพวกอีกสามคนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะที่ พอละจี รักจงเจริญหายตัวไปเมื่อปี 2557 ได้ถูกพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษแจ้งข้อหาที่เกี่ยวกับการหายตัวไปของนายพอละจี ขณะนี้ทั้งหมดได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดี

“การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลมีนบุรีของอัยการเจ้าของสำนวนไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแต่ประการ ใด ทั้งยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนความยากลำบากแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายวุฒิฯเป็นชาวบ้านผู้ทำงานใน เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง อันเป็นงานสาธารณประโยชน์ จนกระทั่งเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมได้รับการยกย่องให้ได้รับรางวัล องค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2559”  ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net