Skip to main content
sharethis

ชานันท์ ยอดหงษ์ และภาวิน มาลัยวงศ์ แนะนำบทความ “การขุดค้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็น: โบราณคดีอเมริกันในประเทศไทยที่เป็นอาณานิคมใหม่” โดยมอริซิโอ เปเลจจี แปลโดย  เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ในวารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (2020) (อ่านบทความ)

การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี เมื่อ พ.ศ. 2509 นอกจากเปลี่ยนเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ไทยที่ขยายพ้นกรอบที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ในอีกด้านหนึ่งการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงยังเกิดขึ้นในช่วงที่ไทยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็นโดยเฉพาะสงครามเวียดนาม ซึ่งนอกจากการใช้ไทยเป็นฐานทัพสหรัฐฯ แล้ว ยังรวมทั้งการช่วยเหลือทางวิชาการซึ่งเรื่องหนึ่งก็คือองค์ความรู้ทางโบราณคดี

โดยเฉพาะกรณีบ้านเชียง ที่การขุดค้นและคำอธิบายเริ่มต้นด้วยทฤษฎี “โบราณคดีใหม่” (New Archaeology) แบบสหรัฐอเมริกา ที่ใช้วิธีวิทยาแบบชาติพันธุ์วรรณา มาใช้ในการสร้างตัวแบบอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ ลักษณะสังคม หรือปรากฏการณ์ผ่านหลักฐานโบราณคดี ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ท้าทายทฤษฎีก่อนหน้านี้คือ “โบราณคดีแบบอาณานิคมฝรั่งเศส” (French colonial archaeology) ที่เสนอว่าการพัฒนาทางวัฒนธรรมยุคเริ่มต้นของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเข้าจากเพื่อนบ้านที่ก้าวหน้ากว่าคืออินเดียและจีน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net