Skip to main content
sharethis

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เผยผลสำรวจกลุ่มประชากรตัวอย่างปรารถนาให้ ธนาธร เป็นนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่ง ตามด้วย ทักษิณ และประยุทธ์ และคนไทยยังต้องการ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีอันดับหนึ่ง ตามด้วย แพรทองธาร คนไทยจะเลือก นายก อบจ. ผู้สมัครพรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 

 

17 มิ.ย.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์รายงานวิจัยผ่าน เฟซบุ๊ก 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' ระบุว่า งานวิจัยของตนเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,310 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 8-21 เมษายน 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 127 คน เก็บแบบสอบถามใน 47 จังหวัด 

1.ข้อคำถามว่า “ท่านปรารถนาให้ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด ในวันนี้”

              ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,248 คนตอบคำถามข้อนี้)

              ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ร้อยละ 42.77 (1,818 คน)

              ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 15.92 (676 คน)

              ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอก ร้อยละ 7.85 (333 คน)

              อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 2.86 (121 คน) 

              ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 30.60 (1,300 คน)

ร้อยละเป็นรายภาค

1.เลือก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กรุงเทพฯ ร้อยละ 43.10 ภาคกลาง ร้อยละ 45.10  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 47.90 ภาคเหนือ ร้อยละ 25.30 ภาคใต้ ร้อยละ 37.20 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 40.04

2. เลือก ทักษิณ ชินวัตร กรุงเทพฯ ร้อยละ 14.20 ภาคกลาง ร้อยละ 14.30 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 19.30 ภาคเหนือ ร้อยละ 30.0 ภาคใต้ ร้อยละ 16.60 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 12.90

3. เลือก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พลเอก กรุงเทพฯ ร้อยละ 4.60 ภาคกลาง ร้อยละ 8.40 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.10 ภาคเหนือ ร้อยละ 11.80 ภาคใต้ ร้อยละ 9.70 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 8.30

4. เลือก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรุงเทพฯ ร้อยละ 3.50 ภาคกลาง ร้อยละ 1.90  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3.20 ภาคเหนือ ร้อยละ 5.90 ภาคใต้ ร้อยละ 4.0 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 2.5

2. ข้อคำถามว่า “ท่านปรารถนาให้ใครได้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด ในวันนี้”

              ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,289 คนตอบคำถามข้อนี้)

              พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 58.94 (2,528 คน)

              แพรทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 6.23 (267 คน)

              เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 5.64 (242 คน)

              อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 2.77 (119 คน) 

              พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ร้อยละ 1.75 (75 คน)

              สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 1.49 (64 คน)

              คนอื่นๆ ร้อยละ 4.55 (195 คน)

              ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 18.63 (799 คน)

ร้อยละเป็นรายภาค (เฉพาะ 3 คนแรก)

1.เลือก พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรุงเทพฯ ร้อยละ 57.40 ภาคกลาง ร้อยละ 61.50  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 61.20 ภาคเหนือ ร้อยละ 41.30 ภาคใต้ ร้อยละ 54.80 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 62.50

2. เลือก แพรทองธาร ชินวัตร กรุงเทพฯ ร้อยละ 5.10 ภาคกลาง ร้อยละ 5.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 9.40 ภาคเหนือ ร้อยละ 17.50 ภาคใต้ ร้อยละ 6.70 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 0.40

3. เลือก เศรษฐา ทวีสิน กรุงเทพฯ ร้อยละ 5.0 ภาคกลาง ร้อยละ 5.80 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.30 ภาคเหนือ ร้อยละ 11.10 ภาคใต้ ร้อยละ 6.20 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 0.80

3.ข้อคำถามว่า “พรรคการเมืองที่ท่านจะสนับสนุนในการเลือกตั้งท้องถิ่น นายก อบจ. ครั้งต่อไป”

              ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,305 คนตอบคำถามข้อนี้)

              พรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 (2,530 คน)

              พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 13.59 (585 คน)

              พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.65 (114 คน)

              พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 2.56 (110 คน)

              พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.44 (105 คน) 

              พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.99 (86 คน)

              พรรคอื่นๆ ร้อยละ 1.74 (75 คน)

              เลือกผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 2.42 (104 คน)

              ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 13.84 (596 คน)

ร้อยละเป็นรายภาค

1.เลือก พรรคก้าวไกล กรุงเทพฯ ร้อยละ 60.60 ภาคกลาง ร้อยละ 60.90  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 60.20 ภาคเหนือ ร้อยละ 39.10 ภาคใต้ ร้อยละ 55.50 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 60.0

2. เลือก พรรคเพื่อไทย กรุงเทพฯ ร้อยละ 13.20 ภาคกลาง ร้อยละ 12.70 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.70 ภาคเหนือ ร้อยละ 27.40 ภาคใต้ ร้อยละ 10.90 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 6.70

3. พรรคภูมิใจไทย สูงสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.10 พรรครวมไทยสร้างชาติ สูงสุดที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 3.70 พรรคประชาธิปัตย์ สูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 6.70 พรรคพลังประชารัฐ สูงสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 3.60 

ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม

  • เพศ : หญิง 2,199 คน (51.02%) ชาย 1,891 คน (43.88%) เพศหลากหลาย 220 คน (5.10%)
  • อายุ : Gen Z (18-27 ปี) 2,194 คน (50.90%) Gen Y (28-44 ปี) 902 คน (20.93%) Gen X (45-59 ปี) 789 คน (18.31%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (60 ปีขึ้นไป) 425 คน (9.86%)
  • การศึกษา : ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 461 คน (10.70%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 1,053 คน (24.43%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 493 คน (11.43%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,079 คน (48.24%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 224 คน (5.20%)
  • อาชีพ : นักเรียนนักศึกษา 1,758 คน (40.79%)  เกษตรกร 374 คน (8.68%)  พนักงานเอกชน 457คน (10.60%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 472 คน (10.95%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 480 คน (11.14%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 403 คน (9.35%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 237 คน (5.50%) อื่นๆ 129 คน (2.99%)
  • รายได้ต่อเดือน : ไม่มีรายได้ 958 คน (22.23%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,031 คน (23.92%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,189 คน (27.59%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 611 คน (14.18%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 243 คน (5.64%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 278 คน (6.44%)
สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net