Skip to main content
sharethis

ชวนคุยกับ รศ.ดร.ทศพล ทรรศนพรรณ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหนึ่งในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เกี่ยวกับการสอดส่องออนไลน์ ในโลกยุคอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลแทบทุกอย่างถูกจัดเก็บบนโลกออนไลน์ และอัลกอริทึมที่อาจรู้จักเราดีกว่าตัวเราเอง การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานทั้งโดยรัฐและผู้ให้บริการมีความสำคัญอย่างไร เราอาจถูกจับตาผ่านการพยายามเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้าง

เมื่อการปกป้องความเป็นส่วนตัวถือเป็นสิทธิมนุษยชน แล้วระบบตลาด รวมถึงบริบททางกฎหมายของประเทศไทย ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยป้องกันการสอดส่องประชาชนได้ดีแค่ไหน รวมถึงการที่รัฐใช้เหตุผลด้านความมั่นคงควรมีขอบเขตอยู่ตรงไหน และสังคมที่ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวให้แก่กัน อาจไม่เป็นผลดีต่อความเป็นประชาธิปไตย

ไฮไลต์ "สอดส่องออนไลน์ : เรากำลังถูกจับตาโดยใครบ้าง?"

ใครกำลังสอดส่องเราอยู่บ้าง เมื่อความลับของเราเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน

ในโลกยุคอินเทอร์เน็ตที่ข้อมูลแทบทุกอย่างถูกจัดเก็บบนโลกออนไลน์ และอัลกอริทึมที่อาจรู้จักเราดีกว่าตัวเราเอง การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้งานทั้งโดยรัฐและผู้ให้บริการมีความสำคัญอย่างไร เราอาจถูกจับตาผ่านการพยายามเก็บข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้าง รับชม "สอดส่องออนไลน์ : เรากำลังถูกจับตาโดยใครบ้าง? | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.2

สอดส่องออนไลน์ : เรากำลังถูกจับตาโดยใครบ้าง? | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.2

ใครกำลังสอดส่องเราอยู่บ้าง เมื่อความลับของเราเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน

ทศพลอธิบายว่าโดยปกติแล้วเทคโนโลยีการสื่อสารนั้น ผู้ให้บริการมักจะสามารถเข้าถึงเนื้อหา หรือเส้นทางการส่งข้อมูลได้ตั้งแต่อดีตมาแล้ว เช่นระบบโทรศัพท์ โทรเลข หรือย้อนไปถึงจดหมาย ที่บุรุษไปรษณีย์ก็สามารถรู้ได้ว่าเราส่งจดหมายไปให้ใครบ้าง มายังในยุคดิจิทัลที่ไม่ใช่การส่งเนื้อหาถึงกันโดยตรงเหมือนกับจดหมาย แต่เป็นการส่งเนื้อหาเหล่านั้นผ่านสัญญาณ ถ้าสัญญาณเหล่านั้นไม่มีการถูกเข้ารหัสไว้ ผู้ให้บริการก็จะสามาถเข้าดูเนื้อหาได้

แต่หากผู้ให้บริการที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว จะมีการเข้ารหัสข้อมูลในการสื่อสาร ทำให้เมื่อเนื้อหาของเราที่ส่งออกไป หากถูกบุคคลอื่นเข้าถึงได้ระหว่างทาง จะได้รับข้อมูลที่เป็นรหัสลับไม่สามารถถอดความได้ แม้แต่ตัวผู้ให้บริการเองก็ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหานี้ นอกจากจะมีกุญแจที่สามารถถอดรหัสนี้ได้ ปัญหาในปัจจุบันคือผู้ให้บริการมักร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เพื่อใช้กุญแจเข้าไปดูข้อมูลการสื่อสารของประชาชนบางคน

สิ่งที่ประชาชนในระดับปัจเจกพอจะทำได้ในการปกป้องความเป็นส่วนตัว คือการเรียกร้องให้ผู้ให้บริการใส่รหัสความปลอดภัย เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล แต่ที่ผ่านมาผู้บริโภคเองมักไม่ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวนี้ ชอบที่จะยินยอมให้ข้อมูลกับแพลตฟอร์ม โดยไม่มีการตรวจสอบ ว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นนำข้อมูลส่งต่อไปให้ใครบ้าง ซึ่งมีจำนวนมากเป็นข้อมูลอ่อนไหว เช่นความสัมพันธ์ทางเพศ ประวัติสุขภาพ ความเชื่อทางการเมือง เมื่อข้อมูลเหล่านี้หลุดไปให้รัฐ หรืออาชญากรจะทำให้สามารถเจาะเข้าไปใช้ชักจูงความคิด หรือนำมาใช้ย้อนกลับทำร้าย บีบบังคับเจ้าของข้อมูลได้

ทศพล มองว่าสิ่งที่ประชาชนในระดับปัจเจกพอจะทำได้ในการปกป้องความเป็นส่วนตัว คือการเรียกร้องให้ผู้ให้บริการใส่รหัสความปลอดภัย เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล แต่ที่ผ่านมาผู้บริโภคเองมักไม่ตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวนี้ ชอบที่จะยินยอมให้ข้อมูลกับแพลตฟอร์ม โดยไม่มีการตรวจสอบ ว่าแพลตฟอร์มเหล่านั้นนำข้อมูลส่งต่อไปให้ใครบ้าง ซึ่งมีจำนวนมากเป็นข้อมูลอ่อนไหว เช่นความสัมพันธ์ทางเพศ ประวัติสุขภาพ ความเชื่อทางการเมือง เมื่อข้อมูลเหล่านี้หลุดไปให้รัฐ หรืออาชญากรจะทำให้สามารถเจาะเข้าไปใช้ชักจูงความคิด หรือนำมาใช้ย้อนกลับทำร้าย บีบบังคับเจ้าของข้อมูลได้

“เวลามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เขาจะบอกว่าทุกคนต้องมีสิทธิได้ใช้ประโยชน์จากมัน แต่ผู้ให้บริการจะบอกว่าเมื่อเราให้บริการคุณแล้ว คุณต้องมอบความเป็นส่วนตัวให้กับเรา แล้วเราจะเอาไปทำอะไรก็ได้ แบบนี้ไม่ได้นะครับ” ทศพล อธิบายว่าตามหลักสิทธิมนุษยชน เนื่องจากรัฐนั้นต้องประกันความเป็นส่วนตัวให้กับประชาชนทุกคน ผู้ให้บริการซึ่งเป็นสมาชิกของรัฐ จึงมีหน้าที่ในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้บริการด้วยเช่นกัน

ความสัมพันธ์สามเส้า เรา รัฐ บริษัท ใครกันต้องรับผิดชอบความเป็นส่วนตัวของเรา

ทศพลอธิบายต่อว่า การควบคุมปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลต้องอาศัยความสัมพันธ์ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ผู้บริโภคซึ่งก็คือประชาชน  ผู้ให้บริการหรือบริษัทต่าง ๆ มีหน้าที่ปกป้องข้อมูลของประชาชน และรัฐบาล ที่มีหน้าที่ต้องกำกับตรวจสอบ ให้ผู้ให้บริการต้องปกป้องข้อมูลของประชาชน ประเด็นสำคัญคือจะทำยังไง จะไม่ให้รัฐกับผู้ให้บริการร่วมมือกันมาละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้เท่าทันของประชาชน ที่ต้องเข้าไปบังคับให้รัฐกำกับดูแลบริษัทต่างๆ หรือไปเรียกร้องกับให้เอกชนปกป้องข้อมูลของเราอย่างเต็มที่ แม้จะมีหน่วยงานรัฐที่เข้ามาขอข้อมูลก็ต้องไม่ให้ “การมีบริษัทโทรคมนาคมหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเยอะ ๆ มันเป็นการให้หลักประกันประชาชน ว่าถ้ายี่ห้อหนึ่งไม่ดีคุณย้ายไปใช้ยี่ห้ออื่นที่คุ้มครองสิทธิประชาชนดีกว่าได้”

อีกส่วนหนึ่งที่ประชาชนทำได้ คือต้องร่วมกันเรียกร้องผ่านกลไกลต่างๆอย่าง ฝ่ายตุลากร การผลักดันกฎหมายผ่านฝ่ายนิติบัญญัติ ไปจนถึงเรียกร้องกับองค์กรเฉพาะทางที่ถูกต้องขึ้นมาตามกฎหมาย ซึ่งมีหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์ และวินิจฉัยข้อพิพาทเบื้องต้น

เมื่อย้อนดูตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้น มีการออกแบบไม่ให้องค์กรที่มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และควบคุมเนื้อหา เป็นองค์กรเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าจะเกิดปัญหาเหมือนในปัจจุบัน ทำให้เห็นว่าในเวลานั้นจะมีองค์กร คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กทช. ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ กับองค์กรกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสช.) ที่ทำหน้าที่ควบคุมเนื้อหา แต่เมื่อมีการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่ตามมา จึงมีการรวมหน้าที่ของ 2 อย่างนี้เข้ามาอยู่ในองค์กรเดียวกัน คือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. ทำให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจมาก หากบริษัทไม่คุมเนื้อหาตามที่ต้องการ ก็สามารถพักหรือยุติใบอนุญาตได้ ทำให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ประกอบสูง อาจถูกบังคับโดยรัฐให้เข้าไปแทรกแซงความเป็นส่วนตัวประชาชนได้

กลายเป็นว่าบริษัทที่มีมาตรฐานเรื่องคุ้มครองความเป็นส่วนตัวไม่สามารดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศได้ และการที่ในไทยมีผู้ประกอบเหลือจำนวนน้อยราย หลายคนอาจจะกังวลเรื่องการผูกขาด หรือเรื่องราคาค่าบริการที่เพิ่มสูง แต่ในมุมมองของทศพล กังวลในแง่ที่ว่าจะทำให้ประชาชนไม่ทางเลือกมาก ในการเลือกใช้ผู้ให้บริการที่ปกป้องความเป็นส่วนตัว 
ต่างจากในกรณีของตลาดระบบปฏิบัติการ ที่แม้จะมีผู้ให้บริการจำนวนน้อย อย่าง IOS Android หรือwindow แต่เจ้าของระบบเป็นบริษัทระดับโลก ที่รัฐบาลไทยไม่สามารถบังคับได้ ทำให้เมื่อมีกรณีอย่างที่รัฐบาลไทย ซื้อซอฟท์แวร์ เปกาซัส มาใช้สอดส่องนักกิจกรรมทางการเมือง ทาง Apple จึงกล้าออกมาเตือนผู้ใช้งานให้รู้ได้ในทันที

เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มต่างๆอย่าง Facebook ที่รัฐไทยไม่สามารถจะบังคับเอาข้อมูลได้ แต่แพลตฟอร์มเหล่านั้นเองก็เก็บข้อมูลของเรา เพื่อเรียนรู้ความสนใจของเรา แล้วส่งไปให้กับคู่ค้า เพื่อใช้ในการเลือกเสนอขายสินค้าต่าง ๆ หรือทางแพลตฟอร์มเองก็ใช้เพื่อพยายามจะหาเทรนด์ของผู้ใช้งาน เพื่อจะสร้างบริการใหม่ๆ อย่าง Facebook เริ่มเรียนรู้ว่าผู้ใช้ชอบการโพสต์รูปภาพมากขึ้นจึงมีการซื้อ Instagram

ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ทศพล เห็นว่าการเก็บข้อมูลของแพลตฟอร์มมีปัญหาอยู่หลายอย่าง 

รัฐไม่ควรเก็บข้อมูลประชาชนเกินความจำเป็น ข้ออ้างด้านความมั่นไม่ควรถูกใช้เกลื่อนกลาด

“รัฐเรามีศักยภาพในการแก้ปัญหาไม่ได้ทุกอย่าง เราไม่ใช่ประเทศขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรเยอะเราต้องเลือกว่าปัญหาไหนไฟลุกต้องแก้ก่อน” โดยสิ่งเร่งด่วนที่คณะกรรมการชุดนี้ต้องการจะแก้ คือปัญหาที่ข้อมูลจะองค์กรภาครัฐและเอกชนรั่วไหล ไปอยู่กับกลุ่มอาชญากรรม เป็นต้นตอหนึ่งของปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การหลอกลวงออนไลน์ต่าง ๆ ในช่วงปีแรก ๆจะมีการเข้าไปตรวจดูตามองค์กรต่าง ๆ ว่ามีมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดีพอหรือไม่ 

โดยในก้าวต่อไปจะเป็นการตั้งธงให้ทางองค์กรทั้งรัฐและเอกชนตระหนักรู้ นำเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนมาชูเป็นจุดขาย ซึ่งหน่วยงานรัฐเป็นองค์กรที่ต้องปรับปรุงในเรื่องนี้อย่างมาก “ตั้งแต่สงครามเย็นมีการสะสมข้อมูลประชาชนมาเยอะๆ แล้วยังไม่รู้จะใช้อะไร แค่เผื่อไว้ว่าจะมีใครมาขอ ต้องคิดใหม่ว่าควรเก็บเอาเฉพาะข้อทูลที่ตรงกับจุดประสงค์ของหน่วยงานก็พอ”  เพื่อให้การรักษาข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การที่หน่วยงานรัฐเก็บข้อมูลจำนวนมากเกินความจำเป็นทำให้ยากที่รักษา เพราะจะทำให้มีช่องโหว่มาก จึงควรมีการกำหนดขอบเขตให้หน่วยงานของรัฐเก็บข้อมูลได้เฉพาะตามภาระหน้าที่ของตัวเองเท่านั้น

ในขั้นต่อมาเมื่ออุดช่องโหว่ต่าง ๆในประเทศได้ดีขึ้นแล้ว คณะกรรมการเริ่มคิดถึงแผนงานในระดับต่อไป คือการร่วมมือกับองค์กรระดับชาติอย่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อพูดคุยกับบริษัทระดับโลก ร่วมกับหาแนวทางช่วยไม่ให้ไทย ถูกการโจมตีจากภายนอกประเทศ

ทศพล มองว่าจุดสำคัญคือการหาสุมดลในการเก็บข้อมูลประชาชนของรัฐ หลายกรณีที่รัฐพยายามจะเก็บข้อมูลประชาชนอย่างละเอียด โดยให้เหตุผลว่าเป็นการป้องกันอาชญากรรม แต่กลับไม่สามารถรักษาข้อมูลเหล่านั้นได้ การเก็บข้อมูลจากภาครัฐเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ควรอยู่บนพื้นฐานที่ของความได้สัดส่วน

ซึ่งการใช้เหตุผลความมั่นคงจะเข้าข้อยกเว้นของกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 4 อนุ 2 ว่าด้วยการปราบปราอาชญากรรมและต่อต้านการก่อการร้าย ถ้าใช้กฎหมายในหมวดนี้ไม่จำเป็นต้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัวอย่างเต็มรูปแบบ สามารถเก็บข้อมูลและแชร์ร่วมกันระหว่างองค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้ เพียงแต่มีมาตรฐานขั้นตอนที่จะต้องรักษาความปลอดภัยมั่นคงของข้อมูลเท่านั้น คำถามสำคัญคือหน่วยงานด้านความมั่นงคงเหล่านี้มีมาตรฐานการการเก็บข้อมูลที่ดีพอหรือไม่? 

ซึ่งประชาชนสามารถใช้ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร 2540 เพื่อให้รัฐเปิดเผยว่าดำเนินการต่อข้อมูลส่วนตัวไปอย่างไรบ้าง ซึ่ง พรบ.ฉบับนี้ นี้มีวัตถุประสงค์ให้รัฐมีความโปร่งใส เปิดเผย ไม่ปิดลับ แต่ในทางปฏิบัติกลับตรงกันข้าม รัฐบอกให้ประชาชนว่าถ้าไม่มีความผิด ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไร ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่อรัฐใช้อำนาจที่กระทบต่อสิทธิของปัจจัย รัฐต่อเป็นฝ่ายออกมาเปิดเผยเหตุ เช่นมีความจำเป็นต้องสอดส่องใคร เพราะมีแนวโน้มจะกระทำความผิดตามกฎหมายใดบ้าง

“เราไม่รู้เลยว่าแต่ละครั้งที่เราโดนสอดส่อง เราโดนโดยใช้กฎหมายฉบับไหน มาตราไหนแม้แต่ทนายที่มาช่วยยังไม่รู้เลยว่าต้องใช้มาตราไหน” ซึ่งในไทยมีกฎหมายจำนวนมากว่า 30 ฉบับที่ให้อำนาจรัฐในการสอดส่องในประชาชนกระจายไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่ารัฐใช้อำนาจตามกฎหมายใด กลับกันในต่างประเทศใช้วิธีรวบกฎหมายต่าง ๆที่ให้อำนาจในติดตามสอดส่องประชาชน ให้มาอยู่ในกฎหมายน้อยฉบับมากที่สุด เพื่อจะรู้ว่ารัฐใช้อำนาจตามกฎหมายข้อใด และศาลจะได้ตรวจสอบการใช้อำนาจนี้ได้อย่างถูกต้อง

โดยการใช้อำนาจตุลาการในการฟ้องต่อศาล เป็นแนวทางหนึ่งที่เปิดช่องให้ประชาชนที่ถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว สามารถตรวจสอบการทำงานรัฐได้ หลายการณีในต่างประเทศเมื่อมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น คำพิพากษาออกมาทำให้รัฐต้องปรับวิธีการได้ นอกจากนั้นยังมีกลไกลอื่น ๆอย่างรัฐสภาในการออกฎหมาย หรือการตั้งคณะกรรมการต่างๆ

การให้พื้นที่ส่วนตัวของกันและกัน จะส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยและความแตกต่างหลากหลายในสังคม

ที่ผ่านมารัฐบาลไทยพยายามชวนบริษัทระดับโลก อย่าง Microsoft เข้ามาทำธุรกิจ Data Center ในประเทศไทย ในแง่การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ทศพล มองว่า “นี้เป็นความไฝ่ฝันสูงสุด ในการมี E-government ที่อยากจะมองเห็นให้หมดประชาชนต้องการอะไร กำลังทำอะไร ในแง่ดีคือรัฐบาลจะได้สามารถตอบสนองประชาชนได้ถูก แต่ในในอีกแง่นึงก็อาจจะทำให้สามารถควบคุมได้ ว่าประชาชนกำลังคิดอะไรหรือมีประเด็นอะไรที่จะทิ่มแทงรัฐบาล” ซึ่ง Data center นั้นสามารถมีได้ แต่ประชาชนไม่ควรต้องแลกด้วยข้อมูลที่อ่อนไหว หรือเป็นอันตรายต่อประชาชน ควรเก็บเฉพาะข้อมูลที่เป็นบิ๊กดาต้า (Big data) ข้อมูลเชิงสถิติ เส้นทางการไหลของข้อมูลได้ ซึ่งกฎหมายก็เปิดช่องให้ทำได้ ไม่ใช่ข้อมูลเชิงลึกว่าประชนกำลังสื่อสารเรื่องอะไร ไปจนว่ามีความเชื่อทางศาสนา ทางการเมืองอย่างไร ซึ่งรัฐไม่มีเหตุความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้น

การที่รัฐบาลเก็บข้อมูลที่อ่อนไหวมาจำนวนมาก มีความเสี่ยงทั้งที่จะถูกบุคคลภาพนอกจะขโมยข้อมูลออกไป หรือพนักงานรัฐที่ใช้อำนาจโดยไม่ชอบ หาประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น และต้องคิดไปในอนาคต แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะพยายามสร้าง Data center ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน แต่หากเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ อาจจะไม่คิดเช่นนี้ อาจใช้ข้อมูลที่อ่อนไหวในทางที่ไม่ชอบได้ด้วย

ไม่ใช่แค่การติดตามสอดส่องจากรัฐบาล หรือบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก แต่ในประเทศไทยยังสามารถเห็นเทคโนโลยีการสอดแนมอย่าง จีพีเอสติดรถ ที่คนธรรมดาซื้อขายกันได้ในออนไลน์ “การที่เราปล่อยให้สินค้าเกี่ยวกับการดักฟัง ติดตามตัวพวกนี้ แพร่ไปหมด มันรุนแรงเหมือนการปล่อยให้มีการขายอาวุธ โดยไม่มีการตรวจทะเบียน”

อาจารย์ทศพลยังยกตัวอย่างในระดับโลก ที่นานาชาติออกตั้งคำถามว่าทำใมถึงที่มีการปล่อยให้มีการบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ขายซอฟต์แวร์ที่ใช้สอดส่องประชาชน อย่างเปกาซัสที่รัฐบาลไทยก็ซื้อมาใช้สอดส่องติดตามนักกิจกรรมทางการเมือง เป็นสิ่งถูกต้องหรือไม่ โดยเริ่มมีการครอบคลุมด้วยกลไกลสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งแนวคิดความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับความเป็นรัฐสมัยใหม่ ที่แบ่งเส้นว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นสาธารณะ หรือสิ่งที่เป็นส่วนตัว ซึ่งรัฐจะไม่เข้าไปยุ่ง อย่างเช่นผัวเมียตีกัน เป็นความรุนแรง แม้ว่าจะเกิดในพื้นที่ส่วนตัว รัฐก็มีสิทธิ์เข้ามาจัดการได้เป็นต้น

ในตอนท้ายเขาตั้งข้อสังเกตว่าในสังคมเอเชียอาจจะไม่มีแนวคิดการแบ่งเส้นเหล่านี้ ไม่มีการให้พื้นที่ส่วนตัวซึ่งกันและกัน มีการศึกษาที่พบว่าสังคมที่เป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิผู้อื่น มาจากว่าครอบครัวเคารพความเป็นส่วนตัวเด็กหรือไม่ “เขาพบว่าเด็กนิวเจนที่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนสูง เพราะหลายบ้านพอ 6 ขวบก็ให้มีห้องส่วนตัวแล้ว ทำให้แต่ละรู้สึกเป็นตัวของตัวงเอง ทำให้สังคมมีพลวัต” การให้ความเป็นส่วนตัวในเรื่องทางความคิด ไม่ยุ่งเกี่ยวในตัวตน คววามเชื่อยังเป็นพื้นที่ทำให้ทุกคนมีความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งจะตามมาด้วยการมีความคิดสร้างสรรค์
 

ติดตามรายการมนุษย์ออนไลน์ ปี 2

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net