Skip to main content
sharethis

วานนี้ (10 ธ.ค.) ระหว่างที่นายบันคี-มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ กล่าวเปิดงานวันสิทธิมนุษยชนสากลที่ตึก UN-ESCAP นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้ยื่นหนังสือถึงนายบันคี-มุน เลขาธิการยูเอ็น ที่ตึก UN-ESCAP ชั้น 3 เรียกร้องให้ผลักดันการสร้างบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและพม่า และจับตารัฐบาลไทยออกกฏหมายความมั่นคง ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) โดยเนื้อหาในหนังสือถึงเลขาธิการสหประชาชาติมีดังนี้


 







10 ธันวาคม 2550


เรื่อง ขอให้องค์การสหประชาชาติ(UN) สนับสนุนและผลักดันการสร้างบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย/พม่า และจับตารัฐบาลเฉพาะกาลไทยลักไก่ออกกฏหมายความมั่นคงฯ ละเมิดรัฐภาคีกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR.)


เรียน นายบันคี-มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ


ตัวแทนองค์กรภาคสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยขอต้อนรับการมาเยือนประเทศไทยของท่านด้วยความยินดียิ่ง และเป็นโอกาสอันดีที่ท่านได้เดินทางมายังประเทศต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดสันติภาพและการสร้างบรรทัดฐานในสิทธิมนุษยชนร่วมกันของประชาคมโลก


            คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนไทย(NGO.) ที่ประกอบไปด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน(Human Rights Defenders) ปรารถนาให้ท่านผลักดันอย่างสุดความสามารถให้ประเทศพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองไปในทางที่ดีและสันติ เพื่อให้ประเทศพม่าสามารถเอาชนะความยากลำบากและการทนทุกข์ทรมานจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในหลายๆ ด้าน และสนับสนุนกระบวนการที่จะนำมาสู่วิถีประชาธิปไตยอย่างจริงจัง รวมถึงประเทศไทยซึ่งกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคมที่จะถึงนี้


            อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ประเทศไทยได้เว้นวรรค/จำกัดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมาโดยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการประกาศกฏอัยการศึกทั่วประเทศในช่วงแรกและลดพื้นที่ลงมาจนเหลือเพียง 26 จังหวัดทั่วประเทศในขณะนี้ โดยมิได้แจ้งให้แก่รัฐภาคีทราบผ่านทางเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR.) ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีอยู่ และยังไม่มีท่าทีว่าจะประกาศยกเลิกทั้งหมดก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ เพื่อนำประเทศไทยกลับคืนสู่วิถีประชาธิปไตย ในขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนได้เรียกร้องรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง


            เพื่อให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล เพื่อเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการลงหลักปักฐานสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยในอนาคต เราขอให้ท่านผลักดันและสนับสนุนให้รัฐบาลเฉพาะกาลไทย เคารพต่อการเป็นภาคีของประชาคมโลกในด้านสิทธิมนุษยชน และสร้างบรรทัดฐานของสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้น รวมทั้งจับตาและตรวจสอบการพยายามลักไก่ของรัฐบาลเฉพาะกาลไทย ที่จะออกกฏหมายด้านความมั่นคงฯ (ISA.) มาแทนที่กฏอัยการศึก แต่มีเนื้อหาการใช้อำนาจครอบจักรวาลและคุกคามสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ปกติ ไม่ต่างจากการประกาศภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ไม่ปกติแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR.) อย่างถาวรโดยปริยาย


            เราหวังว่า ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ จะสอบถามเรื่องนี้มายังรัฐบาลไทย และสนับสนุนให้รัฐบาลเฉพาะกาลไทยจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ยกเลิกการประกาศกฏอัยการศึกที่เหลืออยู่และยุติการผลักดันกฏหมายความมั่นคง(ISA.) โดยเร็วที่สุด


            นอกจากนี้ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) ขอให้องค์การสหประชาชาติ ประสานงานความร่วมมืออย่างเร่งด่วนกับรัฐบาลไทย คลี่คลายกรณีการอุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนไทยเคยได้ร้องเรียนต่อคณะทำงานด้านคนหายแห่งสหประชาชาติ รวมถึงกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ที่ยังไม่สามารถคลี่คลายได้ในประเทศไทย อันนำมาสู่สถานการณ์แตกร้าวในสังคมไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลับคืนสู่วิถีประชาธิปไตย ที่มีบรรทัดฐานในด้านสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมที่เข้มแข็งและไม่ถูกเลือกปฏิบัติต่อไป.


ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายเมธา มาสขาว)
เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
ผู้แทนเครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชนไทย








December 10, 2007
 
Re:
To call for the UN to support the reinforcement of human rights principle in Burma and Thailand and watch over the Thai military government's attempts to push forward the ISA which not respect ICCPR.


Dear Mr. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations (UN)


            We, the represents of human rights organizations in Thailand, welcome your visiting to Thailand. This is a great opportunity of you to come to other countries in order to support peace and human rights principle of the world community.


            Campaign Committee for Human Rights is a Thai NGO consisting of a number of human rights defenders hope you fully support the peaceful political development and eliminations of poverty and suffering in Burma and Thailand. And to bring the democracy back to our country particularly the 23 December general election in Thailand.


            However, after the 19 September 2006 coup in Thailand, the government has tried to control and limit our human rights in various ways such as the announcement of curfews in many provincial areas which still remains 26 provinces until now. These invasions of human rights of the military government do not respect the international law, ICCPR, which Thailand is a member.


            In order to recover and establish the universal human rights principle in Thailand, we ask you, the secretary-general of UN, to force and encourage the Thai government to respect the international human rights community and to reestablish the universal norm of human rights. Moreover, we ask you to watch over the military government"s announcing authoritarian laws for example they have tried to permanently replace the curfew with Internal Security Act bill (ISA) which help the military and the government capable of legally invading the basic rights of people and international law such as ICCPR. Consequently, the separate line between normal and emergency situations would be blurred under these laws.


            We hope that the UN would be concerning on this issue and would provide supports to the temporary government in order to arrange for the clean, just, standardized and transparent election in this month. Moreover, it is clear that the clean election would not be possible if there remains the curfew in many areas, so hopefully the UN would have as soon as possible to force the government to stop their attempts to push forward ISA.


            In addition, the CCHR would like to ask the UN to provide the support and coordination for the Thai government in order to investigate a case of the disappearance of an activist lawyer, Somchai Nellapaichit, which has taken many years without progress. We hope that our actions would be an important part of bringing-back struggles for the just, not-discriminated and standard principle of human rights in our country and our neighbors.


Yours sincerely
(Mr. Metha Matkhao)
Secretary General, Campaign Committee for Human Rights (CCHR)
Representative of Thai Human Rights Organization Network


 








Member Committee
Campaign Committee for Human Rights - CCHR


Adviser           


Ven.Kittisak Kittisopano   President, Metthathammarak Foundation


Sak Korsangreoang        Former President of Lawyer Council of Thailand


Phibhop Thongchai         Former President of Campaign for Popular Democracy


Vitit Mantaporn              Professor, Chulalongkorn University


Prida Tiesuwan              Committee member, Business for Social Network


Vasan Panit                   National Human Rights Commission


 


Chairperson


Somchai Homla-or          Sec Gen. Human Rights and Development Foundation


 


Secretary-General


Metha Matkhao              Former, Sec Gen. of Student Federation of Thailand


 


Committee                  


Boontan Tansuthepveeravong Director, Amnesty International, Thailand


Angkhana Neelapijit                    President, Thai Working Group on Justice for Peace


Wanwipha Burutrattapan Technician for Social Impact Assessment reseace


Niti Hasan                                  President, Muslim Union Council of Thailand


Sunai Phasuk                             Human Rights Watch, Thailand


Somsri Hananuntasuk                 Director, Asian Network for Free Elections (ANFREL)


Revedee Praseatjareansuk          Former President, NGO-COD


Pornpen Kongkhajornkeat            Thai Coalition for the Protection of Human Rights Defenders


Surichai Wankeaw                      Professor, Chulalongkorn University








List of provinces and districts under martial law
As of 27th November 2007


1. Amnartcharoen - districts of Chanuman and Patum Ratchawongsa


2. Buriram - districts of Nondindan, Bankruad, Pakam and Laharnsai


3. Chantaburi - districts of Khlung, Pong Namron and Soidao


4. Chiang Mai - districts of Chiangdao, Chai Prakarn, Fang, Mae-ai, Wianghaeng and Om-koy


5. Chiang Rai - districts of Khun Tan, Chiangkhong, Terng, Mae Chan, Chiangsaen, Mae Sai, Phaya Mengrai, Wiangkaen and Mae Fa Luang


6. Kanchanaburi - districts of Dan Makamtia, Tongphapum, Saiyoke, Srisawat, Sanklaburi, and Ban Kao subdistrict of Muang


7. Leoi - districts of Chiangkan, Dansai, Ta Li, Nahaew, Pakchom and Pu Rue


8. Mae Hong Son - every district


9. Nan - districts of Chalerm Prakiat, Tungchang, Bo Klue, Pua, Mae Charim and Song Kwae


10. Narathiwat - every district


11. Pattani - every district


12. Payao - Chiangkam district and Pusang subdistrict


13. Petchaburi - districts of Kaeng Krajan and Nong Yaplong


14. Pitsanulok - districts of Chart Trakarn and Nakorn Thai


15. Prachuap Kirikan - Kuiburi"s Sam Kratai and Had Kam subdistricts; Tab Sakae"s Kao lan, Na Hukwang, Huay Yang and Angtong subdistricts; Bang Sapan"s Chai Kasem, Tong Mongkol and Rontong subdistricts; Bang Sapannoi"s Chang Raek and Chairat subdistricts; Pranburi"s Kaochao subdistrict; Samroiyod"s Raikao, Salalai and Silaloi subdistricts; Huahin"s Huay Sadyai subdistrict; Muang"s Kohlak, Klongwan, Huaysai and Ao Noi subdistrict


16. Ranong - districts of Kraburi, Kapur, La-un and Muang"s Saidaeng, Paknam and Ratchkrud subdistricts


17. Satun - districts of Kuandon, Ta Pae, La-ngu and Muang"s Ketri, Klongkud, Malang and Puyu


18. Songkhla - districts of Chana, Thepa, Nathawi, Sadao and Sabayoi


19. Srakaew - districts of Klonghad, Ta Praya, Wang Namyen, Wattana Nakorn, Aranyapratet, Koksung and Wangsomboon


20. Srisaket - districts of Kantalak, Kukan, Kunharn, Benjalak and Pu Singh


21. Surin - districts of Kabcheung, Buached, Panom Dongrak, Sri Narong and Sangka


22. Tak - districts of Tasongyang, Pobpra, Mae Ramad, Mae Sod, Umphang and Wang Chao.


23. Trad - districts of Klong Yai, Bo Rai, Muang, Koh Kud, Koh Chang and Laem Ngob


24. Ubon Ratchathani - districts of Kemrat, Kongchiam, Na Jaluay, Natarn, Namkun, Namyuen, Buntarik, Pibun Mangsaharn, Phosai, Srimuangmai and Sirintor


25. Utaradit - districts of Nampad, Bankok and Faktha


26. Yala - every district

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net