Skip to main content
sharethis

ประชาไท - เครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชีย (ANROAV: Asian Network for the Rights of Occupational Accident Victims) เตรียมยื่นแถลงการณ์ให้แก่รัฐบาล ณ ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 22 เมษายน โดยอ้างถึงเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2551 ที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นโศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติ 54 คนที่ จ.ระนอง เนื่องจากระบบปรับอากาศในรถบรรทุกตู้แช่เข็งที่ลักลอบขนแรงงานข้ามชาติเกิดขัดข้อง จนเป็นเหตุให้มีผู้ขาดอากาศจนเสียชีวิต


 


เนื้อหาในแถลงการณ์ดังกล่าว ประณามการละเมิดต่อชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแรงงานข้ามชาติ และมีข้อเสนอแนะบางประการต่อรัฐบาลไทย นั่นคือการเรียกร้องให้รัฐบาลสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิด  รวมถึงแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติอย่างบูรณาการและเร่งด่วน


 


ตัวแทนของเครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชียจะจัดกิจกรรมประสานงานขึ้นที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เวลา 09.00 น. วันที่ 22 เม.ย.และมีการเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วม ได้ไว้อาลัยให้กับการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติจากพม่า 54 ศพ ต่อจากนั้นจึงเป็นการยื่นหนังสือที่ทำเนียบ


 


ทั้งนี้ มีองค์กรต่างๆ จากทั่วโลกเข้าร่วมลงนามกับแถลงการณ์ฉบับนี้ โดยรายชื่อผู้เข้าร่วมลงนามได้ถูกรวบรวมก่อน เที่ยงคืนของวันที่ 21 เมษายน 2551


 


 






 


แถลงการณ์เครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชีย


(Asian Network for the Rights of Occupational Accident Victims : ANROAV)


ต่อการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติ 54 คนในประเทศไทย


 


ความเป็นมา


 


เมื่อเย็นวันที่ 9 เมษายน 2551 ที่ภาคใต้ของประเทศไทย แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าจำนวน 54 คน ได้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ ขณะที่ซ่อนตัวอยู่ในรถบรรทุกห้องเย็นขนาด 6 เมตร X 2.2 เมตร ที่ปกติใช้เป็นรถห้องเย็นขนส่งอาหารทะเลแช่แข็ง  โดยแรงงานเหล่านี้กำลังลักลอบเข้าไปที่เกาะภูเก็ต ในจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิต 54 คนนั้นเป็นหญิง 37 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 1 คนที่เป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ขวบ และที่เหลืออีก 17 คนเป็นชาย โดยมีเด็กชาย 1 คนรวมอยู่ด้วย  ส่วนแรงงานข้ามชาติซึ่งถูกลักลอบพาเดินทางมาด้วยพาหนะคันเดียวกันนี้แต่รอดชีวิตมาได้มีจำนวน 67 คน โดยในจำนวนนี้มีแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี(แรงงานเด็ก) อยู่ 14 คน และหญิงตั้งครรภ์อีก 1 คน   แรงงานเด็กจำนวน 14 คนนี้ก็ถูกควบคุมตัวแยกจากกลุ่มผู้ใหญ่ที่รอดชีวิตไว้ที่ห้องกักของด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดระนอง  ในขณะที่แรงงานข้ามชาติที่เป็นผู้ใหญ่ 53 คน ถูกนำตัวส่งฟ้องศาลจังหวัดระนองเพื่อดำเนินคดีข้อหาเดินทางเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต (หลบหนีเข้าเมือง) โดยศาลพิพากษาปรับ 2,000 บาท (คิดประมาณ 63 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) ซึ่งนอกจากแรงงานผู้ใหญ่ที่ลักลอบ 4 คน ที่เหลือไม่สามารถจ่ายค่าปรับตามคำพิพากษาของศาลได้ก็จะถูกให้จำคุกเป็นเวลา 10 วันแทนค่าปรับ ซึ่งหลังจากจำคุกเป็นเวลา 10 วัน แรงงานลักลอบที่รอดชีวิตทั้งผู้ใหญ่และเด็กได้ถูกกักกันตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งแรงงานสามารถเข้าถึงทนายหรือบุคคลทั่วไปได้อย่างจำกัด ในขณะที่แรงงานทั้ง 4 คนที่ได้จ่ายค่าปรับก็ยังไม่ทราบแหล่งที่อยู่ ส่วนการจัดการกับแรงงานลักลอบที่ได้ถูกนำตัวกักกันไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก็ยังไม่ชัดเจนเช่นกัน  


 


เครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชีย (Asian Network for the Rights of Occupational Accident Victims: ANROAV) ซึ่งเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนานาชาติสวัสดิการสังคม สหประชาชาติ ขอประณามรัฐบาลไทยอย่างรุนแรงที่ได้เกิดเหตุการณ์การเสียชีวิตของกลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่พยายามแสวงหาโอกาสการมีงานทำในประเทศไทย ซึ่งเป็นข่าวไปทั่วโลกขณะนี้


 


พวกเราในฐานะเครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชีย (ANROAV) รู้สึกชิงชังต่อสถาพการทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในประเทศพม่า ซึ่งเป็นสาเหตุให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากต้องลักลอบเดินทางอย่างผิดกฎหมายเพื่อแสวงหาโอกาสการมีงานทำ และการมีชีวิตอยู่รอดได้  ทั้งนี้พวกเรารู้สึกโศกเศร้าต่อการสูญเสียชีวิตของบุคคลในวัยทำงานจำนวนมากเหล่านี้ พร้อมทั้งขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว และญาติพี่น้องของแรงงานเหล่านั้น  พวกเราจะถือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสูงสุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่า แรงงานข้ามชาติทีเดินมาแสวงหาโอกาสการทำงานและอิสรภาพจากการกดขี่จะสามารถกระทำได้อย่างปลอดภัยและถูกต้อง


 


พวกเราขอยืนยันให้มีการดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา และขอเรียกร้องให้สื่อมวลชนทั่วโลกช่วยกันติดตามและรายงานข่าวเหตุการณ์ดังกล่าวในทุกแง่ทุกมุมอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด  พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย และรัฐบาลทหารพม่าสร้างความมั่นใจว่าจะมีการนำตัวผู้กระทำความผิดมาพิจารณาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม  ซึ่งมิใช่แค่เพียงพนักงานขับรถบรรทุกห้องเย็นคันดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบุคคลผู้กระทำความผิดซึ่งส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตของแรงงานเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าแก๊งขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งพวกเราเชื่อมั่นว่าจะเชื่อมโยงไปถึงบุคคลทั้งในส่วนของกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐทั้งชาวไทยและพม่า  นอกจากนั้นพวกเราขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดหาทนายความที่ปฏิบัติวิชาชีพอย่างเป็นอิสระ อาทิ ทนายความจากสภาทนายความเพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือเหยื่อจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย


 


พวกเราเห็นว่า การตั้งข้อหาดำเนินคดีซึ่งนำไปสู่การลงโทษ ทั้งโดยการจำและปรับแรงงานข้ามชาติ ซึ่งตกเป็นผู้ที่เสียหายจากกระบวนการค้ามนุษย์นี้เป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังขัดกับหลักคำสอนของศาสนาพุทธซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยด้วย การกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าอับอายของประเทศชาติ และพวกเราหวังว่า ประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ในการกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ตลอดจนกลุ่มมิจฉาชีพที่หากินกับกระบวนการดังกล่าวให้หมดสิ้นไป


 


เหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติในลักษณะนี้มิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แม้ว่าการรสูญเสียครั้งใหญ่นี้จะเรียกร้องความสนใจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้จับตามองการดำเนินการของประเทศไทยและประเทศพม่าก็ตาม  แต่ยังเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ยังแสดงถึงความล้มเหลวเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยและพม่า


 


ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้สร้างสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศพม่าให้เกิดขึ้น แล้วส่งผลให้ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศต้องอพยพหลบหนีภัยความตายทั้งจากภัยต่อบุคคล หรือการแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ การมีงานทำเพื่อให้ชีวิตของตนเองและครอบครัวอยู่รอดได้


 


รัฐบาลทหารพม่ามีประวัติการกระทำที่แสดงออกถึงการขาดความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างยาวนาน ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวได้รวบรวมอย่างเป็นระบบ ทั้งเอกสาร หลักฐานต่างๆ และได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างไปทั่วโลก ที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่ายืนกรานไม่ยอมรับรู้วิกฤติการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในประเทศ นอกจากนั้นยังปฏิเสธที่จะจัดการใดๆ กับปัญหาที่พลเมืองจำนวนมากของตนอพยพไปยังประเทศต่างๆ   ที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันดีว่า มีเจ้าหน้าทีของรัฐบาลทหารพม่าที่หากินกับกระบวนการค้ามนุษย์ การลักลอบนำพาบุคคล ตลอดจนการขนส่งเหยื่อจากการค้ามนุษย์ซึ่งเป็นพลเมืองของประเทศพม่าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ดังเช่นเหตุโศกนาฎกรรม การเสียชีวิตของกลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวพม่าจำนวน 54 คน ในวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา


 


ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็สมควรถูกประณามอย่างรุนแรงเช่นกัน เนื่องจากที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับประโยชน์โดยการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 85 เป็นแรงงานจากประเทศพม่า  แรงงานข้ามชาติถือครองสัดส่วนการจ้างงานประมาณร้อยละ 5 ของภาวะการณ์ทำงานทั้งหมดของประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่อยู่ในกิจการที่เป็นงานอันตราย งานสกปรก และงานที่ไม่มีแรงงานภายในประเทศต้องทำการ อาทิ แรงงานในภาคธุรกิจอาหารทะเล แรงงานการก่อสร้าง แรงงานเกษตรกรรม และแรงงานอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป  ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้รับแรงงานข้ามชาติ มีข้อผูกพันที่จะต้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของแรงงานเหล่านี้ ทั้งในด้านสภาพการทำงาน ตลอดจนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในชีวิต


 


เหตุการณ์การเสียชีวิตของแรงงานชาวพม่าจำนวน 54 คนเมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไทยล้มเหลวในการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างของตนในการคุ้มครองชีวิตของแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลไทยยอมรับว่ามีแรงงานข้ามชาติที่ขึ้นทะเบียนแรงงานเพียงร้อยละ 25 ของแรงงานข้ามชาติทั้งหมดที่อยู่ประเทศไทย แสดงถึงความล้มเหลว และขาดประสิทธิภาพของระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ อันเนื่องมาจากความซับซ้อนและไม่ยืดหยุ่นในการปฏิบัติ  ในขณะที่ตามข้อเท็จจริงแล้ว เศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพิงการนำเข้าแรงงานข้ามชาติจำนวนมากอย่างต่อเนื่องจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลเองกลับสร้างสถานการณ์ซึ่งเป็นอุปสรรคในการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ทำให้แรงงานเหล่านี้ไม่สามารถทำงาน ใช้ชีวิต และเข้าถึงกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  สิ่งต่างๆ เหล่าน้ยืนยันถึงความล้มเหลวของชาติในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ ซึ่งหมายรวมถึงการปล่อยปละละเลยให้มีการลักลอบ ขนย้ายแรงงานข้ามชาติเข้ามาในประเทศหรือภายในประเทศอย่างผิดกฎหมาย


 


เครือข่ายสิทธิของเหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงานแห่งเอเชีย(ANROAV) มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยถึงมาตรการการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งรัฐบาลไทยต้องพยายามคำนึงถึงต้นตอของปัญหาของสถานการณ์การเสียชีวิตของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 54 คน ในวันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา ดังนี้


 


1.รัฐบาลไทยต้องระงับการส่งกลับแรงงานข้ามชาติผู้ตกเป็นเหยือและผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ก่อน จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสมบูรณ์  และเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดครั้งนี้มาพิจารณาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมได้


 


2.รัฐบาลไทยต้องจัดหาทนายความที่มีความเป็นอิสระทางวิชาชีพให้แก่เหยื่อและครอบครัวของผู้เสียชีวิต ตลอดจนการดำเนินการจ่ายค่าชดเชย เยียวยาความเสียหายจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บ และดูแลค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้กับแรงงานข้ามชาติผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ตลอดจนครอบครัว ทายาท และผู้อยู่ในอุปการะของแรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิตโดยเร่งด่วน


 


3.รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการสอบสวนโดยทันที อย่างเปิดเผยและโปร่งใส โดยเฉพาะจำต้องตรวจสอบเกี่ยวกับการเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของบริษัทเอกชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ในการค้ามนุษย์ ตลอดจนการลักลอบ ขนส่งแรงงานข้ามชาติทีอย่างผิดกฎหมาย


 


4. รัฐบาลไทยต้องดำเนินการปรับปรุง ยกเครื่องระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลไทยให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยการร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคม และนายจ้าง  และโดยที่รัฐบาลต้องพยายามสร้างระบบที่เกิดจากการยอมรับว่าแรงงานข้ามชาติมีคุณูปการต่อการสร้างมูลค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ  รัฐบาลต้องยุติการใช้วิสัยทัศน์แบบตื้นๆที่พิจาณาเรื่องแรงงานข้ามชาติจากมุมมองของความมั่นคงของชาติเท่านั้น นอกจากนั้นยังต้องพยายามจำกัดโอกาสมิให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติทั้งจากกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบธุรกิจเอกชน และรัฐบาลทหารพม่าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ามนุษย์ ตลอดจนการลักลอบ ขนส่งแรงงานข้ามชาติอย่างผิดกฎหมาย


 


รัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านต้องร่วมมือกัน โดยร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม นายจ้าง และองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประกันว่า เหตุโศกนาฎกรรมเฉกเช่นการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติจำนวน 54 คนในวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา จะไม่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  กระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่ดีจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายสำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย และในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติทั้งปวงด้วย


 


 


ผู้ที่ร่วมลงนาม




  1. Asian Network for the Rights of Occupational Accident Victims (ANROAV) - Hong Kong, China
  2. Asia Monitoring Resource Centre (AMRC) - Hong Kong, China
  3. Migrant Working Group (MWG) - Bangkok, Thailand
  4. Federation of Trade Unions Burma (FTUB)
  5. Seafarers Union of Burma (SUB)
  6. Hong Kong Federation of Trade Unions - Hong Kong, Thailand
  7. Globalization Monitor - May Wong, Hong Kong, China
  8. ITUC/GUF/HKCTU Hong Kong Liaison Office (IHLO), China
  9. Ziteng - Hong Kong, China
  10. Rohit Prajapati, Swati Desai and Paryavaran Suraksha Samiti - Gujarat, India
  11. Youth for Social Change - Jeny Dolly , Chennai
  12. Union for Civil Liberty - Thailand
  13. Labour Rights Promotion Network (LPN) - Thailand
  14. Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB) - Thailand
  15. Ban Asbestos Network of India (BANI) - Gopal Krishna, India
  16. OSHAID International - John Ninness, Australia
  17. Dr Sean Foley: Environmental and Land Use Adviser - Vientiane Lao PDR
  18. Melody Kemp: Labour Educator and Journalist - Vientiane Lao PDR
  19. Action Network for Migrants - Thailand
  20. Thai Labour Solidarity Committee - Thailand
  21. State Enterprise Workers Relation Confederation Committee (SERC) - Sawit Kaewan, Secretary General, Bangkok, Thailand
  22. Om Noi/Om Yai Workers Area Group - Sangun Khunsont, Bangkok, Thailand
  23. Women Workers Unity Group - Bangkok, Thailand
  24. International Transport Workers" Federation (ITF) - Bangkok, Thailand
  25. Corporate Accountability Desk of The Other Media - Madhumita Dutta, India
  26. Collective for Environmental, Social and Economic Justice - Nityanand Jayaraman, India
  27. Occupational Health and Safety Centre - Dr Murlidhar V, Mumbai, India
  28. Workright Union Hong Kong Trade Union for Rights-Based NGO Workers - Hong Kong, China
  29. Japan Occupational Safety and Health Resource Center (JOSHRC) - Japan
  30. Australia Asia Workers Links - Gwynnyth Evans and Cathy Butcher, Australia
  31. Hazards UK - Rory O"Neill, Professor Occupational and Environmental Health Research Group University of Stirling Scotland, London UK
  32. London Hazards Centre (LHC) - London, UK
  33. Union of Autonomous Trade Unions of Croatia (UATUC), Croatia 
  34. Solidarity for Worker's Health - Seoul, Korea
  35. Sheffield And Rotherham Asbestos Group (SARAG) - Paula Walker, UK
  36. Unison - Dave Knight, UK
  37. Hazards Centre - Danu Roy, Delhi, India
  38. Building and Wood Workers International (BWI) - Jin Sook Lee, South Korea
  39. Building and Wood Workers International (BWI) - Anup Srivastava, Delhi, India
  40. Celeste Monforton MPH, Professor, The George Washington University - United States
  41. Herbert Docena - Phillipines
  42. International Federation of Journalists
  43. International Council on Social Welfare - Denys Correll (Executive Director), Netherlands
  44. Foundation for Labour and Employment Promotion - Poonsap S. Tulaphan, Thailand
  45. Paul Jobin, Assistant Professor University of Paris Diderot - France
  46. Campaign Committee for Human Rights - Thailand
  47. Worker Assistance Center - Philippines
  48. Global Alliance Against Trafficking in Women (GAATW) - Thailand
  49. The Irrawaddy - Sai Silp, Thailand
  50. Building and Wood Workers International (BWI) - Anita Normark, General Secretary, Global
  51. Building and Wood Workers International (BWI) - Fiona Murie, Director OHS, Global
  52. Network Labour North - Chiangmai, Thailand
  53. PAO Magazine - Mr. Thomas, Bangkok, Thailand
  54. R. A. L. G. Thailand - Sugarnta Sookpaita, Prathum Thani, Thailand
  55. Human Rights and Development Foundation, Thailand
  56. Northern Informal Worker Network c/o The Sustainable Alternative Development Association -  Chiang Mai, Thailand
  57. Kevin Hewison, Professor, Department of Asian Studies/Director Carolina Asia Center University of North Carolina - Chapel Hill USA
  58. Maquiladora Health & Safety Support Network - Garrett Brown (MPH, CIH), Coordinator, Berkeley, CA USA
  59. Scottish Hazards Campaign - Scotland, UK
  60. Joan S. Geiger PT MOccH, Ergonomic Consultant ErgoCare - Tel Aviv, Israel
  61. Dennis Arnold, PhD Student University of North Carolina-Chapel Hill - Chapel Hill, USA
  62. Jim Glassman - Vancouver, Canada
  63. Tyrell Haberkorn - Hamilton, New York, USA
  64. Hathairat Suda - Bangkok, Thailand
  65. Anoop Sukumaran - Bangkok, Thailand
  66. Van Thu Ha - Hanoi, Vietnam
  67. Canadian Autoworkers Union (CAW) - Toronto, Canada
  68. Thai Regional Alliance in Hong Kong - Bungon Tamasorn, Hong Kong, China
  69. Thai Volunteer Service  - Jon Ungphakorn, Bangkok, Thailand
  70. Environmental Litigation and Advocacy for the Wants (EnLAW) - Thailand
  71. Centre for Aids Rights - Thailand
  72. Friends of Women Foundation - Thailand
  73. International Campaign for Responsible Technology - Ted Smith, San Jose, California, USA
  74. Mahidol University - Sriprapha Petchararmesree, Bangkok, Thailand
  75. Labour Action China - China
  76. Cross Cultural Foundation - Thailand
  77. Hong Kong Coalition for a Free Burma - Hong Kong, China
  78. Christian Solidarity Worldwide - Hong Kong, China
  79. Asia Pacific Mission for Migrants, Hong Kong
  80. Herbert Docena - Manila, Philippines

 


 


 


 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 


เหตุเกิดในรถตู้คอนเทนเนอร์...แรงงานพม่าขาดอากาศตาย 54 ศพ


กระทรวงแรงงานเล็งชงกรณีพม่าดับคารถห้องเย็น 54 ศพ เข้าที่ประชุม รมต.อาเซียน


แถลงการณ์: "ใครกันแน่ที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมการเสียชีวิตของแรงงานพม่า 54 ราย"


"54 ชีวิตในตู้คอนเทนเนอร์" เอ็นจีโอชี้ สะท้อนรัฐไทยไม่เข้าท่า


ตีแผ่ต้นตอ "โศกนาฏกรรม 54 แรงงานข้ามชาติ" : ห่วงแต่มั่นคง เปิดช่องค้ามนุษย์


รายงาน : 54 ความตายในตู้คอนเทนเนอร์ และอีกมากความตายที่ชายขอบ


 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net