Skip to main content
sharethis

กรุงเทพมหานครปรับสายด่วน 1555  เพิ่มอีก 10 คู่สาย พร้อมตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยระดมคนกวาดถนน วินมอเตอร์ไซคและ อปพร กว่า 4,000 คนจับตาเหตุไม่ปกติ

เว็บไซต์มติชนรายงานว่า นายมนู สิทธิประศาสน์ ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กทม. ว่า กทม.ได้เปิดศูนย์รักษาความปลอดภัย กทม.1555 ที่ศาลาว่าการ กทม.ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป สำหรับ ศรภ.จะเป็นช่องทางในการรับแจ้งเหตุผิดปกติและเหตุเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผ่านสายด่วน กทม.1555 ซึ่งขณะนี้ กทม.มีเจ้าหน้าที่คอยรับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 120 คู่สายขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเตรียมรับมือสถานการณ์ในวันที่26 กุมภาพันธ์นี้ กทม.ได้เพิ่มอีก 10 คู่สาย เพื่อรับแจ้งเหตุผิดปกติโดยเฉพาะจากนั้นจะโอนเรื่องต่อไปยังศูนย์แจ้งเหตุ 191 เพื่อส่งหน่วยเฉพาะกิจ หรือเจ้าหน้าที่ไประงับเหตุ และให้การช่วยเหลือต่อไป นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานประสานกับศูนย์มิสกวัน หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ศูนย์เอราวัณ เป็นต้น นอกจากนี้ กทม.ได้เปิด "เครือข่ายรักษ์กรุงเทพ" โดยจะมีเครือข่ายคนกวาดถนนวินมอเตอร์ไซค์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) กว่า 4,000 คน ร่วมเป็นหูเป็นตาช่วยกันแจ้งข้อมูลที่ผิดปกติด้วย

ด้านแพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวกับเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ถึงการจัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยกรุงเทพมหานครว่า จากการที่ได้ประชุมร่วมกับรัฐบาลเห็นตรงกันว่า เหตุการณ์ที่ไม่ปกติจะเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ เยอะมาก ซึ่งมีประชาชนหลายคนที่อยากจะให้เบาะแส ข้อมูล หรือช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับทางกรุงเทพฯ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติของคนจำนวนมากที่อยู่นอกชุมชน แต่กลับขนย้ายสิ่งของจำนวนมากเข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน

แพทย์หญิงมาลินี กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร จึงขอให้ประชาชนช่วยกันสังเกตพฤติกรรมของคนแปลกหน้าที่เข้ามาในชุมชนที่เรา อาศัยอยู่ ถ้าพบว่าบุคคลดังกล่าวมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย ขอให้รีบแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่หมายเลขโทรศัพท์ 1555 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบว่ามีอะไรผิดปกติตามที่มีการแจ้งเข้ามาหรือ ไม่ ที่สำคัญการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ต้องการให้ประชาชนมีจิตสาธารณที่จะช่วยเหลือ และรักษาความปลอดภัยให้แก่กันและกันมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข

ทั้งนี้ เดิมนั้น กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งศูนย์รับแจ้งทุกข์และภัยเมื่อปี 2539 เพื่อให้บริการประชาชนที่มีปัญหาเดือดร้อนจากภัยต่าง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 1555 ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดรองรับไว้ 10 คู่สายอัตโนมัติ ต่อมา ในปีงบประมาณ 2543 ได้มีการปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ แ ละระบบรับเรื่องร้องทุกข์ในลักษณะ Call Center โดยกองป้องกันฝ่ายพลเรือนกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงาน ในการ ประสานโดยทางโทรศัพท์ โทรสาร บันทึกในระบบโปรแกรมรับเรื่องร้องทุกข์ และส่ง E-mail ไปยังหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานครที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสามารถให้บริการได้ดีระดับหนึ่ง แต่การให้บริการที่ผ่านมายังพบปัญหาและอุปสรรคที่ประชาชนไม่ได้รับความพึงพอใจในการให้บริการอยู่บ้าง เช่น ต้องรอสายเป็นเวลานานหรือแก้ไข ปัญหาให้ไม่ทันกับความต้องการของผู้ร้อง ในปีงบประมาณ 2547 กองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่โดยในส่วนของศูนย์รับแจ้งทุกข์และภัย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์รับแจ้งทุกข์ สังกัดกองกลาง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

และเพื่อให้ประชาชนรู้จักและจดจำได้ง่าย จึงใช้ชื่อ สายด่วน " กทม. 1555" โดยว่าจ้างเอกชนเป็นผู้ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา ซึ่งได้แบ่งประเภทเรื่องร้องทุกข์เป็น 19 ประเภท เช่น ประเภทอาคาร บาทวิถี น้ำท่วม ขยะและสิ่งปฏิกูล ปัญหาจราจร ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ประชาชนสามารถโทรแจ้งเหตุและภัย หรือสอบถามข้อมูล ให้ข้อเสนอแนะ ชมเชยหรือขอบคุณ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุดด้วยโทรศัพท์สายด่วน "กทม. 1555" ซึ่งกรุงเทพมหานครจัด 30 คู่สายอัตโนมัติไว้รอรับปัญหา ซึ่งผู้ว่าฯ กทม.ได้มอบหมายนโยบายให้หน่วยงานรับผิดชอบแก้ไขเรื่องร้องเรียนภายใน 3 วัน ส่วนเรื่องฉุกเฉินให้เร่งแก้ไขปัญหาโดยทันที

ที่มา www.matichon.co.th, www.thairath.co.th
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net