Skip to main content
sharethis

จากการกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แพ้คดีและจะต้องจ่ายค่าโง่ ซึ่งหมายถึงค่าจ้างค้างจ่าย ค่าเสียหายในกรณีต่างๆ รวมถึงค่าปรับและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น แก่บริษัทเอกชน และล่าสุดเมื่อวานนี้ (11 กุมภาพันธ์ 54) นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดี คพ. ได้แถลงข่าวค้านผลการจ่ายค่าโง่คลองด่าน 9,000 ล้านบาท และยังแสดงเจตนาที่จะต้องการเดินหน้าโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านอีก นั้น

นางดาวัลย์ จันทรหัสดี แกนนำชาวบ้านคลองด่านที่ต่อสู้กับโครงการนี้จนกระทั่งรัฐบาลได้สั่งยุติ โครงการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กล่าวแสดงความเห็นต่อคำแถลงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษว่า “เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ คพ. ที่ออกมาคัดค้านและไม่ยอมรับคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ขณะเดียวกันก็เห็นว่า เมื่อ คพ. ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว สิ่งที่ คพ. ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนมี 3 ข้อด้วยก้นเพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียค่าโง่แก่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้โกงกินบ้านเมืองไปแล้วครั้งหนึ่งนั่นคือ

1. คพ. ต้องรีบร้องขอต่อศาลแพ่ง เพื่อให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการภายใน 90 วันตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยนับจากวันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดเรื่องนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554  นั่นหมายถึง คพ. ต้องร้องขอต่อศาลแพ่งไม่เกินวันที่ 12 เมษายน 2554  ข้อสำคัญคือ คพ. จะต้องเอาผลคำตัดสินที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 2 คดีไปประกอบการร้องขอต่อศาลแพ่งคือ 1) คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ซึ่งตัดสินจำคุกนายวัฒนา อัศวเหมเป็นเวลา 10 ปีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 และ 2) คดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดิน ที่ศาลแขวงดุสิตได้ตัดสินไปแล้วโดยสั่งจำคุกจำเลยที่เป็นบุคคลคนละ 3 ปี และสั่งปรับนิติบุคคลรายละ 6000 บาท เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552

2. คพ. ควรนำผลจากคำตัดสินของคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินมาขยายผลเพื่อ ประโยชน์ของประเทศต่อไป ด้วยการนำมาฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินคืนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างหรือ กิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี  เรื่องที่ คพ. ต้องเร่งทำโดยทันทีด้วย ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไป เนื่องจากศาลแขวงได้ตัดสินคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินไปแล้วปีก ว่า

3. ถ้าหาก คพ. ปล่อยเรื่องนี้ให้นานออกไป จะมีผลเสียต่อประเทศมากไปกว่านี้และจะส่งผลให้ คพ. แพ้อุทธรณ์ในคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินที่กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้ยื่นอุทธรณ์อยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ นางดาวัลย์ จันทรหัสดียังมีความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมต่อคำแถลงของนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดี คพ. ที่กล่าวเมื่อวานนี้ (11 กพ. 54) ด้วยว่า คำแถลงของอธิบดี คพ. ที่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ และพฤติกรรมของ คพ. ที่ผ่านๆ มาที่ต้องการฟื้นคืนบ่อบำบัดน้ำเสียมีความขัดแย้งกันเอง  โดยตนรู้สึกว่า คพ. มีเจตนาต้องการเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณะในเรื่องนี้และเตะถ่วงเวลาออกไป เพื่อให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับเกิดขึ้น นั่นคือให้รัฐบาลจ่ายค่าโง่แก่เอกชน เพราะจากการที่ตัวเองได้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และได้ติดตามในส่วนของการต่อสู้คดีความของ คพ. มาอย่างใกล้ชิด มีความเห็นว่า “ที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงความพยายามที่จะให้ฝ่าย คพ. แพ้คดีความทั้งหมด เช่น หลังจากที่ คพ. ประกาศให้สัญญาโครงการคลองด่านเป็นโมฆะและมีการฟ้องร้องคดีตามมา โดย คพ. ได้ว่าจ้างทนายเอกชนมืออาชีพเข้ามาดำเนินการฟ้องร้องบริษัทเป็นคดีอาญาที่ ศาลแขวงฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินเพื่อทำให้คดีความสามารถดำเนินการไป ได้  แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในกระทรวงทร้พย์ฯ เกิดขึ้น  คพ. ก็เปลี่ยนท่าทีและมีความพยายามจากฝ่ายต่างๆ ที่ต้องการให้มีการถอนคดีฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับบุคคลและบริษัทเอกชนที่ฉ้อ โกง เมื่อไม่สามารถถอนคดีได้ก็ใช้วิธีเปลี่ยนตัวทนายความระหว่างไต่สวนคดีแทน ซึ่งการเปลี่ยนตัวทนายระหว่างทางที่คดียังไม่ถึงที่สุดเป็นเรื่องที่ไม่มี ใครทำกัน”

ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ การที่อธิบดี คพ. บอกว่าจะต้องส่งสำเนาคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไปให้กระทรวงการคลัง พิจารณา ว่าถ้าหากกระทรวงการคลังเห็นด้วยและชี้ขาดให้จ่ายเงินแก่เอกชน  คพ. ก็จะยินดีจ่ายเงินตามคำสั่ง ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังในต้นเดือนมีนาคมปีนี้ 

“ดิฉันเห็นว่า หาก คพ. จะรอผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังแล้วค่อยดำเนินการในเรื่องนี้ ดิฉันเห็นว่า มันนานเกินไป” นางดาวัลย์กล่าว และยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงที่มีการต่อสู้คดีกันอยู่ คพ.  มีความพยายามต่างต่างนานาที่จะเอาโครงการกลับคืนมา โดยตัวอธิบดี คพ. คือ คุณสุพัฒน์ ได้เสนอเรื่องไปยังคุณอนงค์วรรณ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยฯ ในสมัยนั้นให้นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติใน หลักการให้สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทกับเอกชนได้ และเพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการทับลง บนลำคลองสาธารณะและที่สาธารณะต่อไปได้จนแล้วเสร็จ

ทั้งนี้นางดาวัลย์ได้กล่าวว่า ความพยายามดังกล่าวของ คพ. ในช่วงที่ผ่านมาจะมีผลทำให้รัฐต้องยอมรับงานก่อสร้างทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดย ที่ไม่สามารถใช้การได้ นอกจากนี้ยังทำให้บริษัทเอกชนเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อสู้คดีความในอนาคต อีกด้วย นางดาวัลย์จึงเรียกร้องให้ คพ ต้องหยุดพฤติกรรมการเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างเกี่ยวกับโครงการบ่อ บำบัดน้ำเสียคลองด่านได้แล้ว

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net