Skip to main content
sharethis

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เนื่องในโอกาสวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปีเป็น \วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก\" หรือ World Press Freedom Day โดยในปีนี้ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและองค์กรเครือข่ายส่งเสริมสิทธิสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ร่วมกันจัดงานวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก โดยช่วงเช้านายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และนายเสด็จ บุนนาค อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบเข็มกลัดที่ระลึกและเสื้อยืดวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก พร้อมยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล จากนั้น ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการยืนไว้อาลัยแก่สื่อมวลชนที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ก่อนมีการแถลงการณ์เนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก นายชวรงค์ กล่าวว่า วันสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนโลก มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนรับรู้ถึงปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนทั่วโลก จากการที่สื่อในหลายประเทศถูกเซ็นเซอร์ ถูกข่มขู่ ทำร้าย สังหาร ทั้งนี้จากการเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นข้อเรียกร้องนั้น ถือเป็นโอกาสสำคัญในการย้ำเตือนภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่มีต่อสื่อ ในการจรรโลงไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของสื่อ และย้ำเตือนถึงหน้าที่สื่อเองว่า ปฏิบัติตรงตามหลักจริยธรรมหรือไม่ รวมทั้งหน้าที่ของประชาชนในการตรวจสอบการทำงานของสื่อ ให้ช่วยกันทำหน้าที่บนความรับผิดชอบ นายกสมาคมนักข่าวฯ กล่าวด้วยว่า จากการปรึกษานายกรัฐมนตรีกรณีความพยายามจะแก้ไขความผิดเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายฝ่ายกังวลจะเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมทั้งเสรีภาพในการสื่อสารมากขึ้นนั้น นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะไม่มีการเสนอร่างแก้ไขในสมัยรัฐบาลนี้ โดยจะให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ ISP และกลุ่มที่ให้บริการรับฝากเว็บไซต์ (web Hosting) เป็นต้น \"ส่วนเรื่องที่เร่งรัดให้หน่วยงานรัฐ ที่ครอบครองคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปฏิรูปตัวเองให้ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยเรื่องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่จะมีการฟ้องร้องศาลปกครองกันซึ่งจะทำให้กระบวนการสรรหาล่าช้า\" ขณะที่นายวิสุทธิ์ กล่าวถึงแถลงการณ์ข้อเสนอเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลกต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 5 ข้อ ได้แก่ 1.เรียกร้องให้สื่อมวลชนประเภทต่างๆ ตระหนักถึงการทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ 2.การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในสถานการณ์ความขัดแย้ง สื่อมวลชนไม่ควรถูกแทรกแซงจากภาครัฐ กลุ่มอิทธิพล รวมถึงกลุ่มทุน 3.เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ มีความจริงใจในการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ โดยเฉพาะวุฒิสภา ต้องดำเนินการสรรหา กสทช.อย่างโปร่งใส 4.รัฐบาลต้องยุติการออกกฎหมายที่มีลักษณะจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน โดยเฉพาะร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คอมฯ 5.ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร เปิดใจกว้างรับฟังความเห็นที่หลากหลายจากสื่อมวลชน เป็นกลาง ตรงไปตรงมา โพลชี้จุดที่สื่อต้องปรับ สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศที่มีต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทย จำนวนทั้งสิ้น 1

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net