Skip to main content
sharethis

 

คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าหนัง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กลายเป็นหนังถูกปิดที่คนอ้าแขนรับมากที่สุดในขณะนี้ นี่อาจจะเป็นอีกหมุดหมายสำคัญท่ามกลางความแตกแยกและความไม่สงบอย่างรุนแรงในทางการเมือง ความคิด และความเชื่อของผู้คนในสังคม เพราะแม้แต่คนในแวดวงภาพยนตร์ซึ่งอาจมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ก็ยังเรียกร้อง “เสรีภาพ” สำหรับทุกจุดยืน เพื่อให้สังคมได้มีโอกาสถกเถียงกันด้วยตัวเอง

 

ศาสวัต บุญศรี color:blue">อาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร color:blue">
color:black;mso-themecolor:text1">
ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีเนื้อหามุมมองอย่างไร ภายใต้กรอบคิดไหน ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะห้ามชม คนดูต่างหากคือผู้ตัดสินที่แท้จริงว่าเขาจะเชื่อตามความคิดและเหตุผลที่ผู้ กำกับเสนอมาหรือไม่ การตีตนไปก่อนว่าหนังเรื่องนี้จะนำมาซึ่งความแตกแยกนั้นเป็นการดูถูกคนดู เสียเหลือเกิน

คงเป็นเรื่องยากที่จะให้ 'กองเซนเซอร์' ปรับกระบวนคิดให้เป็นดั่งอารยะ ผมเองอยากสนับสนุนให้มานิตย์และอิ๋ง เค อาศัยช่องทางนิว มีเดีย ในการเผยแพร่ผลงาน หากงานชิ้นนี้ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวันฉายในสื่ออื่นได้ แม้อารมณ์ความรู้สึกจะไม่ได้คล้ายที่ฉายผ่านฟิล์ม ทว่าความคิดของผู้กำกับย่อมไปสู่ผู้ชมได้โดยตรง จากนั้นค่อยเป็นเวลาอันอารยะที่เราจะถกเถียงกันถึงประเด็นในหนังกันด้วย เหตุผลว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร

"I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it"


ธัญสก พันสิทธิวรกุล color:blue"> ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ

เป็นสัปดาห์ที่มีข่าวเกี่ยวเนื่องกันหลายประเด็นน่าสนใจ เพราะต่อจากการแบนหนังเรื่องนี้แล้ว ก็ตามมาด้วย พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา (ที่มีการกำหนดโทษให้จำคุก 5-10ปี และปรับแสนถึงห้าแสนบาท) ตามด้วยพระพุทธรูปปางแม็คโดนัลด์ (ที่เขาว่าเป็นของศิลปินชื่อ Jani Leinonen แต่คนไทยเอามาเป็นประเด็นซัดร้านแดกด่วน โดยไม่ยักมีใครเอะใจว่า ทำไมเขาจึงเสียดสีศาสนากับของกินยี่ห้อนี้) และคำขอโทษของ คำ ผกา (ที่ไม่ยักมีใครสาวต่อ ต่อข่าวลือเรื่องมาเฟียหัวโล้นข่มขู่)

แน่นอนว่าในฐานะคนทำหนัง ผมย่อมไม่เห็นด้วยต่อการเซ็นเซอร์ แล้วก็ยกย่องต่อผู้ใดก็ตามที่ต่อสู้กระบวนการแบนหนังด้วยใจบริสุทธิ์ แม้ว่าโดยส่วนตัว ผมเลือกที่จะทำงานใหม่ ๆ ต่อไป มากกว่าจะมาเสียเวลาสู้กับเรื่องอะไรแบบนี้ เพราะรู้ว่ากระบวนการแบนหนังของประเทศนี้ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตราบเท่าที่ประเทศยังคงอ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เบื้องหลังเป็นเผด็จการ จะเปลี่ยนไปกี่ยุคกี่สมัย เปลี่ยนรัฐบาลเป็นฝ่ายใด ตายแล้วเกิดใหม่(ถ้ามี) ก็ยังคงต้องถูกฝังรากไปเจ็ดชั่วโคตรอยู่ดี (ตอนนี้ผมชักไม่แน่ใจแล้วว่า มีคนเยอะแค่ไหนที่รู้ว่าประเทศอื่นข้างนอกนั่น เขาสามารถก่นด่าพระเจ้า ค้นหาว่าพระเจ้ามีจริงไหม โดยอย่างมากก็มีคนออกมาต่อต้าน หรือหาข้อพิสูจน์โต้แย้ง ทว่าไม่ถึงขั้นล่าแม่มด แขวนคอ ย่างไฟ อย่างศตวรรษที่ 15-17 เหยดดด กี่ร้อยปีแล้ววะ)

ต้องออกตัวก่อนว่า ยังไม่มีโอกาสดูเชคสเปียร์ต้องตาย แต่เคยดูงานเก่า ๆ ของทั้ง มานิต และอิ๋ง เค ก็ต้องยอมรับว่าเปรี้ยวเก๋ท้าทายกระตุกต่อมคิดต่อสังคมได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็น คนกราบหมา (My Teacher Eat Biscuit) ของอิ๋ง ที่ว่าด้วยลัทธิกราบไหว้หมา และมีฉากเสียดสีเรื่องการเสพศพของพระ ที่เคยถูกแบนสมัยบางกอกฟิล์มยุคแรก ๆ(ที่เคยเลือกฉายหนังก้าวหน้ากว่ายุคหลังเยอะเลย) หรืองานชุดพิงค์แมนของมานิต ที่มีมาตั้งแต่ยังไม่มีสีเสื้อ ชมพู เหลือง แดง เขียว ฟ้า สลิ่ม อย่างทุกวันนี้ ก็ถูกตีความจากบริบทบริโภคนิยมกลายเป็นอื่นไป เมื่อความหมายทางสีถูกกำหนดค่าโดยสังคมหลังจากนั้น (ซึ่งต้องขอปรบมือยกย่องในความชาญฉลาดยิ่ง ที่สามารถทำให้สัญญะกลายเป็นเรื่องย้อนแย้งหากมองจากมุมของแต่ละฝ่าย ซึ่งช่างซ้อนทับได้เหมาะเจาะพอดีกับ กรณีสีแดง ในเชคสเปียร์ต้องตาย)

ส่วนที่ไม่แน่ใจนัก คือกรณีมารยาทการเปิดเผยรายชื่อผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ เดาว่านี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการแอบเปิดเผยให้สาธารณะชนได้รับรู้ ซึ่งข้อดีก็คือทำให้เห็นว่าในหมู่ 7 คน ยังมี 3 เสียงที่ไม่ลงลายเซ็นต์(ขอยกย่องความใจกว้างของท่านเช่นกัน แต่ผมก็อยากรู้จริง ๆว่า ถ้าเป็นรัฐบาลชุดที่แล้ว จะมีคนเซ็นต์แบนกี่คนกันหนอ) ทว่าหากผมเป็นกรรมการชุดนี้ก็น่าหนักใจ เพราะประเด็นที่มานิตกับอิ๋งแฉไว้ในบทสัมภาษณ์คมชัดลึกนั้น เรียกได้ว่าเซ็นเซอร์ชุดนี้ต้องตั้งหลักอีกหลายวันกว่าจะหายเป๋ทรุด แล้วออกมาตอบข้อซักถามได้(โชคดีที่ช่วงนี้เป็นวันหยุดยาว) ไม่ว่าจะกรณีเครื่องเพชร หรือสีเสื้อ ซึ่งนัยที่ถูกซ่อนไว้(และไม่ได้ซ่อน)ทั้งจากข่าว หรือบทสัมภาษณ์เอง จงใจชี้ชัดว่า เป็นเพราะรัฐบาลนี้ เป็นสีแดงเลยสั่งแบน ผมกลับเชื่อโดยสนิทใจว่า แม้ว่าท่านจะส่งเซ็นเซอร์ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน หนังก็ยังต้องถูกแบนอยู่ดีนะขอรับ แล้ว คนกราบหมา ก็เคยโดนแบน สมัยประเทศเรามีนายกชื่อ ชวน หลีกภัย ไม่ใช่หรือครับ คนไทยช่างลืมง่าย แม้ว่าจะอ้างว่าได้ผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการไทยเข้มแข็งจากรัฐบาลชุดก่อน(นี่ยังไม่ต้องนับที่มาว่าไทยเข้มแข็งเอาเงินมาแต่ใดและใช้ไปอย่างคุ้มค่าเป็นประโยชน์หรือไม่ แล้วต้องเอาเงินจากส่วนไหนในการคืนเงินกู้) แต่ในเบื้องแรก หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ทุนแม้แต่บาทเดียวจากโครงการนั้นมิใช่หรือครับ จนต้องออกมาต่อสู้กรณีที่ให้งบกับหนังบางเรื่องมากเกินไป เศษเหล่านั้นจึงกระเด็นตกมาถึงหนังจิ๊บ ๆ เรื่องอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเชคสเปียร์ต้องตายนี่ด้วย (หนังที่ได้ทุนและฉายไปแล้วคือ  อีนางเอ๊ยเขยฝรั่ง, คนโขน, ซามูไรอโยธยา ฯลฯ .....เอิ่ม) เกมในครั้งรัฐบาลชุดที่แล้ว ออกมาแก้เกี้ยวด้วยการพิจารณาเพิ่ม และเลือกหนังให้กับหนังที่น่าจะมีปากมีเสียงโต้แย้ง ผมแอบเชียร์ว่าไม่ต้องอายหรอกฮะ ถ้ารัฐบาลนี้จะแก้เกม ด้วยการอนุญาตให้ผ่าน แล้วให้เรทส่งเสริมสนับสนุน อย่างที่ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ขอไป

โดยส่วนตัวผมค่อนข้างจะผิดหวังต่อผู้กำกับเพียงเรื่องเดียวคือ หากดูจากงานก่อน ๆ หรือแม้แต่งานนี้ ก็น่าจะมีวิสัยทัศน์กว้างก้าวหน้าพอตัว แต่ก็ยังตกเป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง" อยู่ดี ซึ่งขอให้ตัวท่านย้อนกลับไปตรวจสอบดูเอาเถิดว่า บรรดารายชื่อที่ลงเพื่อช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กองเซ็นเซอร์ครั้งนี้นั้น ส่วนหนึ่งเขาไม่ฝักใฝ่สีแดงกันหรืออย่างไร.....ประเทศนี้ช่างย้อนแย้ง อย่างไรก็ตาม ผมกลับคิดว่า หากต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำมากกว่า คือการเรียกร้องให้ยกเลิกเรทแบนและเรทส่งเสริม มิเช่นนั้น ก็จะมีเหยื่อรายใหม่ ๆ ไม่สิ้นสุด นะขอรับ...หลานเสรีไทย

 

FILMSICK  นามปากกาของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ color:blue">– คอลัมนิสต์ นิตยสาร Bioscope

ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในที่สุด ระบบเรทติ้งแสนสุขของประเทศนี้ (ที่จัดเรทกันอย่างครื้นเครงด้วยการมี เรท ส. : ส่งเสริม สำหรับบทหนังเชิดชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และ เรท ฉ. :เฉพาะที่สามารถเอามาใช้การส่งเสริมการขายสำหรับหนังบางกลุ่มได้เป็นอย่างดี) ได้คลอดลูกหลานแห่งการแบนทั้งที่ยังจัดเรทออกมาอย่างน่าตื่นเต้นด้วยการสั่งแบน ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ภาพยนตร์โดยคุณ สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือที่รู้จักกันดีในนามอิ๋ง เค หนึ่งในผู้กำกับหญิงไม่กี่คนของประเทศนี้ และหนึ่งในผู้กำกับไม่กี่คนไม่ว่าชายหรือหญิงที่ทำหนังซึ่งท้าทายและกล้าหาญมาตลอดหลายปี ตัวหนังนั้นดัดแปลงมาจากละครของเชคสเปียร์อย่างแมคเบธ โดยผู้สร้างถอดทุกคำจากบทประพันธ์ดั้งเดิมออกมาเป็นภาษาไทยทั้งหมดโดยไม่ตัดทอน และตีความใหม่ผ่านประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย

อีกครั้งที่การแตะต้องสิ่งที่เลยพ้นไปจากความครื้นเครงสนุกสนาน สิ่งที่มีความเป็นการเมืองมากกว่าเรื่องเล่า สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ หรือสิ่งที่เป็นประเด็นที่สังคมสมควรถกเถียง ถูกฆ่าเสียตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สำหรับคุณอิ๋ง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หลายปีก่อน หนัง คนกราบหมา ของเธอก็ไม่เคยได้ฉายไม่ว่าที่ไหนเว้นแต่การจัดฉายกลุ่มเล็กๆ สองสามครั้งเนื่องจากถูกรายงานว่าหนังของเธอนั้นก้าวล่วง เสียดสี เยาะเย้ยบางศาสนา ที่น่าเศร้าคือ คนกราบหมานั้นเป็นหนังเสียดสีสังคมไสยศาสตร์ที่ตลกที่สุด แยบคายที่สุด และสนุกที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่ประเทศไทยเคยมีการสร้างกันมา น่าเสียดายยิ่งที่คนไทยไม่มีโอกาสจะได้ดูมัน

ที่นี่ประเทศไทย ประเทศที่แสวงหาความปรองดองอย่างขะมักเขม้น ประเทศยิ้มสยามที่นิยมสงบสันติ อีกครั้งได้เปิดเผยโฉมหน้าของความสงบสันติของตัวมันเองให้เราได้เห็น นั่นคือการทำลายได้ทุกอย่างเพียงเพื่อความสงบสันติ ความสงบสันติไม่ใช่การแสวงหาข้อตกลงร่วมกันผ่านการถกเถียงฉันมิตร (การถกเถียงในประเทศนี้ไม่ทำให้เกิดมิตร แต่จะทำให้เกิดศัตรูที่เจ้าคิดเจ้าแค้นอย่างยิ่ง) หากคือการปิดปากให้สนิทต่อการถกเถียง และหันมาสนุกสนานกับการซุบซิบนินทา การซ่อนความขัดแย้งไว้ใต้พรมลายกนก เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งจากชาติตระกูล การศึกษา หรือความมีชื่อเสียง ได้รับเกียรติให้ลีลาศบนพรมผืนนั้น

ข้อหา ‘มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ’ จึงไม่ใช่ข้อกล่าวหาที่เกินจินตนาการ หนำซ้ำยังยืนยันความรักสงบสันติอย่างรุนแรงจนเกือบจะเป็นอาการฮิสทีเรียแห่งอาการ ‘ไทยนี้รักสงบ’ เสียด้วยซ้ำ

ตลอดหลายปีที่ความขัดแย้งได้ฝังรากลงในสังคมอย่างถึงแก่น ไม่ได้สอนให้เข้าใจเลยว่า มีแต่การเผชิญหน้าด้วยท่าที่เป็นมิตร การทำความจริงให้ประจักษ์ และการให้ความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราได้รับความสงบอย่างแท้จริง เราสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งร่วมกันได้ง่ายกว่านี้ คือลืมมันไปเสีย การทำความจริงให้ประจักษ์คือการฟื้นฝอยหาตะเข็บ การให้ความยุติธรรมคือการยอมรับว่าก่อนหน้านั้นเราทำผิดพลาด ถึงที่สุด เรา ‘ทำเองก็ได้ง่ายจัง’ ด้วยการไม่พูดถึงมันอีก อีกครั้ง และอีกครั้ง

“มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้ง‘คนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน” -อิ๋ง เค ผู้กำกับ

จากปากคำของผู้กำกับ เป็นที่แน่ชัดว่า ผมน่าจะเป็นหนึ่งในผู้คนที่อยากจะกระโดดลงไปถกเถียงกับหนังอย่างถึงที่สุด อีกครั้งที่ผมอยากจะเขียนยาวๆ ถึงหนังเรื่องนี้ในฐานะหมุดหมายของสังคม รูปแบบของการบันทึกและตีความเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะอยู่ในฝั่งตรงข้ามกับความคิดของผมไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด มีแต่การได้ดูมัน ครุ่นคิดเกี่ยวกับมัน ถกเถียงเกี่ยวกับมันเท่านั้นจึงจะทำให้ผมได้สงบศึกกับมันได้

แต่ไม่มีโอกาสนั้น ……..

ถึงที่สุดผมจึงยังหวังลมๆ แล้งๆ ว่าผมจะได้ดูหนังเรื่องนี้ ถ้าหากมันจะทำให้เกิดความแตกแยก ถ้ามันจะทำให้ผมต้องการจะต่อสู้กับหนัง ก็ไดโปรดให้สิทธิ์ผมในการต่อสู้กับมันด้วยตนเองด้วยเถิด 

(อ่านบทความฉบับเต็มของ FILMSICK ได้ที่นี่)

 

000000000

 



จดหมายเปิดผนึก ล่ารายชื่อหยุดแบนภาพยนตร์ไทย

ที่มา: http://www.shakespearemustdie.com

color:black;mso-themecolor:text1"> 

color:black;mso-themecolor:text1">เรียนทุกท่าน,

color:black;mso-themecolor:text1">ขอเชิญร่วมลงชื่อ หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย ด้วยการเขียนชื่อ mso-themecolor:text1">– ที่อยู่ อาชีพ และความเห็นสั้นๆ(ถ้าต้องการ) ลงบนอีเมล์และส่งกลับมายัง

color:black;mso-themecolor:text1">mekhdeth@gmail.com

color:black;mso-themecolor:text1">โดยเราจะ Print out อีเมล์ของท่านแนบท้ายจดหมายคัดค้านซึ่งจะนำส่งนายกรัฐมนตรีในวัน 17  เมษายนนี้ รบกวนช่วยส่งต่อไปยังเพื่อนๆคนรักหนัง คนรักเสรีภาพ ผู้สนใจจะร่วมลงชื่อด้วยครับ

color:black;mso-themecolor:text1">ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนการรณรงค์ครั้งนี้ ซึ่งมีความหมายกับเรามาก หากเราไม่คัดค้าน ไม่ต่อสู้ในครั้งนี้ การแบนหนังก็ยังคงเกิดขึ้นอีกกับเรื่องต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่าไม่จบสิ้น

color:black;mso-themecolor:text1">ด้วยความนับถือ

color:black;mso-themecolor:text1">มานิต ศรีวานิชภูมิ

color:black;mso-themecolor:text1">ผู้อำนวยการสร้าง mso-themecolor:text1">‘เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">
Dear friends,

You can be part of this appeal to Thailand's Prime Minister Yingluck Shinawatra
by just email your name, address, career and brief comment on the issue (if you want to) to our email address:
mekhdeth@gmail.com
Thank you so much for your kind supports.

Follow here is the content of the open letter:

color:black;mso-themecolor:text1">*********************************

จดหมายเปิดผนึก

หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ
ไม่เป็นประชาธิปไตย

color:black;mso-themecolor:text1">เรียน     

color:black;mso-themecolor:text1">นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร     
ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม
รองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ

color:black;mso-themecolor:text1">                        ด้วยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ ๓ มีมติในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง mso-themecolor:text1">‘เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) ในราชอาณาจักร ด้วยเหตุผลว่า ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๗(๓)

color:black;mso-themecolor:text1">                        คณะ ของข้าพเจ้าอันประกอบไปด้วย ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักวิชาการ นักแสดง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านภาพยนตร์ กลุ่มคนรักหนัง ตลอดจนประชาชนผู้รักเสรีภาพ เห็นว่ามติดังกล่าวคลุมเครือ ครอบจักรวาล ไร้เหตุผลสนับสนุน ถือเป็นมาตรการรุนแรง ขาดความพอดี อันเป็นเหตุให้กระทบต่อ mso-themecolor:text1">“สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแก่ทุกฝ่าย ทั้งผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ชม

color:black;mso-themecolor:text1">                        ทั้งนี้เจตนารมณ์ของ พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ปัจจุบัน เป็น พรบ.ที่ให้ความสำคัญกับระบบการจัดประเภทของภาพยนตร์ mso-themecolor:text1">(Rating) เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แทนพรบ.ภาพยนตร์ฉบับเก่าที่ใช้วิธีแบบเผด็จการคือ ห้ามฉายหรือแบน

color:black;mso-themecolor:text1">                        คณะของข้าพเจ้าจึงขอคัดค้าน ไม่เห็นด้วยต่อมติห้ามฉายภาพยนตร์ไทย เชคสเปียร์ต้องตาย และขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่ง ชาติ โปรดพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และโปรดมีคำสั่งห้ามแบนภาพยนตร์ไทยในอนาคต โดยให้ยึดถือการจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) เป็นหลักปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย

color:black;mso-themecolor:text1">                        อนึ่ง color:black;mso-themecolor:text1">‘เชคสเปียร์ต้องตาย นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สอง ที่ถูกคำสั่งห้ามฉาย ภายใต้พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับปัจจุบัน โดย Insects in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกคำสั่งดังกล่าวใน ปี ๒๕๕๓ ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง

color:black;mso-themecolor:text1">                        จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจาณา

color:black;mso-themecolor:text1">                                                                        ด้วยความนับถือ

color:black;mso-themecolor:text1">------------

Open Letter of Appeal

Stop Banning Thai Films; Stop Obstructing Freedom;
Stop Undemocratic Practices

color:black;mso-themecolor:text1">Addressed to:
Prime Minister Yingluck Shinawatra
Chairperson, National Board of Film and Video
and Minister of Culture Mrs Sukumol Khunpleum
Vice Chair of the National Board of Film and Video

color:black;mso-themecolor:text1">            On April 3rd, 2012, the Film and Video Censorship Board, Third Committee, issued a verdict banning from distribution the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom of Thailand, the reason given being that “the film’s content causes divisiveness among the people of the nation, according to Ministerial Regulation describing types of films 2009, Article 7(3)”

color:black;mso-themecolor:text1">            I and my party, consisting of filmmakers, academics, actors, film professionals, film lovers as well as the general freedom-loving public, believe that the verdict is excessively vague and over-inclusive, unsupported by reason, and as such must be considered an extreme and excessive measure, without moderation, and a severe infringement on everyone’s “constitutionally-guaranteed democratic rights and freedoms” as it infringes on the rights of both filmmakers and their audience.

color:black;mso-themecolor:text1">            The intent of the present Royal Edict on Film and Video of 2009, which instituted the rating system, is to ensure the people’s rights and freedoms, in place of the previous Royal Edict on Film and Video which employed solely the dictatorial measure of banning films.

color:black;mso-themecolor:text1">            Therefore I and my party hereby lodge our disagreement to the banning order on ‘Shakespeare Must Die’, and request that the Prime Minister, in her capacity of Chairperson of the National Board of Film and Video, consider overturning this verdict, and further, to issue an order to forbid the banning of any other Thai film in future, and to use the rating system exclusively, so that there would be an end to this infringement of democratic rights and freedoms.

color:black;mso-themecolor:text1">            ‘Shakespeare Must Die’ is the second Thai film to have been banned under the present Royal Edict on Film and Video, with ‘Insects in the Backyard’ by Thanyavarin Sukhapisit being the first film to have been banned in 2010 after the institution of the rating system.

For your kind consideration.

Respectfully Yours,

color:black;mso-themecolor:text1">            Manit Sriwanichpoom

รายนามผู้ร่วมคัดค้าน mso-themecolor:text1">

List of Co-Complainants:

color:black;mso-themecolor:text1">1. มานิต ศรีวานิชภูมิ : ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">2. สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ : ผู้กำกับภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">3. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ

color:black;mso-themecolor:text1">4. Professor Mark Thornton Burnet : Professor of Shakespeare Studies, Queen's University, UK

color:black;mso-themecolor:text1">5. นิวัติ กองเพียร : นักเขียน

color:black;mso-themecolor:text1">6. สกุล บุญยทัต : นักวิจารณ์วรรณกรรมและอาจารย์คณะอักษรศาตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม

color:black;mso-themecolor:text1">7. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ : นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

color:black;mso-themecolor:text1">8. สุชาติ สวัสดิ์ศรี : ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2554

color:black;mso-themecolor:text1">9. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล : ผู้กำกับภาพยนตร์ รางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2553

color:black;mso-themecolor:text1">10. จักกาย ศิริบุตร : ศิลปิน

color:black;mso-themecolor:text1">11. ชาติชาย ปุยเปีย : ศิลปินศิลปาธร ปี 2549

color:black;mso-themecolor:text1">12. อานิก อัมระนันทน์ : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

color:black;mso-themecolor:text1">13. ดร.ประพนธ์ คำจิ่ม : อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

color:black;mso-themecolor:text1">14. ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ : นักธรรมชาติวิทยา นักเขียน

color:black;mso-themecolor:text1">15. ก้อง ฤทธิ์ดี : สื่อมวลชน

color:black;mso-themecolor:text1">16. นคร โพธิ์ไพโรจน์ : สื่อมวลชน

color:black;mso-themecolor:text1">17. ประดิษฐ ประสาททอง : นักแสดงละครเวที รางวัลศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี2547 กระทรวงวัฒนธรรม

color:black;mso-themecolor:text1">18. แดนอรัญ แสงทอง : ศิลปินศิลปาธร ปี 2553

color:black;mso-themecolor:text1">19. ธาริณี เกรแฮม : นักแสดงนำ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">20. พิศาล พัฒนพีระเดช : นักแสดงนำ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">21. สุขิตา เขมวิลาส : ผู้จัดการกองถ่าย เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">22. อจล ศรีวรรธนะ คิบรับ : ผู้ช่วยผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">23. พิรุณ อนุสุริยา : ผู้ช่วยผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">24. ประยูร ไชยเยศ : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">25. วิสูจน์ ศรีสัจจะลักษณ์ : อาร์ตไดเรคเตอร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">26. ปวีณา ทะไกรเนตร : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">27. น้ำมนต์ จ้อยรักษา : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

color:black;mso-themecolor:text1">28. โรจนินทร์ ลีนะพรพัฒน์ : Creative Director

color:black;mso-themecolor:text1">30. ประวิตร โรจนพฤกษ์ : สื่อมวลชน

color:black;mso-themecolor:text1">31. ดร.พลวัต ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

color:black;mso-themecolor:text1">32. ชญานิน เตียงพิทยากร : นักเขียนอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">33. พิชยะพงศ์ เนียมประพันธ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">34. ก้อนเมฆ ชัชวรัตน์ : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">35. อัครัฐ จึงตระกูล

color:black;mso-themecolor:text1">36. ชาญ พูนทวี : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">37.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">38. พลอยไพลิน เกษมสุข : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">39. วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์ : เขียนหนังสือ อำนวยการสร้างภาพยนตร์

color:black;mso-themecolor:text1">40. ประทุม เข็มวิลาศ : ผู้อำนวยการโรงเรียน (เกษียณ)

color:black;mso-themecolor:text1">41. สนิฎา วงศ์ยงศิลป์

color:black;mso-themecolor:text1">42. ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์ : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">43. วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย : ผู้กำกับ

color:black;mso-themecolor:text1">44. ปรัชญา เรือนเย็น : ช่างภาพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">45. วิสาข์ อัมระนันทน์ : Senior Copywriter

color:black;mso-themecolor:text1">46. จิต โพธิ์แก้ว : นักแปลข่าว

color:black;mso-themecolor:text1">47. สิริกัญญา ชุ่มเย็น : บรรณาธิการสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม/ ธุรกิจส่วนตัว

color:black;mso-themecolor:text1">48. พศุตม์ ลาศุขะ : นักศึกษาปริญญาเอก ที่ School of Cultural Inquiry, The Australian National University (ANU)

color:black;mso-themecolor:text1">49. ศิวัช อ่วมประดิษฐ์ : พนักงานรัฐวิสาหกิจ

color:black;mso-themecolor:text1">50. Chaisiri Jiwarangsan : Artist

color:black;mso-themecolor:text1">51. กัญจน์ฐิมา อัศวสัมฤทธิ์ : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">52. ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ : รับจ้างอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">53. ณัฐพล เหลืองวัฒนไพศาล : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">54. อาศิส บุญมา : ธุรกิจส่วนตัว

color:black;mso-themecolor:text1">55. พรชัย นวการพิศุทธิ์

color:black;mso-themecolor:text1">56. โปรดปราน ระตีพูน : ผู้ตรวจสอบระบบงาน

color:black;mso-themecolor:text1">57. เอื้ออังกูร สันติรงยุทธ : : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">58. ยุคนธร แก้วปราง : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">59. จันทวิภา อภิสุข : นักสังคมสงเคราะห์อิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">60. จุมพล อภิสุข : ศิลปินอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">61. สุภณา โสภณพนิช : สถาปนิก

color:black;mso-themecolor:text1">62. Thomas Fröhlich : Filmmaker and Author in Berlin

color:black;mso-themecolor:text1">63. อุษณีย์ ปานเพ็ชร: นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">64. เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">65. สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ์ : นักศึกษาปริญญาโท

color:black;mso-themecolor:text1">66. ฝนทอง บุญทับทิม : Project Manager

color:black;mso-themecolor:text1">67. บุญรักษา อวยพร : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">68. ปรารถนา ศรีสว่าง : ค้าขาย

color:black;mso-themecolor:text1">69. ศุภยง พันธุมโกมล : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">70. ชลเทพ ณ บางช้าง : ล่าม/นักแปลอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">71. พีรวิชญ์ ช่วงโชติ : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">72. ปัทมา คุ้มพ่วงดี : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">73. อินทิรา วิทยสมบูรณ์ : Social Worker

color:black;mso-themecolor:text1">74. กรรณิกา เจริญชัย : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">75. ศุภวิชญ์ ยอดน้ำคำ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">76. รัฐพงษ์ พิมพ์สุวรรณ : สถาปนิก

color:black;mso-themecolor:text1">77. ไกรวุฒิ จุลพงศธร : นักศึกษาปริญญาโท

color:black;mso-themecolor:text1">78. สุรศักดิ์ ปานกลิ่น

color:black;mso-themecolor:text1">79. สุทธิกิตติ์ วงศ์ศรีรัตน์

color:black;mso-themecolor:text1">80. ณัฐวุฒิ ขุนเจริญ : HR บริษัท PICO (Thailand) PCL.

color:black;mso-themecolor:text1">81. ณัฐณิช ลาภล้นเหลือหลาย

color:black;mso-themecolor:text1">82. นครินทร์ กาขันธ์ : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">83. พีรวุฒิ สำเร็จผล : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">84. พรพรรณ โพธิ์สวัสดิ์ : พนักงานบริษัทเอกชน

color:black;mso-themecolor:text1">85. ธนาวิ โชติประดิษฐ

color:black;mso-themecolor:text1">86. สุริยา โพธิ์เอี่ยม : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">87. พัทธชนก กิติกานันท์ : อาจารย์

color:black;mso-themecolor:text1">88. Olivier Pin-Fat : Photographer

color:black;mso-themecolor:text1">89. วลีรัตน์ เชค เทิดทูนภูภุช : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">90. เชิดชนนี ตันธนวิกรัย : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">91. Win Wessels : Student

color:black;mso-themecolor:text1">92. สุพัตรา ณ นุวงศ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">93. Arnika Fuhrmann : Research Scholar

color:black;mso-themecolor:text1">94. Val McCubbin : Visual Arts Department, New International School of Thailand

color:black;mso-themecolor:text1">95. Liam Morgan : Camera Operator

color:black;mso-themecolor:text1">96. วัฒนา ถิ่นนคร : ประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

color:black;mso-themecolor:text1">97. ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ : บันทึกเสียง

color:black;mso-themecolor:text1">98. ชนม์ ศรีสูงเนิน : ผู้กำกับภาพยนตร์สั้น

color:black;mso-themecolor:text1">99. โสฬส สุขุม : ผู้ควบคุมการผลิตภาพยนตร์อิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">100. ดนยา กนกมณีรัตน์

color:black;mso-themecolor:text1">101. สมชาย ศรานุรักษ์ : รับจ้าง

color:black;mso-themecolor:text1">102. Papat Lau : freelance

color:black;mso-themecolor:text1">103. ภาณุวัฒน์ ศรีขลา : นิสิต

color:black;mso-themecolor:text1">104. นวพล อินสุวรรณ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">105. พีระพัชย์ จาตุกัญญาประทีป : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">106. ปกรณ์ อารีกุล : นักศึกษา/นักกิจกรรมทางสังคม

color:black;mso-themecolor:text1">107. วิเชียร เลิศสุรพิบูล : เกษียณ

color:black;mso-themecolor:text1">108. สุภัทร์ ภู่พานิชเจริญกูล

color:black;mso-themecolor:text1">109. มรกต ปิยะเกศิน

color:black;mso-themecolor:text1">110. เบญจภรณ์ ธรรมาธร : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">111. บุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">112. สุทิศา เฉลิมธนศักดิ์

color:black;mso-themecolor:text1">113. Michael Connors : La Trobe University, Australia

color:black;mso-themecolor:text1">114. CJ Hinke : Retired professor of English Literature

color:black;mso-themecolor:text1">115. อิสรีย์ โพนอินทร์ : เภสัชกร

color:black;mso-themecolor:text1">116. พรนรินทร์ จิรายุเจริญศักดิ์

color:black;mso-themecolor:text1">117. วชิรพล อาลัย

color:black;mso-themecolor:text1">118. อรรถกฤษณ์ มหาเกตุ : วิศวกรโยธา

color:black;mso-themecolor:text1">119. ปฏิพันธ์ ลิมปภาพันธุ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">120. ธัญทิพย์ บุญอำนวยวิทยา : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">121. Alex Zeeh

color:black;mso-themecolor:text1">122. เยาวลักษณ์ กนกมณีรัตน์ mso-themecolor:text1"> : แม่บ้าน

color:black;mso-themecolor:text1">116. มัญชรี นรพัลลภ : แม่บ้าน

color:black;mso-themecolor:text1">117. ชินณะ อินทวงษ์ : Gaffer

color:black;mso-themecolor:text1">118. Sarah Bond

color:black;mso-themecolor:text1">119. อมรรัตน์ กุลประยงค์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">120. Larissa Stillman : Translator / Interpreter

color:black;mso-themecolor:text1">121. ปัญจศักดิ์ บุญงาม : อาชีพรับจ้าง

color:black;mso-themecolor:text1">122. ธิติพงษ์ รอดคำทุย

color:black;mso-themecolor:text1">123. อรอนงค์ อรุณเอก : ผู้ประสานงานโครงการ Volunteer Connex, นักแปลและล่ามอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">124. พฤฒิไกร เศษศรี : เกษตรกร

color:black;mso-themecolor:text1">125. ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">126. หยกภัณฑ์ งามวงษ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">127. ทิพนาถ สุดจิตต์ : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">128. ชนาภัทร พระทาเพชร : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">129. Stephen Albair : Assistant Professor, Las Positas College, Livermore, California, USA

color:black;mso-themecolor:text1">130. เฉลิมพงษ์ พันธุโพธิ์ : Rewriter/ Translator กองบก.บางกอกโพสต์

color:black;mso-themecolor:text1">131. เทวฤทธิ์ มณีฉาย : นักวิจัยอิสระ และ สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

color:black;mso-themecolor:text1">132. อดิศักดิ์ นิธิเมธาโชค : แพทย์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

color:black;mso-themecolor:text1">133. สพลดนัย เชยล้อมขำ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">134. ดวงใจ สุภาพึ่ง : ครู

color:black;mso-themecolor:text1">135. วรเชษฐ์ ลีลาเจริญพร : ช่างภาพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">136. จิรายุ เพ็ชรอำไพ : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">137. พีระพงศ์ แก้วแท้ : อนาคตของชาติ

color:black;mso-themecolor:text1">138. พูนพิพัฒน์ ตั้งคำ : นักเรียน

color:black;mso-themecolor:text1">139. ณภัทร ฐานวาสก์ : นักวิจัยอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">140. ปราโมทย์ ศรอุดม : เทคนิคเชี่ยน

color:black;mso-themecolor:text1">141. กฤษฎ์ พรหมใจรักษ์ : นิสิต

color:black;mso-themecolor:text1">142. รพีพัฒน์ อุทัยพิพัฒนากุล : นิสิต ม.เกษตร

color:black;mso-themecolor:text1">143. อนุสรณ์ ติปยานนท์ : นักเขียน

color:black;mso-themecolor:text1">144. ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย : นักออกแบบแสง/อาจารย์สาขาสื่อสารการแสดง

color:black;mso-themecolor:text1">145. นรุตม์ สูทกวาทิน : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">146. คมลักษณ์ ไชยยะ : ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

color:black;mso-themecolor:text1">147. ชินธิป เอกก้านตรง : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">148. วิชญา พรหมสวัสดิ์ : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">149. พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช : ข้าราชการ

color:black;mso-themecolor:text1">150. นิอร มานะพันธ์โสภี : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">151. ฉัตรสุดา หาญบาง : พนักงานบริษัท

color:black;mso-themecolor:text1">152. สุมิตร ทองพาหุสัจจะ

color:black;mso-themecolor:text1">153. พิทวัส เอื้อวงศ์กูล : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">154. ฝอยฝน ชัยมงคล : นักศึกษาปริญญาเอก

color:black;mso-themecolor:text1">155. ศรุตยา เจริญพรพานิชกุล

color:black;mso-themecolor:text1">156. พุทธพงษ์ จิตรักญาติ : ช่างภาพ

157. Diane Mantzaris : Artist

color:black;mso-themecolor:text1">158. ธัชเวช มารมย์

color:black;mso-themecolor:text1">159. Cattleya Jaruthavee : Photographer

color:black;mso-themecolor:text1">160. พศิน พุฒพึ่งทรัพย์

color:black;mso-themecolor:text1">161. วราศร กิจจำนงค์ : พนักงานรัฐวิสาหกิจ

color:black;mso-themecolor:text1">162. เอนก จงทวีธรรม : อาจารย์

163. พัลลภัทร น้อยธิ : แพทย์แผนปัจจุบัน

color:black;mso-themecolor:text1">164. สิริธร จงทวีธรรม : นักศึกษา

color:black;mso-themecolor:text1">165. อมร แต้อุดมกุล : นักข่าว

color:black;mso-themecolor:text1">166. คัทลียา เผ่าศรีเจริญ : อาชีพอิสระ

color:black;mso-themecolor:text1">167. Bussakorn Lamuthai

color:black;mso-themecolor:text1"> 


ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net