
สถานการณ์เช้าวันจันทร์ กลุ่มคนงานเหมืองกว่า ๓๐๐ คน รวมตัวบริเวณสามแยกปากปวน ปากทางเข้าเหมืองทองคำ และอีก ๖๐ คนรวมตัวกันบริเวณด่านตรวจชุมชน "ว.๑" ด้านชาวบ้านกางเต้นท์ตรวจสอบรถเข้าออก เพื่อปกป้องความปลอดภัยให้ประชาชนใน ๖ หมู่บ้าน
วัน/ เวลาโดยประมาณ |
สถานการณ์ |
หมายเหตุ |
23 ธันวาคม 2555 |
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จัดเวที Public Scoping ประกอบคำขอประทานบัตรการทำเหมืองทองคำแปลง 104/2538 (ภูเหล็ก) โดย พล.ต.ต.ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ นำกองกำลังทหารและตำรวจ 1200 นาย ปิดกันไม่ให้ชาวบ้านรอบๆ เหมืองทองและกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้เข้าร่วมเวที |
ช่วงเวลาระหว่างนี้มีการข่มขู่คุกคาม เช่น การก่อกวนจากแก๊งค์มอเตอร์ไซค์และคนแปลกหน้าที่พกอาวุธปืนลูกซองและระเบิดปิงปองเข้าไปปรากฏตัวในพื้นที่ในยามวิกาล อยู่เป็นระยะ |
8 กันยายน 2556 |
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จัดเวที Public Scoping ประกอบคำขอประทานบัตรการทำเหมืองทองคำแปลง 76/2539 (นาโป่ง) โดย พล.ต.ต.ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ นำกองกำลังทหารและตำรวจ 800 นาย ปิดกันไม่ให้ชาวบ้านรอบๆ เหมืองทองและกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้เข้าร่วมเวที |
|
19 กันยายน 2556 |
กำแพงที่สร้างขึ้นครั้งแรก ถูกทำลายในยามวิกาลด้วยกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธครบมือ |
|
11 ตุลาคม 2556 |
กำแพงครั้งที่ 2 ถูกทำลายด้วยการใช้กองกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนับ 100 นาย นำโดย นางสุพรรณวดี คำสุข นายก อบต. เขาหลวง เป็นผู้สั่งดำเนินการ |
|
13 ตุลาคม 2556 |
ขู่วางระเบิด 2 จุดในหมู่บ้าน โดยเอากล่องคล้ายระเบิดวางไว้หน้าบ้าน สุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ และบริเวณใกล้กำแพง 1 จุด ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าทางคดี |
|
27 พฤศจิกายน 2556 |
กองกำลังตำรวจประมาณ 50 นาย นำโดย พ.ต.ท. รัฐพล เพ็ญสงคราม รอง ผกก.ป.สภ.วังสะพุง และนาย วิษณุ ทวีวรรณ ในฐานะตัวแทนของนายกฯ อบต.เขาหลวง เดินทางมาในพื้นที่เพื่อทำลายกำแพงแต่ชาวบ้านไม่ให้เข้า |
|
14 กุมภาพันธ์ 2557 |
นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ นายก อบจ. เลย พยายามติดต่อ นายสมัย ภักมี หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดหลายครั้ง เพื่อขอนัดพบพูดคุยเรื่องเหมืองทองคำ |
|
19 กุมภาพันธ์ 2557 |
นายสมัย ภักมี พร้อมกับชาวบ้าน 7 คน พบ นายธนาวุฒิ โดย นายธนาวุฒิ ยื่นข้อเสนอให้ชาวบ้านเปิดกำแพง แลกกับค่าหัวคิว 5% จากการที่ตนจะรับซื้อหรือเป็นนายหน้าหาผู้ซื้อแร่ทองแดงที่กองอยู่ในเหมืองทุ่งคำออกมาขาย โดยจะขนแร่วันละเที่ยว ๆ ละ ๑๕ ตัน ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด |
|
20 เมษายน 2557/ 03:00 น. |
มีนายหน้าเข้ามาเจรจาแกนนำผู้ใหญ่บ้านในยามวิกาล ขอขนแร่ทองแดงมูลค่ากว่าร้อยล้านบาทผ่านถนนสาธารณะของชุมชน ยื่นข้อเสนอจะยกฟ้อง 3 คดีให้ชาวบ้าน |
|
21 เมษายน 2557 |
ระหว่างงานทำบุญประเพณีของชาวบ้านหมู่บ้านนาหนองบง “คุ้มใหญ่” เกิดสถานการณ์ความปั่นป่วนในหมู่บ้าน เนื่องจากมีรถพ่วง 18 ล้อ 4 คัน รถเครน 1 คัน จะขึ้นไปยังเหมืองทอง ชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดและประชาชนในพื้นที่ จึงระดมเฝ้าด่านตรวจเข้ม และเฝ้าระวังความปลอดภัย ยกกฎหมาย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน 15 ตัน ห้ามผ่านถนนสาธารณะของชุมชน ตามระเบียบชุมชน จากมติประชาคม 6 หมู่บ้าน, รถบรรทุกน้ำหนักเกิน 20 ตันห้ามใช้ทางหลวงชนบท โดยตรวจสอบรถบรรทุกที่จะผ่านทางเข้า-ออกถนนสาธารณะของหมู่บ้าน |
|
22 เมษายน 2557/ 10:00 น. |
พลโทปรเมษฐ์ ป้อมนาค และผู้ติดตามประมาณ 16 คน เดินทางมายังข่มขู่ถึงหน้าบ้านของ นายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ อ้างว่าเป็นทหาร และเป็นตัวแทนของ นายธนาวุธ ทิมสุวรรณ นายก อบจ. เลย ผู้ซื้อแร่ทองแดงจาก บริษัท ทุ่งคำ จำกัด โดยมีการทำสัญญาซื้อ-ขายกันแล้ว และได้ขอใบอนุญาตขนแร่แล้ว โดยแสดงกิริยาคุกคามข่มขู่ชาวบ้านและสื่อมวลชนที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ (*วันที่ 23 พลโทปรเมษฐ์ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ กลับคำว่า ตัวเองเป็นคนซื้อแร่) |
|
23 เมษายน 2557 |
นายปรเมษฐ์ บันสิทธิ์ ลูกชายของ นายปราโมทย์ บันสิทธิ์ กรรมการ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) เข้ามาในหมู่บ้านเพื่อ ยื่นข้อเสนอให้ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดเปิดการเจรจากับทุ่งคำอีกครั้ง โดยหลังการยื่นข้อเสนอเรื่องเจรจาได้โทรศัพท์มายังทีมเจรจาของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดอีกครั้ง เพื่อแสดงเจตนาว่าจะขนแร่ทองแดงออกจากเหมือง |
|
24 เมษายน 2557 |
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกร้องเรียน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ, อุตสาหกรรมจังหวัดเลย, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง กรณีการละเมิดสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน และกรณีปัญหาการข่มขู่ คุกคามในหมู่บ้าน โดยสรุป คือ 1. ขอให้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน 2. ขอให้ ผู้บัญชาการทหารบก ดำเนินการสอบสวนวินัยกลุ่มนายทหารดังกล่าวในข้อความข้างต้น 3. ขอให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการสอบสวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่จากคดีวางระเบิดสองจุดในหมู่บ้านไม่มีความคืบหน้า 4. ขอให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการสอบสวนการซื้อ-ขาย-ขนแร่ และดำเนินการด้านความปลอดภัยของแกนนำและชาวบ้านเป็นคดีพิเศษ 5. ขอให้ อุตสาหกรรมจังหวัดเลย ดำเนินการตรวจสอบใบอนุญาตการซื้อ-ขายแร่ และใบอนุญาตขนแร่ ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด 6. ขอให้ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหลวง ในฐานะผู้อำนวยการทางหลวงท้องถิ่น เฝ้าระวังอย่างเคร่งครัดในการใช้รถบรรทุกขนย้ายแร่ที่มีน้ำหนักเกินกฎหมายกำหนด โดยขอให้ทุกหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบพิจารณาและดำเนินการอย่างเร่งด่วน |
|
28 เมษายน 2557 |
ในวันพิจารณาคดีอาญา 2 คดี และคดีแพ่ง 150 ล้าน ทุ่งคำนำพนักงานกว่า 200 คนมาชุมนุมกดดันที่ศาลจังหวัดเลย ในส่วนของคดีแพ่ง 150 ล้าน ศาลไม่ไต่สวนมูลฟ้อง แต่สั่งให้คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากัน โดยมี นายวิชัย เตชะศิริสวัสดิ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดเลย วินายวิจิตร เจียมวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทุ่งคาฮาร์เบอร์ จำกัด (มหาชน) และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นคนกลาง |
|
6 พฤษภาคม 2557 |
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้รับหนังสือ ที่. ลย.0033(2)/0852 ลงวันที่ 28 เมษายน 2557 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย แจ้งว่า บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้ขอใบอนุญาตขนแร่ทองแดงมีทองคำและเงินเจือปน จำนวน 476 เมตริกตัน โดยใช้รถบรรทุก 15 คัน ไปยังสถานที่เก็บแร่ที่ 2/2557 ของบริษัทฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 294/3 หมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ใบอนุญาตขนแร่เลขที่ 01930 – 01944 โดยมีอายุวันที่ 22-23 เมษายน 2557 (*ทุ่งคำเป็นคนจ้างให้กลุ่มของ พลโทปรเมษฐ์ ป้อมนาค มาขนแร่?) |
|
|
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ส่งหนังสือถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลย เนื่องจากจดหมายชี้แจงของอุตสาหกรรมจังหวัดไม่ได้แจงรายละเอียดเรื่องใบอนุญาตการซื้อ–ขายแร่ ของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด กับ บริษัทผู้ซื้อแร่ ให้ทางกลุ่มฯ ดังนั้นกลุ่มฯ จึงให้ตรวจสอบและแจ้งเรื่องมายังกลุ่มฯ อีกครั้ง ได้แก่ - ใบอนุญาตที่แสดงให้เห็นได้ว่า ผู้ซื้อแร่ มีสิทธิ หรือมีใบอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิในการซื้อ–ขายแร่ - ใบอนุญาตผู้ขายแร่ ที่แสดงให้เห็นได้ว่า ผู้ขายแร่ มีสิทธิหรือมีใบอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิในการซื้อ–ขายแร่ - ใบอนุญาตให้ทำการซื้อ–ขายแร่ จำนวน 476 เมตริกตัน - หนังสือสัญญาการซื้อ–ขายแร่ จำนวน 476 เมตริกตัน ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแร่ - ใบอนุญาตที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้ขนแร่มีสิทธิในการขนย้ายแร่ - ใบอนุญาตในการขนแร่ จำนวน 476 เมตริกตัน |
|
15 พฤษภาคม 2557 |
22:00 น. รถตู้ต้องสงสัย 5 คันวิ่งเข้ามาจอดบริเวณด่านตรวจจุดแรกของทางเข้าหมู่บ้าน (ว. 1) 22:30 น. กลุ่มชายฉกรรจ์ติดอาวุธปืน มีด ไม้อย่างต่ำ 300 คน นำโดย พลโทปรเมษฐ์ ป้อมนาค และพลโทปรมินทร์ ป้อมนาค ลูกชาย เริ่มกระจายกำลังเข้าปิดล้อมหมู่บ้าน และยึดจุดตรวจ ว.1 ซ้อมทารุณและจับมัดชาวบ้านที่อยู่ในจุดตรวจเป็นตัวประกัน 4 คน ส่วนนายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ที่เดินทางไปช่วยชาวบ้านได้ถูกจับซ้อมและใส่กุญแจมือกุมขังไว้ในบริเวณที่พลโทปรมินทร์ บัญชาการอยู่ โดยขณะปฏิบัติการมีการยิงปืนเพื่อข่มขู่ชาวบ้านที่พยายามจะเข้ามาช่วยตัวประกันเป็นระยะๆ ทั้งนี้ในขณะปฏิบัติการมีการติดต่อสื่อสารกับคนชื่อ นาย “อู๋” ตลอดเวลา (“อู๋” ชื่อเล่นของนายปรเมษฐ์ บันสิทธิ์) 22:30 - 24:00 น. มีการนำกำลังเสริมกลุ่มชายฉกรรจ์ที่เดินทางมาพร้อมกับรถบรรทุก 2 คันแรก เพื่อบุกเข้าด่านตรวจจุดที่สอง ยึดด่านตรวจ ว.2 มีการขู่จะฆ่า ซ้อมทารุณ และจับมัดชาวบ้านไว้ในจุดตรวจเป็นตัวประกัน 22 คน ต่อมากองกำลังอีกชุด ได้เข้ายึดด่านตรวจ ว.3 ที่มีการสร้างกำแพงของหมู่บ้าน มีการขู่จะฆ่า ซ้อมทารุณ และจับมัดชาวบ้านเป็นตัวประกันไว้ในจุดตรวจ 10 คน หลังจากนั้นมีการนำรถไถมาทำลายกำแพง หลังจากนั้นรถบรรทุก 18 ล้อ (ประมาณ 13 คันวิ่งผ่านขึ้นไปยังเหมือง) ทั้งนี้ในขณะกลุ่มชายฉกรรจ์ติดอาวุธกำลังปฏิบัติการ มีการยิงปืนเพื่อข่มขู่ชาวบ้านที่พยายามจะเข้าไปช่วยตัวประกันเป็นระยะๆ โดยกองกำลังอีกเป็นจำนวนมากที่ซุ่มอยู่ในป่าและบริเวณถนน เพื่อตรึงชาวบ้านในหมู่บ้านไม่ให้รวมตัวกันออกมาช่วยตัวประกันได้ 24:00 น. ชาวบ้านพยายามโทรขอความช่วยเหลือจาก นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย, พ.ต.อ.สมหมาย ศรีคำแดง ผกก.สภ.วังสะพุง, พล.ต.ต. ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดเลย, นายบรรบต ยาฟอง นายอำเภอวังสะพุง รวมถึงสายด่วน แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 และ1669 แจ้งเหตุฉุกเฉิน-อุบัติเหตุ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่รถขนแร่ 3 คันแรก พร้อมกองกำลังคุ้มกันขบวนรถ เริ่มวิ่งออกจากหมู่บ้าน 1:00 น. รถ 1669 วิ่งเข้ามาแล้วโดนกลุ่มโจรยิงขู่จึงเข้าพื้นที่ไม่ได้และกลับไป 1:20 น. รถตำรวจวิ่งเข้ามา แล้ววนออกไป เป็นตำรวจชุมชนเข้ามา 2 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีแล้วกลับ 4.30- 5.00 น. รถบรรทุกแร่คันสุดท้ายวิ่งออกจากหมู่บ้าน กลุ่มชายฉกรรจ์ทั้งหมดทยอยถอนกำลัง รถตำรวจมาทางบ้านปากปวน อยู่หลัง ว.1 มาประมาณ 5 นาที แล้วกลับ รถฉุกเฉิน 1669 วิ่งเข้ามารับคนเจ็บไปโรงพยาบาล |
|
16 พฤษภาคม 2557 |
กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด เดินทางไปชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจภูธรวังสะพุง ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำอันป่าเถื่อนโหดร้าย ไร้อารยะและมนุษยธรรมของกลุ่มนายทุนและลูกสมุน และแจ้งความให้เอาผิดกับ พ.ต.อ.สมชาย ศรีคำแดง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรวังสะพุง ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะไม่สนใจที่จะให้ความช่วยเหลือชาวบ้านขณะเกิดเหตุเมื่อคืนที่ผ่านมา และเรียกร้องให้ย้ายออกนอกพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ พ.ต.อ.สมชาย ไม่ออกมาพบกับชาวบ้าน ชาวบ้านจึงนำเต็นท์มาวางปิดกั้นกลางสี่แยกเทศบาลเมืองวังสะพุง เมื่อ พ.ต.อ.สมชาย มาขอเจรจา ชาวบ้านได้เรียกร้องให้ตำรวจมีมาตรการดูแลความปลอดภัยของกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ให้ตำรวจออกหมายจับภายใน และดำเนินการจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญาให้ถึงที่สุดภายใน 15 วัน และให้อายัดแร่ที่ถูกขนย้ายออกในทันที |
|
17 พฤษภาคม 2557 |
8:00 น. เกิดไฟไหม้บริเวณใกล้ป้อมยามของทุ่งคำ (บริเวณที่มองเห็นได้จากจุดตรวจที่ 3 ของชาวบ้าน) ในช่วงที่นักข่าวอยู่ในบริเวณนั้นประมาณสองสำนัก 10 นาที หลังจากนั้น ตำรวจเข้ามาตรวจสอบ โดยใช้คำถามกับชาวบ้านว่าใครสร้างสถานการณ์? 11.00 น. พล.ต.ต.ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ เข้าหมู่บ้าน รับปากจะไปคุยกับอุตสาหกรรมจังหวัด ตามเรื่องใบอนุญาตซื้อ-ขาย-ขนแร่ให้ภายใน 7 วัน และจะตามหาคนงานเหมืองที่เข้ามาทำร้ายชาวบ้านและไปรักษาอาการบาดเจ็บจากการปะทะที่โรงพยาบาลในวันเกิดเหตุ แต่บ่ายเบี่ยงที่จะตอบคำถามเรื่องอายัดแร่เถื่อนภายใน 7 วัน ส่วน พ.ต.อ.สมชาย ศรีคำแดง บ่ายเบี่ยงทุกเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่ออายัดแร่ที่ถูกขนออกไป ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน คือ ให้ชาวบ้านไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันโดยนำหลักฐานไปแจ้งความ *ข่าวโดยสรุปจากการสัมภาษณ์ของสื่อต่างๆ นายปรเมษฐ์ บันสิทธิ์ พ.ต.อ.สมชาย ศรีคำแดง ให้ข่าวกับสื่อมวลชนว่า ทุ่งคำมีใบอนุญาตขนแร่ และใบอนุญาตซื้อ-ขายแร่ถูกต้อง และเป็นสิทธิของผู้ขนแร่ว่าจะขนในยามวิกาลก็ได้/ นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหมืองทองคำ อ้างว่าก่อนที่เหมืองจะมีกรณีกับชาวบ้าน เคยมีอดีต ผวจ.เลยแนะนำผู้บริหารเหมืองทองคำมาพบ แต่ได้ปฏิเสธที่จะร่วมกับเหมืองทองคำ/ ผู้ว่าฯ กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งของชุมชน ต้องให้ชุมชนแก้ไข ส่วนตัวเป็นข้าราชการจะไม่เข้าไปยุ่ง โดยเฉพาะเมื่อมีกลุ่มการเมืองของเอ็นจีโอเกี่ยวข้อง/ อธิบดี กพร. กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่พื้นที่ก็มีปัญหาที่เกิดจากตัวของมันเอง ปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งเรื่องอื่นๆ ปัญหาที่เกิดจากความต้องการของชาวบ้านที่เกินมาตรฐาน |
|
18 พฤษภาคม 2557 |
คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน นำโดยทนายความ แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ในคืนวันที่ 15 หลังจากนั้นได้พาชาวบ้านไปพบ พล.ต.ต.ศักดิ์ดา วงศ์ศิริยานนท์ เพื่อสอบถามความคืบหน้าทางคดีและการดำเนินงานของตำรวจ สาระจากการพูดคุย พล.ต.ต.ศักดิ์ดา ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนในเรื่องที่รับผิดชอบแต่อย่างใด |
|
19 พฤษภาคม 2557 |
9:00 น. คนงานเหมืองทองคำ 300 คนรวมตัวกันที่หน้าวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุงก่อนจะเคลื่อนตัวมายังสามแยกปากปวน และคนงานเหมืองอีกประมาณ 60 คนประชิดอยู่ที่ด่านตรวจชุมชน “ว.1” ชาวบ้านจึงรวมตัวกันตั้งเต้นท์ที่ ว.1 และ จุดตรวจ ว.2 เพื่อป้องกันเหตุร้ายปกป้องความปลอดภัยในคนในหมู่บ้าน 9:58 น. มีพยานหลายคนเห็นว่า คนงานเหมืองได้แอบโรยตะปูเรือใบไว้ตามถนน หลังจากนั้นทางเหมืองได้นำรถคนงานเหมืองเข้ามาเพื่อให้ยางแตก เสร็จแล้วไปร้องเรียนกับสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ และไปแจ้งลงบันทึกประจำวันกับตำรวจ 10:20 ตำรวจเข้ามา/ปลัดอาวุโสเข้ามาในที่ชุมนุมเพื่อสอบถามรายละเอียด 10:55 กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ส่งจดหมายเปิดผนึก ถึง อธิบดี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, อุตสาหกรรมจังหวัดเลย และสำเนาถึง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย, ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังสะพุง, ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ขอให้ระงับใบอนุญาตการซื้อ-ขายแร่ และใบอนุญาตขนแร่ ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน และ ขอตรวจสอบและขอสำเนาใบอนุญาตการซื้อ-ขายแร่ และใบอนุญาตขนแร่ ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นมา |
|