เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนถูกปิดกั้นแล้ว

ผู้ดูแลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนแจ้งว่าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนถูกปิดกั้นแล้ว โดยพบว่าเป็นการปิดกั้นทางเข้าหน้าแรก ขณะที่ยังสามารถเข้าไปอ่านบทความเก่าด้านในได้ ทั้งนี้นับเป็นการปิดกั้นครั้งล่าสุดหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49

หน้าแรกของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ภาพบน) ล่าสุดมีรายงานว่าเว็บไซต์ดังกล่าวถูกปิดกั้นแล้ว (ภาพล่าง)

28 พ.ค. 2557 - ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากผู้ดูแลเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนว่า วันนี้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สามารถเข้าถึงได้หลายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ISP ภายในประเทศแล้ว โดยเมื่อเข้าไปที่เว็บ http://www.midnightuniv.org จะรีไดเร็คไปที่ http://58.97.5.29/annouce/martial_law.html ทันที และระบุข้อความว่า "ปิดชั่วคราว ตามคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย"

อย่างไรก็ตาม ยังสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ด้วยเว็บพร็อกซี่หรือวิธีการอื่น

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในเดือนมิถุนายนปี 2553 สมัยที่สมเกียรติ ตั้งนโม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์

สำหรับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบทความทางวิชาการมาตั้งแต่ปี 2541 โดยมี รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นหนึ่งในบรรณาธิการเว็บไซต์ในสมัยนั้น โดย รศ.สมเกียรติ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2553

ก่อนหน้านี้ เคยมีการปิดกั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมาก่อน โดยเมื่อปี 2549 ภายหลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เจ้าหน้าที่กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศหรือไอซีทีได้สั่งบล็อกเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2549 และต่อมามหาวิทยาลัยเที่ยงคืนยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางและขอการคุ้มครองเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนชั่วคราว และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งวันที่ 21 ต.ค. 2549 คุ้มครองชั่วคราวเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

 

เว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนถูกปิดหน้าแรก ยังเข้าอ่านบทความได้บางส่วน

ล่าสุด เมื่อเวลา 19.10 น. ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การปิดกั้นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนโดยคำสั่ง คสช. เป็นการปิดกั้นทางเข้าหน้าแรกเท่านั้น ในขณะที่ยังสามารถอ่านบทความต่างๆ ผ่าน URL อื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าผ่านหน้าบทความเก่าของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เวอร์ชั่น มิถุนายน 2553 หรือ http://v1.midnightuniv.org/ สมัยที่สมเกียรติ ตั้งนโม เป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ ประกอบด้วยบทความระหว่าง พ.ศ. 2540 - มิถุนายน 2553

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท