จม.ถึงหอศิลป์กวางจูฉบับที่ 2 ขอให้ติดตั้งจดหมายประท้วงคู่ผลงานศิลปะยุค กปปส.

กรณีหอศิลป์กวางจู แสดงผลงานศิลปะยุค กปปส. ในงานรำลึก 36 ปีสลายการชุมนุมกวางจูปี 1980 ล่าสุดบุคคลหลายวงการยื่นจดหมายเปิดผนึก กวป. ฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ ชี้แจงบริบทการเมืองไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปิน Art Lane และ กปปส. และเรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่หอศิลป์กวางจู

ด้านอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane นึกว่าเป็นการกดดันให้ถอดงานแสดง จึงทำจดหมายเข้าชื่อกันเพื่อสนับสนุนสุธี ยืนยันว่าสุธีไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานของสุธีไม่เคยมีความบกพร่อง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด  'Thai Uprising' ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)

 

24 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

หอจดหมายเหตุ 518 ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ เป็นสถานที่จัดแสดงข้อมูล ภาพ และวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงข้อมูลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ของเอเชียด้วย (คลิกเพื่อชมภาพหอจดหมายเหตุ 518)

 

กวป. ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรียกร้องพิมพ์จดหมายประท้วงติดคู่ผลงานของสุธี

ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้" โดยจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 รายละเอียดอยู่ที่ท้ายข่าว

 

หัวหน้ากลุ่ม Art Lane ล่าชื่อหนุนสุธี ยันไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานไม่เคยบกพร่อง

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้ากลุ่ม Art Lane (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมแถลงข่าวจัดงาน Art lane #9 อิน แปซิฟิก ซิตี้ คลับ เมื่อ 29 เมษายน 2559 โดยเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อประมูลผลงานของศิลปิน Art Lane ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม เพื่อหารายได้ก่อสร้างอาคารเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ (ที่มา: แฟ้มภาพ/มติชนออนไลน์)

 

อนึ่ง มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ว่า เฟซบุ๊กของ ชลิต นาคพะวัน อาชีพศิลปิน และนิติกร กรัยวิเชียร อาชีพช่างภาพ ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งลงชื่อว่าเป็นของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมายดังกล่าวเพื่อยืนยันว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้" โดยจดหมายเปิดผนึกที่ลงชื่อโดยอำมฤทธิ์ อยู่ที่ท้ายข่าว

มติชนออนไลน์ ระบุว่า มีผู้ร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศิลปิน นางแบบ ผู้กำกับการแสดง ช่างภาพ บรรณาธิการนิตยสาร และผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น รศ.ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร, รศ.สิทธิพร ภิรมย์รื่น อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ลูกปลิว จันทร์พุดซา อาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร, อัญชลี ไพรีรักษ์ สื่อมวลชน, เบญญา นันทขว้าง เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ,ทราย-วรรณพร ฉิมบรรจง ศิลปินและอดีตนักแสดง จี๊ด-สิกขา ฐิตาระดิษฐ์ (แสงทอง เกตุอู่ทอง) นางแบบชื่อดัง รวมถึงนนทรีย์ นิมิบุตร อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์

 

อ้างมีการกดดันให้ถอดงานสุธี - ขณะที่ข้อเรียกร้อง กวป. แค่ขอให้หอศิลป์กวางจูนำเสนอเสียงที่แตกต่าง

ทั้งนี้ในจดหมายของกลุ่ม Art Lane ยังระบุว่ากลุ่ม กวป. "พยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง" อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ทั้ง ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดงแต่อย่างใด โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการถามภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและคณะกรรมการ "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ" และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"

ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย

อนึ่งก่อนหน้านี้ มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์' ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี" "ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง" ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

000

จดหมายเปิดผนึกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ฉบับที่ 2

เรียนคุณลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการหอศิลปะเมืองกวางจู
สำเนาเรียน มูลนิธิ May 18 Memorial Foundation

พวกเราขอขอบคุณที่ท่านสนองตอบต่อจดหมายเปิดผนึกอย่างรวดเร็ว จดหมายตอบของคุณแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างประชาชนไทยและพลเมืองชาวกวางจูตลอดจนประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราหวังว่าจดหมายตอบโต้ของพวกเราจะทำให้เกิดความสนใจจากสาธารณชนอันเกิดจากกรณีการเข้าร่วมแสดงงานของศิลปินสุธี คุณาวิชยานนท์ ณ หอศิลปะเมืองกวางจู (Gwangju Museum of Art: GMA) เพื่อจะเรียนรู้ถึงความทุกข์ยากของประชาชนระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าพวกเรายืนอยู่ได้ด้วยมรดกความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้น

พวกเราได้สื่อสารไปยังเพื่อนสมาชิกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เกี่ยวกับจดหมายตอบของคุณ และในนามของ กวป. พวกเรามีข้อเรียกร้องดังนี้

1. เพื่อทำความเข้าใจในบริบทงานของสุธี พวกเราเรียกร้องให้หอศิลปเมืองกวางจูติดตั้งจดหมายเปิดผนึกของเราคู่ไปกับผลงานของสุธี พวกเรายืนยันหลักการที่ว่าเราเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของศิลปิน แต่จากพฤติการณ์การเข้าร่วมกับกลุ่ม Art Lane (อาร์ตเลน) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  ( กปปส.) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการล้มล้างประชาธิปไตยไทย  หอศิลปเมืองกวางจูควรจะเผยแพร่ข้อมูลและเสียงที่แตกต่างออกจากผลงานของสุธี

2.  พวกเราใคร่ขออธิบายภูมิหลังการร่วมมือระหว่าง อาร์ตเลนและกปปส. และการใช้ความรุนแรงและทำลายล้างประชาธิปไตยในประเทศไทย

ตามข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งและออกมาต่อต้านทั้งฝ่าย กปสส. และ นปช. บางส่วน และประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่างพากันออกมาเรียกร้อง ประท้วงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยุบสภาในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั่นถือเป็นแนวทางอารยะและสันติสุขในการแก้ปัญหาประเทศ หากแต่เป็นประเด็นสำคัญที่สุธีและผู้สนับสนุนของเขาไม่เคยกล่าวถึงเลย

แทนที่จะยอมรับการยุบสภาและเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอันเป็นวิถีประชาธิปไตย บรรดา กปปส. และผู้สนับสนุนต่างปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานซึ่งเป็นการการะทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ฝ่าย กปปส. ยังเร่งเร้าให้ผู้สนับสนุนออกมาปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ และปิดหน่วยเลือกตั้งในทุกวิธีการที่ทำได้ ในนามการรณรงค์ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ซึ่งปรากฏชัดในผลงานของสุธีและผู้สนับสนุนของเขา

ผลของการกระทำดังกล่าวจึงเกิดความรุนแรงบนท้องถนนในหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้คำขวัญ ‘Shut Down Bangkok’ ทำให้ฝ่าย กปปส. เป็นผู้ได้เปรียบ และเป็นการรุกฝ่ายรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ตลอดจนผู้สนับสนุนให้เหลือพื้นที่ไม่มากนัก

นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ชี้ว่า ขบวนการ กปปส. เป็นเครือข่ายที่กระทำการร่วมกันและผลักดันให้เกิดวิกฤตจนเปิดทางให้ทหารและกองทัพเข้าแทรกแซง ซึ่งพวกเราสามารถเสนอผลงานวิชาการจำนวนมากในภาษาอังกฤษที่สนับสนุนข้อสรุปนี้  เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจบริบทและสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่ซับซ้อนดียิ่งขึ้น

ความรุนแรงบนท้องถนนที่สำคัญที่สุดกรณีหนึ่งก็คือกรณีการปะทะกันหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเกิดกรณีฝ่าย กปปส. กล่าวหาว่า ผู้ชุมนุม นปช. กรีดทำลายสัญลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงและเป็นการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฝ่าย กปปส. เรียกร้องระดมคนให้มาปะทะกับฝ่าย นปช. ที่มาชุมนุม ณ รัชมังคลากีฬาสถานใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง แม้จะอยู่ห่างไกลจากเวทีของฝ่าย กปปส. แต่พวกเขาก็ระดมคนมาปะทะจนเกิดผู้เสียชีวิต 5 ราย  ในจำนวนนี้เป็น นปช. 3 ราย เป็นฝ่าย กปปส. หนึ่งราย และมีผู้ติดในซากรถที่ถูกเผาหนึ่งราย มีผู้บาดเจ็บกว่า 68 ราย

กรณีการปะทะหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงอย่างต่อเนื่องบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครนับแต่กรณีสลายการชุมนุมเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นับจากกรณีปะทะที่ถนนรามคำแหงมีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ราย ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต 3 นายจากความพยายามล้มการเลือกตั้งของฝ่าย กปปส. มีผู้บาดเจ็บรวมกันกว่า 782 ราย ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่ตั้งต้นจากฝ่ายนิยมความรุนแรงของ กปปส.

3. พวกเราเรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของ GMA ได้กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยกระทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

4. พวกเราเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดย GMA รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้

ด้วยความสมานฉันท์
กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)

ผู้ลงชื่อท้ายจดหมาย กวป. ฉบับที่ 2

1. Abhichon Rattanabhayon   Media studio 2. Akara Pacchakkhaphati   Film maker 3. Angkrit Ajchariyasophon   Artist/ gallerist 4. Anocha Suwichakornpong   Film maker 5. Anurak Tanyapalit Freelance 6. Anusorn Tipayanon   Writer 7. Apichatpong Weerasethakul      Film maker 8. Aranya Siriphon Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 9. Ariya Pacharawan Graphic designer 10. Ariya Theprangsimankul Theatre facilitator

11. Arjin Thongyuukong Thammasat University 12. ArjinJonathan Arjinkit       Artist/ lecturer, Rajanagarindra Rajabhat University 13. Arnont Nongyao   Artist 14. Arthit Mulsarn Freelance 15. Arthit Suriyawongkul Activist 16. Artit Srijan Lecturer, Phranakorn Rajabhat University 17. Asira Panaram Content Editor 18. Athapol Anunthavorasakul   Lecturer, Chulalongkorn University 19. Atikom Mukdaprakorn   Artist/ cultural activist 20. Attaphol Sudawannasuk Artist

21. Ben Busarakamwong   Cultural activist 22. Benjamas Boonyarit Student, activist 23. Benjamas Winitchakul Architect 24. Bordin Theparat Film critic 25. Cattleya Paosrijaroen   Film maker 26. Chai Siris     Film maker 27. Chaiwat Wiansantia Artist 28. Chaiyan Rajchagool Scholar in residence, Faculty of Political and Social Sciences, University of Phayao 29. Chakkrit Chimnok   Artist 30. Chaloemkiat Saeyong Film maker

31. Chanan Yodhong PhD Candidate, Thammasat      University 32. Chanin sriyoyod Lecturer, Arts and design, Chaiyaphum Rajabhat University 33. Chayanin Tiangpitayagorn Film critic 34. Chettapat Kueankaeo   Theater director 35. Chiranuch Premchaiporn   Journalist, director of Prachatai 36. Chontida Auikool     Thammasat University 37. Chotchuang Meepom Lecture  38. Chulayarnnon Siriphol Artist/ film maker 39. Chuwat Rerksirisuk Editor in Chief of Prachatai  40. Chuveath Dethdittharak Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University

41. Danaya Chulphuthiphong   Photographer/ film maker 42. Ded Chongmankong   Photographer 43. Dollapak Suwanpanya Activist 44. Dontree Siribunjongsak   Musician 45. Duangrit Bunnag Architect 46. Duangrurthai Asanachatang   Editor 47. Ekanop Suwannakosum Graphic designer/ lecturer, Chiang Mai University 48. Ekkalak Nabthuesuk Lecturer 49. Farida Jiraphan   Performance artist 50. Foyfon Chaimongkol PhD Candidate, Burapha University

51. Gandhi Wasuvitchayagit   Writer 52. Ina Phuyuthanon Lecturer, Faculty of Fine arts, Srinakharinwiriot university 53. Inthira Vittayasomboon   Cultural activist 54. Janit Feangfu     Lecturer, Chiang Mai University 55. Jarunun Phantachat Theatre director 56. Jirasak Monkiatkul   Interior designer 57. Jirat Prasertsup   Cultural activist  58. Jirat Ratthawongjirakul Gallerist 59. Judha Suwanmongkol Independent art writer/ researcher 60. Kahat Sujipisut     Artist

61. Kasem Phenpinant Department of Philosophy, Chulalongkorn University  62. Kampanart Sangsorn Illustrator 63. Kampol Champapan Historian 64. Kanteera Sanguantung 65. Karnt Thassanaphak Poet / documentary photographer 66. Kasem Phenpinant Lecturer, Department of Philosophy, Chulalongkorn University 67. Kasiti Sangkul Film director 68. Kavintron Sangsakron   Performance artist 69. Keawalee Warutkomain   Art director 70. Kengkij Kitirianglarp Lecturer, Chiang Mai University

71. Kessarin Tiawsakul 72. Kittima Chareeprasit   Curator 73. Komluck Chaiya Lecturer,Phranakhorn Si Ayutthaya, Rajabhat University 74. Komtham Domrongchareon Lecturer, Silpakorn University 75. Kongkrit Traiyawong   Lecturer, Walailak University 76. Korada Srithongkird  77. Kornkrit Jianpinidnan   Artist 78. Kornrapin Mesiyahdol Lecturer, Chiang Mai University 79. Kriangkrai Patomnetikul Graphic designer 80. Krit Lualamai     Writer

81. Krittawit Rimthepartip Writer 82. Ladapha Sophonkunkit   Performance artist 83. Ladda Kongdach   Performance artist 84. Lakkana Punwichai   Writer  85. Latthapon Korkiatarkul   Artist 86. Lyla Phimanrat     Gallerist 87. Makha Sanewong Na Ayutthaya Artist 88. Mit Jai Inn   Artist 89. Miti Ruangkritya   Artist 90. Mo Jirachaisakul   Artist

91. Montri Toemsombat   Artist 92. Nakin Poonsri Gardener 93. Namfon Udomlertlak   Film maker 94. Narawan Pathomvat     Researcher 95. Nataya U-Kong           Lecturer, Silpakorn University  96. Nawapooh Sae-tang   Critic 97. Nithinand Yorsaengrat   Journalist 98. Nok Paksanavin   Writer 99. Nontawat Numbenchapol Film maker 100. Nopawat Likitwong   Sound artist/ sound engineer

101. Noraset Vaisayakul   Artist 102. Nut Sawasdee Artist 103. O Techadilok   Graphic designer 104. Orapakk Ruttphatai   PhD Candidate, Social Science, Chiang Mai University 105. Orawan Arunrak   Artist 106. Ornanong Thaisriwong Performance artist 107. Pakavadi Veerapasapong Translator, writer 108. Pandit Chanrochanakit Lecturer, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University 109. Panithita Kiatsupimon Graphic designer 110. Panu Boonpipattanapong   Writer

111. Panu Trivej Lecturer, Kasetsart University 112. Paphonsak La-or   Artist 113. Parinot Kunakornwong   Artist 114. Pasakorn Intoo-Marn   Performance artist/ lecturer, Mahidol University 115. Patara Padungsuntararuk Thaksin University, Songkhla 116. Pathompon Tesprateep   Artist 117. Pattaranan Takkanon Lecturer, Faculty of Architecture, Kasetsart University 118. Pavinee Samakkabutr   Performance artist 119. Pawaluk Suraswadi   Performance artist 120. Pawin Ramingwong   Artist/ lecturer, Phayao University

121. Penwadee Nophaket Manont Indendent curator/ cultural worker  122. Phonchai Iamnuy Graphic designer 123. Phu Kra-dart Writer 124. Pichaiwat Saengprapan   Artist/ lecturer, Srinakarinwirot University 125. Pimsiri Petchnamrob     Activist 126. Pinkaew Laungaramsri, Lecturer, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 127. Pisit Darnwirunhawanit Freelance 128. Pisitakun Kuantalaeng   Artist 129. Pitch Pongsawat Lecturer, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University 130. Piyarat Piyapongwiwat   Artist

131. Pongjit  Saphakhun   Performance artist 132. Potjawan Panjinda   Gallerist 133. Prach Panchakunathorn PhD candidate, Department of Philosophy, University of Toronto 134. Prakiat Khunpol Poet/ writer 135. Prapat Jiwanrangsan   Artist 136. Pratompong Namjaidee   Artist 137. Puangthong Pawakapan Faculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 138. Ratapong Pinyosophon Playwright 139. Ratchapoom Boonbunchachoke Film maker 140. Rattanai Bampenyou Music teacher/ historian

141. Rittipong Mahapetch Activist 142. Rodjaraeg Wattanapanit   Cultural activist 143. Ruangsak Anuwatwimon   Artist 144. Sakkarin suttisarn/Assistant Lecturer, Faculty of Finearts,   Chiangmai University  145. Santiphap inkong-ngam Film maker/ lecturer, Chiang Mai University 146. Saran Samantarat Lecturer, Department of Landscape, Faculty of Architecture Kasetsart University 147. Sathit Sattarasart Artist 148. Sawit Prasertphan   Artist/ lecturer, Chiang Mai University 149. Sina Wittayawiroj   Artist 150. Sirawish Boonsri Art Teacher

151. Sirichoke Lertyaso   Photographer/ writer 152. Siripoj Laomanacharoen   Writer  153. Somchai Saejiu Creative director 154. Sompoch Aung Artist 155.Sompong Leerasiri Artist 156. Songkran Somchandra Lecturer, Chiangmai Rajabhat University 157. Sorayut  Aiemueayut   Lecturer, Chiang Mai University 158. Suchada Suwannasorn Film producer 159. Suchart Swasdsri     Writer  160. Sukanya Seskhuntod   Cultural activist

161. Supachai Areerungruang Lecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 162. Sutthirat Supaparinya   Artist 163. Tada Hengsapkul   Artist 164. Takerng Pattanopas Artist 165. Tanaphon Inthong Artist 166. Tanate Makkasakul   Designer 167. Tanyanun Aoiaree Graphic designer 168.Techit Jiropaskosol Designer/ lecturer 169. Teeramon Buangam  170. Teerapon Anmai Lecturer/ writer

171. Teerapong Suthiwarapirak   Writer 172. Teerawat Mulvilai   Performance artist 173. Tepwuit Buatoom Artist 174. Thanapas Dejpawuttikul Doctoral Researcher, Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University 175. Thanapol Virulhakul Choreographer 176. Thanavi Chotpradit Lecturer, Silpakorn University 177. Thanet Awsinsiri Artist/ lecturer 178. Thanom Chapakdee   Lecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 179. Tharit Tothong     Critic 180. Thasnai Sethaseree   Artist/ lecturer, Chiang Mai University

181. Thatchatham Silsupan Composer/ lecturer, Chiang Mai University 182. Thawiphat Praengoen   Artist/ cultural activist 183. Thida Plitpholkarnpim Film distributor/ Writer 184. Thitibodee Rungteerawattananon   Artist 185. Torwong Salwala Media Content Creator 186. Tossapon Tassanakunlapan Lecturer, Faculty of Law, Chiang Mai University 187. Uthis Haemamool   Writer 188. Uthit Attimana     Artist/ lecturer, Chiang Mai University 189. Verita Sriratana Lecturer, Faculty of Arts, Chulalongkorn University 190. Vichapon Diloksambandh   Performance artist

191. Viengrat Nethipo Faculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University  192. Vipash Purichanont PhD candidate, Department of Visual Cultures, Goldsmiths, University of London 193. Vorakorn Ruetaivanichkul   Film maker 194. Wachara Kanha Film maker 195. Warasinee Chansawang Gallerist 196. Wasu wanrayangkoon   Performance artist 197. Wattakorn Kawinkham Artist 198. Weroon Wuthirithakul   Cultural activist 199. Wichanon Somumjarn   Film maker 200. Wichaya Artamat Theatre director

201. Wirapa Angkoontassaniyarat Editor 202. Wiwat Lertwiwatwongsa   Film critic 203. Worathep Akkabootara Independent curator/ writer 204. Yingsiwat Yamolyong   Film maker 205. Yingyod Yenarkarn Artist 206. Yukti Mukdawijitra Lecturer, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University 207. Yuthchack Damsuwan Creative director 208, Yutthana Darakron   Cultural activist 209. Yutthana Meesong Creative director

000

จดหมายเปิดผนึกของหัวหน้ากลุ่ม Art Lane

"ตามที่ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึก ลงนามโดยบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ รวม 118 ชื่อ ส่งถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ให้ทบทวนการนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ออกแสดงในนิทรรศการ The Truth_to Turn It Over

โดยมีเนื้อหาชี้นำและปลุกปั่นว่าเป็นศิลปินที่สนับสนุนเผด็จการทหารให้ออกมายึดอำนาจ ประชาธิปไตยไปจากประชาชน คนไทย และพยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง ที่ เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้

เราขอยืนยันว่าจากประวัติการทำงานของ รศ. สุธี นั้นไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้

จึงใคร่ขอความยุติธรรมให้กับศิลปินชาวไทย โดยร่วมกันลงชื่อสนับสนุน รศ.สุธี ในการแสดงผลงานที่กวางจู และคัดค้านการกระทำที่ขัดต่อความเป็นจริงในครั้งนี้

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
หัวหน้ากลุ่ม Art Lane"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท