Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ก่อนอื่น ผู้เขียนต้องขอบอกกล่าวไว้ก่อนว่า เรื่องที่ผู้เขียน ได้นำเสนอนี้ คนอ่าน และนักวิชาการ
นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ฝ่ายประชาธิปไตย อาจเห็นว่า เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ไร้สาระ 
แต่ผู้เขียน ก็ต้องขอย้ำต่อ อาจารย์เหล่านั้นว่า หากอาจารย์เหล่านั้น เข้าใจในหลักคณิตศาสตร์
แล้วไซร์ เรื่องที่ผู้เขียน ได้นำเสนอนี้ "ไม่ได้เพ้อเจ้อ ไม่ได้ไร้สาระ" หากแต่ชอบด้วยหลักคณิตศาสตร์
ขั้นสูง ทุกประการ

เป็นที่ทราบดีว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปลี่ยนมาใชั บัตรเลิอกตั้ง 2 ใบนี้ เป็นการแก้ไข ที่ไม่ได้
ยกเลิก มาตรา 93 และ มาตรา 94 ของ รัฐธรรมนูญ 2560 ไปด้วย 

ดังนั้น มาตรา 93 และมาตรา 94 จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป โดยมีมาตรา 93 เป็นมาตราที่สำคัญ ในการ
คำนวณ จำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรค จะพึงมี (ส่วนมาตรา 94 อาจถือเป็นมาตราประกอบ)

มาตรา 93 รัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้ว่า 

มาตรา 93 (วรรคแรก) ในการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าต้องมีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ในบางเขต
หรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มีการ
ประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้งไม่ว่าด้วยเหตุใด การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่แต่ละพรรคการเมืองพึงมี และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมือง
พึงได้รับให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(วรรคสอง) ในกรณีที่ผลการคำนวณตามวรรคหนึ่งทำให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อของพรรคการเมืองใดลดลง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น
ในลำดับท้ายตามลำดับพ้นจากตำแหน่ง

ขอให้พิจาณาข้อความ ในมาตรา 93 วรรคแรก ที่ว่า "ถ้าต้องมีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ใน
บางเขต หรือบางหน่วยเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งยังไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่มี
การประกาศผลการเลือกตั้งครบทุกเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าด้วยเหตุใด"
ที่เป็นการกำหนด "เหตุหรือสาเหตุ" ในการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ที่แต่ละพรรคจะพึงมี

โดยมีข้อความ ที่ว่า "ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร"
เป็นข้อความที่ให้ความสำคัญต่อ
"หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข" ในการกำหนดจำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคจะพึงมี จากคะแนนเสียงของ
ประชาชน ทั้ง 400 เขต บวกด้วย คะแนนเสียงในบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคแล้วหารด้วย 5

เพราะ เหตุที่ ส.ส.บัญชีรายชือ มีเพียง 100 คน ดั้งนั้น คะแนนเสียงจากบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่่อ
ที่จะนำมาประกอบการคำนวณ เพื่อกำหนดจำนวน ส.ส.ที่แต่ละพรรคจะพึงมี จึงเท่ากับ จำนวนเสียงใน
บัตรเลือกตั้งบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคได้รับ หารด้วย 5 

คะแนนเสียง ที่จะนำใน ในการกำหนด จำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคจะพึงมี จึงมาจาก

1. คะแนนเสียงของประชาชน ทั้ง 400 เขต (ไม่ว่า ผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคนั้นๆ จะชนะ หรือ แพ้การเลือก
ตั้ง ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ) 

2. คะแนนเสียงในบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคได้รับ หารด้วย 5 

ขอยกตัวอย่าง มาประกอบ เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ

1. สมมุติว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 40 ล้านคน ทั่วประเทศ และ vote no (คือไม่เลือกใคร 2 ล้านเสียง)

2. สมมติว่า พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเสียง จาก 400 เขต (ไม่ว่าจะแพ้ หรือชนะการเลือกตั้งในเขตนั้นๆ) 
รวมทั้งหมด 11 ล้านคะแนนเสียง และ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนจากบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ 15ล้าน
คะแนนเสียง (ที่เมื่อหารด้วย 5 จะเหลือ 3 ล้านคะแนน)

ดังนั้น จำนวนคะแนนเสียง ที่จะนำมาคำนวณ จำนวน ส.ส. ทั้งหมดของพรรคเพื่อไทย จึงเท่ากับ
11 ล้าน + 3 ล้าน เท่ากับ 14 ล้านคะแนน (จาก คะแนนเสียงทั่วประเทศ 40 ล้านเสียง ลบด้วย คะแนนที่ไม่
เลือกใคร 2ล้านเสียง เท่ากับเหลือเสียงที่ยังใช้ได้ เพียง 38 ล้านคะแนนเสียง)

เอาตัวเลข 14 ล้าน หารด้วย 38 ล้าน คูณด้วย 500 พรรคเพื่อไทย จะได้จำนวน ส.ส. พึงมี ทั้งหมด 
เท่ากับ 184.21 (ปัดเศษลง เหลือ 184 ส.ส.)

และสมมุติต่อว่า พรรคเพื่อไทย ได้ผู้ชนะ ส.ส. เขต ที่ กกต ยังไม่รับรอง รวม220 เขต (คือ เกินกว่า 184) 
ผลก็คือ

1. พรรคเพื่อไทย จะไม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แม้แต่คนเดียว

2. นอกจากนี้ ผู้ชนะการเลือกตั้งเขต ของพรรคเพื่อไทย (ซึ่งแน่นอนว่า กกต ย่อมไม่รับรองผลการเลือกตั้ง
อย่างเป็นทางการทั้ง 200 เขต แต่จะรับรองเพียง 184 เขต หรือ 184 ส.ส. ตามจำนวน ส.ส.พึงมีของพรรค
เพื่อไทย เท่านั้น โดย กกต อาจตัดสินเอง หรือ ให้พรรคเพื่อไทยเลือกว่า จะสละผู้ชนะการเลือกตั้ง ในเขต
ใด อีก36 เขต ที่เกินกว่า ส.ส. ที่พรรคเพื่อไทย จะพึงมี ..เพื่อให้พรรคเพื่อไทย มี ส.ส.พึงมี เพียง 184 ส.ส.) โดยที่ อีก 36 เขตนี้ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ที่พรรคเพื่อไทยหมดสิทธิส่งผู้สมัคร

ในกรณีของพรรคการเมืองอื่นๆ ก็จะคำนวณ ในทำนองเดียวกัน กับตัวอย่างข้างต้น

และนี่คือ กลเกมส์ ของ่พรรคร่วมรัฐบาล และ สว. ที่ไม่ยอมยกเลิก รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 93 (โดยมี มาตรา 94 เป็นตัวประกอบ)

ปัญหา อยู่ที่ กกต จะอ่าน กลเกมส์นี้ ออกหรือไม่ ในการยกร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งฯ2565 ออกมา

ความจริง เรื่องนี้ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ก็เคยพูดถึง ความไม่ชอบมาพากล ที่ ไม่ยกเลิก มาตรา 93 
และ มาตรา 94 ไปแล้ว (แต่นายสมชัยฯ ไม่ได้พูดลงลึกในรายละเอียด)

สรุปก็คือ การแก้ไข รัฐธรรมนูญ 2560 หนนี้ ไม่ได้ทำให้ พรรคเพื่อไทย ได้แลนด์สไลด์ และพรรคก้าวไกล ก็
ไม่ได้ ลดจำนวน ส.ส. พึงมี ไปมาก อย่างที่ นายสมชัย อดีต กกต เคยคาดการณ์ เอาไว้ 

ที่สำคัญ 250 สว. ยังเป็นกำลังสำคัญ ในการชี้เป็นชี้ตายว่า ใครควรเป็นนายกฯ คนต่อไป (ที่อาจเป็น 
ลุงตู่ คนเดิมก็ได้)

สิ่งที่เปลื่ยนไป คือ พรรคเล็กๆ (มี ส.ส. 1-5 คน) จะล้มหายตายจากไป

ผลของการใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ มีเพียงเท่านี้ 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net