Skip to main content
sharethis

ศบค. รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในไทย ผู้ป่วยใหม่ 25,821 ราย รักษาหาย ติดเชื้อเข้าข่าย/ATK 22,476 ราย 24,066 ราย เสียชีวิต 84 ราย ฉีดวัคซีน (26 มี.ค.) สะสม 128,649,461 โดส

27 มี.ค. 2565 Thai PBS รายงานว่าศูนย์ข้อมูล COVID19 รายงานตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ 25,821 คน รวมตัวเลขสะสม 1,305,650 คน(ข้อมูลตั้งแต่ 1 ม.ค.65)  เสียชีวิต 84 คน ส่วนผลตรวจ ATK จำนวน  22,476 คน กำลังรักษา 251,936 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,672 คน เฉลี่ยจังหวัดละ 22 คน อัตราครองเตียง ร้อยละ 27.6 และหายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 24,066 คน รวมหายป่วยสะสม 3,252,350 คน และเสียชีวิตสะสม 24,799 คน

ขณะที่กระแสโซเชียลในทวิตเตอร์ มีการติดแฮชแท็ก ชุดตรวจ ATK และโควิด19 เนื่องจากพบว่าหลังจากมีการรายงานผลตรวจผู้ติดเชื้อโควิดจาก ATK ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 จนถึงวันนี้มียอดสะสม 1,015,583 คนเป็นวันแรก หลังจากพบตัวเลขจาก ATK เฉพาะที่มีการรายงานแผ่นทางกรมควบคุมโรคย้อนหลัง 1 สัปดาห์ ดังนี้

วันที่ 22 มี.ค.จำนวน 13,220 คน รวมตัวเลขสะสม ATK จำนวน 891,175
วันที่ 23 มี.ค.จำนวน 26,812 คน รวมตัวเลขสะสมจาก ATK จำนวน 917,987 คน
วันที่ 24 มี.ค.จำนวน 26,768 คน รวมตัวเลขสะสม ATK จำนวน 944,755 คน
วันที่ 25 มี.ค.จำนวน 26,655 คน รวมตัวเลขสะสมATK จำนวน 971410  คน
วันที่ 26 มี.ค.จำนวน 21,697 คน รวมตัวเลขสะสม ATK จำนวน 993,107 คน
วันที่ 26 มี.ค.จำนวน   22,476 คน รวมตัวเลขสะสม ATK 1,015,583 คน

แนะใช้สารทำลายเชื้อโควิดใน ATK 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เรื่องการทำลายเชื้อโรคใน ATK ที่ใช้แล้ว

การตรวจ ATK ขณะนี้มีการใช้อย่างแพร่หลาย มีการตรวจวันละหลายแสนชิ้น ATK ที่ใช้แล้วไม่ว่าจะตรวจพบเชื้อหรือตรวจไม่พบเชื้อ ถือเป็นขยะติดเชื้อ มาตรการในการทิ้งขยะติดเชื้อจะต้องใส่ถุงแดง และมีการทำลายอย่างถูกต้อง

ตามบ้านทั่วไปจะไม่มีถุงแดง และมาตรการการเก็บขยะ ไม่มีการแยกขยะติดเชื้อ จึงเป็นปัญหาในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ถ้าทิ้งในขยะปกติที่ไม่ได้มีการแยกขยะ ดังนั้นการตรวจน้ำเสีย ที่ทิ้งไปยังโรงบำบัดน้ำเสีย หรือตามแม่น้ำลำคลอง จึงสามารถตรวจพบ RNA ของไวรัสโควิดได้

สิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ หลังการตรวจ ATK คือการทำลายเชื้อในสิ่งที่ตรวจเสียก่อนที่จะนำไปทิ้ง

“สารเคมีที่สามารถทำลายเชื้อโควิด-19  ได้ที่เรารู้จักกันคือแอลกอฮอล์ จะทำลายเชื้อเฉพาะไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม ไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้มไม่สามารถทำลายได้ เช่นไวรัสในกลุ่มมือเท้าปาก ก็พบได้ในบริเวณลำคอเช่นเดียวกัน”

สารเคมีที่สามารถทำลายไวรัสได้เป็นอย่างดีในทุกกลุ่ม ได้แก่สารในกลุ่มของฟอร์มาลีน ฟอร์มาลดีไฮด์ ในทางปฏิบัติเราก็ไม่ได้ใช้กันตามบ้าน สารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่ทำลายได้ดี ได้แก่สารที่มีส่วนประกอบของคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์ หรือสารคลอรีนที่อยู่ในน้ำยาล้างห้องน้ำ

ดังนั้น ATK ที่ใช้แล้ว ควรแยกทิ้งในขยะติดเชื้อหรือถุงแดง แต่ถ้าไม่มี ควรทำลายเชื้อเสียก่อนด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ ที่มีส่วนประกอบของคลอรีน โดยหยดลงไป 1-2 หยดแล้วห่อให้มิดชิดก่อนทิ้ง เพื่อเป็นการทำลายเชื้อเสียก่อน และจะต้องคำนึงว่าสารดังกล่าวเป็นสารกัดกร่อน และคลอรีนเป็นสารระเหย ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net