Skip to main content
sharethis

112Watch สัมภาษณ์พริษฐ์ วัชรสินธุ นักการเมืองรุ่นใหม่ ต่อมุมมองความรุนแรงของ ม.112 ชี้ 3 มิติที่ไม่เข้ากับมาตรฐานความเป็นประชาธิปไตยในระดับนานาชาติ เผยความรับผิดชอบในฐานะนักการเมืองที่ต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงกฎหมาย และสังคม รวมทั้งจุดยืนของพรรคก้าวไกล

พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ผู้จัดการการรณรงค์ด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล

โครงการ 112WATCH สัมภาษณ์ พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม ผู้จัดการการรณรงค์ด้านนโยบายของพรรคก้าวไกล นักการเมืองรุ่นใหม่ เปิดเผยความเห็นในมุมมองความรุนแรงของกฎหมายหมิ่นประมาทต่อกษัตริย์ หรือ ม.112 ทั้งปัญหาความไม่เข้ากับมาตรฐานความเป็นประชาธิปไตยในระดับนานาชาติ ความรับผิดชอบในฐานะนักการเมือง ที่ต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงกฎหมาย และสังคม รวมทั้งเปิดจุดยืนของพรรคก้าวไกล

โดยมีรายละเอียดดังนี้

112Watch : การปฏิรูป หรือล้มเลิกมาตรา 112 มีความสำคัญอย่างไร ถ้าประเทศไทยจะต้องมุ่งหน้าสู่การเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตยทั่วไป?

พริษฐ์ : ประเทศไทยไม่สามารถมุ่งหน้าสู่การเป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตยทั่วไปได้ หากมาตรา 112 ยังคงถูกเขียนไว้แบบเดิม และถูกใช้ในทิศทางเดิมที่ยังเป็นอยู่ เพราะว่ามาตรา 112 หรือ กฎหมายอาชญากรรมว่าด้วยการหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์นั้น ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในมาตรฐานความเป็นประชาธิปไตยในระดับนานาชาติที่มีด้วยกันสามมิติ และมันคือกุญแจสำคัญว่าทำไมหลายๆ  คนรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผยได้

มิติแรกคือ การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 เฉกเช่นที่ได้เห็นมาก่อนหน้านี้ และมีการบังคับใช้กฎหมายนี้อย่างไม่ชัดเจนระหว่างการหมิ่นประมาท หรือเพียงแค่วิพากษ์วิจารณ์ ทั้งๆ  ที่เนื้อหาในมาตรา 112 นี้อ้างอิงถึงการ "หมิ่นประมาท" "ดูถูกเยียดหยาม" หรือ "อาฆาตมาดร้าย" แต่ในทางตรงกันข้ามที่เกิดขึ้นจริงในหลายๆ  เคสของผู้ที่ถูกจับ หรือถูกตัดสินว่าได้ละเมิดมาตรา 112 นั้นในความจริงไม่ได้มีการกระทำที่เป็นการ "หมิ่นประมาท" "ดูถูกเยียดหยาม" หรือ "อาฆาตมาดร้าย" แต่อย่างใดเลย โดยแค่เพียงการแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์ ต่อสถาบันกษัตริย์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ไผ่ ดาวดิน (จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา) นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เคยถูกจับจำคุกในข้อหาละเมิดมาตรา 112 ในปี 2559 เพียงแค่แชร์บทความออนไลน์บนโซเซียลเน็ตเวิร์คจาก BBC News เท่านั้น

ความคลุมเครือ และความไม่สอดคล้องด้วยหลักการ คือส่วนหนึ่งของการบกพร่องที่ไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนมาปกป้องการแสดงความคิดเห็น หรือการวิพากษ์วิจารณ์ที่มาจากเจตนาดีต่อสถาบันกษัตริย์ที่จะเป็นการยกเว้นการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท อีกทั้งยังแตกต่างจากกรณีการหมิ่นประมาททั่วไปที่มีมาตรา 329 หรือมาตรา 330 ที่ปรากฎอย่างชัดเจนว่าหากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางเจตนารมณ์ที่ดี และมีถ้อยคำเนื้อหาที่จริง อันเป็นผลประโยชน์ต่อสาธารณะนั้น จะได้รับการยกเว้นจากการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท และไม่ถูกลงโทษแต่อย่างใด

มิติที่สองคือ ความรุนแรงของบทลงโทษในการจำคุก การละเมิดกฎหมายมาตรา 112 นั้นปัจจุบันจะมีโทษจำคุกอยู่ที่ 3-15 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบความรุนแรงของการละเมิดนั้นๆ หากจะนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยอย่างอื่นจะเท่ากับบทลงโทษในข้อหาฆาตกรรมผู้อื่น หรือการฆ่าโดยไม่เจตนา ถ้าหากเปรียบเทียบอีกกับตัวบทกฎหมายไทยในอดีตก็ยังถือว่ารุนแรงกว่าบทลงโทษของการหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์ในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เสียอีก และหากจะเปรียบเทียบกับกฎหมายคล้ายๆ กันในประเทศอื่นๆ ที่มีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยเหมือนกับประเทศไทย ก็พบว่าบทลงโทษนั้นหนักกว่าทุกประเทศ และในบรรดาประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร หรือนอร์เวย์ เป็นต้น ที่มีกฎหมายหมิ่นประมาทนั้นก็เป็นเพียงบทลงโทษในกฎหมายแพ่งที่ไม่มีการจำคุกใดๆ  และในบรรดาประเทศที่มีกฎหมายหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์ในบทลงโทษทางอาชญากรรม ก็มีบทลงโทษที่ต่ำกว่าประเทศไทยมากๆ  อาทิ บทลงโทษ 0-2 ปีในสเปน หรือ 0-8 เดือนในเดนมาร์ก หรือ 0-4 เดือนในเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

มิติที่สามคือ การบกพร่องของการมีขอบเขตในการที่จะฟ้องร้อง หรือกล่าวหาต่อผู้อื่น ซึ่งแตกต่างจากการกระทำความผิดหมิ่นประมาทในบุคคลทั่วไป ที่ผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะดำเนินคดี และเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้กระทำความผิด แต่ภายใต้การดำเนินการของมาตรา 112 ทุกคนสามารถดำเนินคดีต่อบุคคลใดก็ได้ในข้อหามาตรา 112 และนี่เป็นการชักจูงไปสู่การใช้งานในทางที่ผิดด้วยเหตุผลอันมากมายที่ต้องการใช้ ซึ่งไม่ได้ช่วยในการปกป้องสถาบันกษัตริย์เลยด้วยซ้ำ มีกรณีที่ใช้กฎหมายมาตรา 112 เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ใครสักคนอาจจะฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ชอบของเขาหรือเธอก็เป็นได้ด้วยกฎหมายมาตรา 112 เพื่อให้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามเหล่านั้นเดือดร้อน ด้วยภาระทางกฎหมายที่พบเจอ หรือความกลัวได้ อีกกรณีหนึ่งที่ใช้กฎหมายมาตรา 112 มาปกปิดการทุจริต ยกตัวอย่าง เช่น นักการเมืองคนหนึ่ง หรือพลเมืองอาจจะเลือกที่จะอ้าง หรือชี้นำสังคมให้เชื่อว่า โครงการเหล่านั้นของเขาได้ทำลงไปในนามของสถาบันกษัตริย์ เพื่อที่จะลดประสิทธิภาพของการตรวจสอบเหตุทุจริตนี้ ด้วยการไม่อยากให้ใครมาตรวจสอบโครงการเหล่านั้นของเขาได้ เพราะความเกรงกลัวที่จะถูกดำเนินคดีในมาตรา 112

หลายๆ ประเทศจึงได้มีการเพิ่มขอบเขตที่ชัดเจนที่ไม่ใช่ว่าใครก็ตามจะสามารถดำเนินคดีได้ ไม่ว่าจะเป็นการตีขอบเขตต่อตัวสถาบันกษัตริย์ก็ดี หรือต่อตัวตำแหน่ง หรือฐานะอำนาจใดๆ ก็เช่นกัน ซึ่งระบุตัวตนชัดเจนว่าใครจะปฏิบัติหน้าที่อำนาจในนามสถาบันกษัตริย์ ซึ่งอาจจะเป็น นายกรัฐมนตรี เหมือนในญี่ปุ่น หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น ดังนั้นในระหว่างที่บางประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นจะมีกฎหมายหมิ่นประมาทสำหรับสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะ อย่างเช่น ประเทศไทยนั้นสอบตกทันทีในมาตรฐานความเป็นประชาธิปไตยในระดับนานาชาติ ด้วยเหตุแห่งสามอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น และประเทศไทยก็ไม่สามารถเดินหน้าได้ เฉกเช่นประเทศที่มีประชาธิปไตย หากกฎหมายนี้ไม่ถูกปฏิรูป หรือล้มเลิก

ในฐานะนักการเมือง คุณเห็นบทบาทของคุณอย่างไรในการต่อสู้กับปัญหากฎหมายมาตรา 112?

ในฐานะนักการเมือง นี่คือความรับผิดชอบของผมที่จะนำปัญหานี้ที่ยังมีอยู่ขึ้นมาให้ทุกคนได้เห็น ทั้งนำเสนอหนทางการแก้ปัญหาต่างๆ และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเพื่อประชาชนในสังคมของพวกเรากับทุกประเด็นปัญหามากมาย และประเด็นกฎหมายมาตรา 112 ก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน ปัญหาสามอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ผมมีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนา และผลักดันการแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อจะได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายมาตรา 112 และผมเชื่อว่าในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามจะต้องเผชิญหน้าสองอย่าง ซึ่งผมคาดหวังว่าตัวเองจะต้องเข้าไปร่วมเผชิญหน้าสิ่งเหล่านั้น

อย่างแรกคือ การเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมาย ซึ่งก็คือ การร่วมมือสนับสนุนกันอย่างแข็งขันในสภาที่จะผลักดันการแก้ปัญหาในเชิงกฎหมายที่จะปฏิรูป หรือล้มเลิกกฎหมายมาตรา 112 ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ กล่าวให้ชัดเจนเลยก็คือ นี่อาจจะต้องการการสนับสนุนอย่างมุ่งมั่นจากพรรคการเมืองต่างๆ ในสภา หรือการได้รับมอบหมายจากประชาชนผ่านการเลือกตั้งใหญ่ครั้งถัดไป โดยมีวาระเรื่องกฎหมายมาตรา 112 ในการหาเสียง หรือแถลงการณ์ของพรรคนั้นๆ แต่แรกเริ่ม และได้รับเสียงในสภารวมถึงที่นั่งในสภาด้วย

อย่างที่สองคือ การเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม ซึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นของความนิยมชมชอบที่จะสนับสนุนท่ามกลางสังคมที่เปิดกว้าง และมีเจตนาร่วมกันที่จะปฏิรูป หรือล้มเลิกกฎหมายมาตรา 112 นี้ กล่าวให้ชัดเจนเลยก็คือ นี่จะต้องมีแคมเปญใดขึ้นมา เพื่อช่วยให้มีการตื่นเร็วในประเด็นนี้ให้มากขึ้น และช่วยให้ประชาชนเข้าใจในความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหากฎหมายมาตรา 112 นี้

การผลักดันการเปลี่ยนแปลงบนการเผชิญหน้ากระบวนกฎหมาย และสังคมไม่ใช่สิ่งพิเศษใดๆ  แต่สองอย่างเหล่านั้นจะต้องได้พบเจอ และจำเป็นอยู่แล้วแน่นอน ด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงกฎหมายนั้น โดยเฉพาะประเด็นที่ยังมีการถกเถียงในสังคมโดยไม่มีการสนับสนุนจากสังคมแบบนี้เป็นเรื่องยากที่จะสำเร็จได้ หากในระหว่างที่สังคมที่ตื่นรู้ในประเด็นนี้ มันก็มีความหมายเช่นกันที่ต้องปกป้องประชาธิปไตยของพวกเขา และสิทธิของพวกเขา ถ้าหากมันไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมทางกฎหมาย

มุมมองต่อกฎหมายมาตรา 112 ของพรรคก้าวไกลเป็นอย่างไร?

ทางพรรคก้าวไกลก็ยังดำเนินในจุดยืน และความเชื่อของเราเสมอ ว่ากฎหมายมาตรา 112 นั้นมีปัญหาหลายอย่างที่ยังต้องแก้ไข เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงออก ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 พรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ยื่นร่างแก้ไขกฎหมายจำนวน 5 ฉบับต่อรัฐสภา อันมีจุดประสงค์ในการยืนหยัดเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทย

หนึ่งในห้าฉบับร่างแก้ไขกฎหมายนั้นได้ครอบคลุมส่วนเพิ่มเติมที่จะปฏิรูปกฎหมายการหมิ่นประมาท ซึ่งรวมถึงการหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์อีกด้วย (กฎหมายมาตรา 112) ถ้าผ่าน ร่างแก้ไขกฎหมายที่ยื่นไปนี้จะทำให้การโทษจำคุก และโทษทางอาญาจากความผิดหมิ่นประมาทในบุคคลทั่วไป และบุคคลในทุกสถานะของรัฐนั้น ถูกหายออกไป โดยการหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตริย์นั้นจะถูกย้ายไปอยู่ในส่วนใหม่ของกฎหมายอาญา ซึ่งจะมีโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือโทษจำคุก 0-1 ปี ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการปกป้องการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง และไม่สมควรในบังคับใช้กฎหมาย และร่างแก้ไขกฎหมายได้รวมไปถึงบทบัญญัติที่ระบุไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็นที่กล่าวถึงการกระทำที่ผิดพลาดจะต้องเป็นไปด้วยเจตนาที่ดี จึงจะยกเว้นโทษ อีกทั้งบทบัญญัตินั้นได้กำหนดสิทธิของการกล่าวโทษผู้อื่นนั้นเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของสำนักพระราชวังที่จะทำหน้าที่ฟ้องร้องกล่าวหาแทนในนามของสถาบันกษัตริย

ในร่างแก้ไขกฎหมายอื่นๆ นั้นรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายความผิดทางอาชญากรรมบนคอมพิวเตอร์ปี 2017 อีกด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการถูกใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นอาวุธปิดปากการวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐอีกด้วย การผ่านร่างกฎหมายนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้รัฐทำตามกลยุทธ์ SLAPP (กลยุทธ์ที่ว่าด้วยการใช้กำลังทางกฎหมายในการต่อต้านการมีส่วนร่วมจากสาธารณชน) ต่อพลเมืองทั้งหลาย และ การผ่านร่างกฎหมายนี้จะช่วยแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ให้นำไปใช้ปกป้องประชาชนให้ดียิ่งขึ้นจากการถูกกลั่นแกล้งโดยอำนาจแห่งรัฐผ่านการสืบสวนสอบสวน การดำเนินคดี หรือในส่วนอื่นๆ ของกระบวนการยุติธรรม

ตั้งแต่การยื่นร่างแก้ไขกฎหมายเหล่านั้น พรรคก้าวไกลได้ดำเนินการที่ผลักดันให้เกิดขึ้นในสภา และมีวาระในที่ประชุมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และหากได้ถูกนำเสนอในสภา สมาชิกของพรรคฯจะดำเนินการหาเสียงโหวตสนับสนุนจากพรรคอื่นๆ  เพื่อให้ได้เสียงข้างมากที่สุดในยามที่ร่างแก้ไขกฎหมายเหล่านี้อยู่ในวาระของสภา

ในฐานะที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ อะไรที่คุณสามารถนำมาช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเคลื่อนไหวรุ่นเยาว์ในประเทศไทย ในสถานการณ์ที่ต้องอยู่ในประเด็นอ่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ ?

ในการที่จะช่วยเหลือผลักดันนอกเหนือจากกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะแก้ไขรากฐานของปัญหาในปัจจุบันจากกฎหมายมาตรา 112 นั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการกดดันให้รัฐรับผิดชอบดูแลการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนในระหว่างกระบวนการยุติธรรมด้วย อาทิ สิทธิในการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือสิทธิในการประกันตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะถูกละเลย และไม่ได้รับการปกป้องโดยรัฐในยามที่ได้เกี่ยวข้องในคดีที่เกี่ยวพันธ์กับกฎหมายมาตรา 112

โดยส่วนตัวผมนั้น ผมพยายามที่จะดำเนินต่อเนื่องที่จะส่งเสียงให้มีการตื่นรู้ตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาของกฎหมายมาตรา 112 และขยายวงกว้างการสนับสนุนในสาธารณะเพื่อการปฏิรูป หรือการล้มเลิกกฎหมายมาตรา 112

เราจำต้องยอมรับว่าในประวัติศาสตร์การเมืองไทยนั้น ไม่ว่าจะประเด็นใดๆ  ล้วนเกี่ยวข้องกับสถาบันษัตริย์เสมอ อาทิ กฎหมายมาตรา 112 ที่ได้รับการตอบสนองอย่างแข็งขันทั้งสองฝ่าย ผู้ซึ่งทั้งหวังเห็นการเปลี่ยนแปลง และไม่หวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย  สิ่งหนึ่งที่มั่นใจว่าปัญหาต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่นั้นหากได้รับการแก้ไข และปฏิรูปเท่าที่จำเป็นมันจะเป็นการยกระดับหลักการของระบอบนี้ที่มีรัฐธรรมนูญ และมีกษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งดำเนินการภายใต้ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ผมเชื่อว่ามันจำเป็นต้อง "ลดขั้วความรุนแรง" และ "ทำให้เป็นเรื่องธรรมดา" ในประเด็นเหล่านี้

ในการขจัดขั้วความรุนแรงนั้น ผมได้พยายามที่จะสื่อสารให้มากขึ้น กับผู้คนเหล่านั้นที่ไม่มั่นใจ หรือไม่อยากเห็นว่า ประเทศนั้นต้องการการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงใดๆ ในทุกรูปแบบเลย (แม้แต่การพูดคุยเรื่องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงด้วย) ในขณะที่ต้องใช้วิธีการหลายอย่างพร้อมๆ กันนั้น วิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพที่ผมได้ค้นพบคือการนำเสนอกรณีที่จำเป็นต้องปฏิรูปด้วยการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมของปัญหา และพยายามที่จะสร้างจุดร่วมกันของปัญหาเหล่านี้ ก่อนที่กระโดดไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่ตั้งใจไว้ ในประเด็นของกฎหมายมาตรา 112 นั้น การไม่กระโดดไปที่วิธีการแก้ปัญหาก่อนในแบบที่พรรคฯ ชอบพูดนั้น ช่วยได้เสมอเมื่อเราต้องพูดกับผู้คนเหล่านั้นที่จะไม่เห็นด้วยโดยสัญชาตญาณทันทีที่เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นกฎหมายมาตรา 112 อย่างแรกในการจะเชื้อเชิญพวกเขาเข้าสู่บทสนทนาที่เกี่ยวกับความเชื่อของพวกเขาที่ว่าด้วยหลักการนั้นเป็นพื้นฐานของกฎหมายหมิ่นประมาท จากนั้นค่อยๆ พูดคุยทีละอย่างที่จะยกตัวอย่างให้เห็นว่าทำไมกฎหมายต่างๆ ในปัจจุบันขัดแย้งกับหลักการของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น หากพวกเขาเห็นด้วยว่าหลักการของกฎหมายหมิ่นประมาทต่อสถาบันกษัตรย์นั้นไม่ควรมีบทลงโทษที่รุนแรงเฉกเช่นกับการฆาตกรรมนั้น เราก็สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าบทลงโทษทั้งหลายสำหรับความผิดทั้งสองนั้นนี้อยู่ภายใต้กฎหมายไทยที่มีอยู่แล้วเหมือนกัน ซึ่งนี่แปลว่าพวกเขายิ่งกว่าเห็นด้วยด้วยซ้ำกับการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 โดยอย่างน้อย และนี่ก็ถือว่าอย่างน้อยพวกเขาก็ได้คำนึงถึงการลดโทษในความผิดนี้ ผมเชื่อว่านี่คือก้าวแรกของการเดินหน้าสู่การขจัดขั้วความรุนแรงที่จะทำให้ประชาชนเปิดมุมกว้างทางการเมืองมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่ออย่างน้อยเป็นการยอมรับในปัญหาทั้งหลายที่ยังมีอยู่ และกฎหมายมาตรา 112 นั้นจำเป็นต้องแก้ไขถึงแม้ว่าพวกเขาจะมีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

การทำให้เป็นเรื่องธรรมดา ผมเชื่อว่าเราควรมั่นใจได้ว่าการพูดคุยถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ควรถูกพูดถึงด้วยเจตนารมณ์ที่คล้ายๆ กับการพูดคุยถึงสถาบันอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน การใช้อำนาจใดๆ ของรัฐ อันซึ่งเป็นอำนาจที่ประชาชนมอบให้ผ่านการมีรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจการใช้จ่ายใดๆ ของรัฐ อันซึ่งเป็นอำนาจการใช้จ่ายด้วยภาษีที่ประชาชนมอบให้นั้นเหล่านี้ควรจะถูกเปิดให้ตรวจสอบโดยสาธารณะได้ ไม่ว่าความประสงค์ใดๆ ที่จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ (หรือสถาบันอื่นๆ ของรัฐ) จะต้องได้รับการสนับสนุนจำนวนมากจากทุกภาคส่วนของสังคม หรือแม้แต่จะได้รับการสนับสนุนแค่เล็กน้อยก็ตาม ประเทศควรจะมอบความปลอดภัยแก่ทุกคนได้ที่จะเปิดพื้นที่ที่ปลอดภัยให้ได้พูดคุยกันในประเด็นเหล่านี้ มันจะตอกย้ำกับประชาชนด้วยว่าพวกเขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจทั้งหลายนี้และได้รับฟังทุกความเห็นอย่างทั่วถึง ยกตัวอย่างที่หนาแน่นอย่างหนึ่งคือ ความพยายามของผมที่จะทำให้เป็นเรื่องธรรมดาในประเด็นหลายๆ อย่างที่ผมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และสอบสวนในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างงบประมาณในส่วนของงบประมาณของสำนักพระราชวังสำหรับการใช้จ่ายในปีถัดไป ซึ่งผมได้ใช้มาตรฐาน และความเข้มงวดในการตรวจสอบระดับเดียวกันกับเรื่องอื่นๆ  หรือหน่วยงานอื่นๆ การพยายามที่จะขจัดขั้วความรุนแรง และทำให้เป็นเรื่องธรรมดาในประเด็นเหล่านี้นั้นเป็นการที่จะได้เสียงสนับสนุนจากภาคประชาชน เพื่อที่จะเดินหน้าฉันทามติต่างๆ ในระบบประชาธิปไตยบนประเด็นเหล่านั้นได้ และขับเคลื่อนประเทศนี้ไปข้างหน้า ซึ่งเป็นอะไรที่ผมก็กำลังทำอย่างแข็งขันในการทำงาน เช่นกัน

ประเทศไทยนั้นได้ทนทุกข์จากการแบ่งขั้วทางการเมืองด้วยการนำเส้นที่วาดอย่างต่อเนื่อง และขีดขั้นโดยมีสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้อง ในความเห็นของคุณ ประเทศไทยสามารถรักษาให้ดีขึ้นจากสิ่งทนทุกข์นี้อย่างไร ในทางมุมหนึ่ง พอจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ประเทศไทยจะลุกขึ้นมามีฉันทามติร่วมกันในประเด็นทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรา 112 ได้ ?

ในระหว่างที่ความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมไม่ว่าจะประเด็นใดๆ  ก็ตาม การมาถึงของการมีฉันทามติร่วมกันนั้นต้องมีสองปัจจัยมาก่อนแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการถกเถียงพูดคุยเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบันนั้นยังคงขาดสองปัจจัยที่ว่า และเราต้องสร้างมันด้วยกันในสังคม

ปัจจัยแรกคือ การมั่นใจว่า สถานที่ปลอดภัยที่พูดคุยได้ นั้นจะต้องปกป้องสิทธิของทุกคนในการที่จะพูดคุยอย่างอิสระเสรีในเจตนารมณ์ที่ตรงไปตรงมา และร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็นโดยไม่มีความกลัวใดๆ จากการถูกดำเนินคดี ซึ่งในตอนนี้ถือเป็นภัยคุกคามหากมีเกิดขึ้นในตอนนี้ด้วยการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ไม่ว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือเสียดสีใดๆ ล้วนทำให้คุณเสี่ยงอยู่เสมอที่จะโดนดำเนินคดีในความผิดการหมิ่นประมาทที่จะนำมาซึ่งการถูกจำคุกอย่างน้อยสามปีแม้ว่าจะเป็นความผิดเล็กน้อย ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 คือสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการมีปัจจัยแรกอันนี้สำหรับการถกเถียงพูดคุยบนประเด็นใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องมีเพื่อให้มีการมีฉันทามติต่างๆ ที่กว้างขึ้น

ปัจจัยที่สอ งคือ ความเป็นธรรมที่จะตัดสินใจกระบวนการที่มีความเป็นประชาธิปไตยต่างๆ นั้นเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยไม่มีความเป็นธรรมในการตัดสินใจนั้นเป็นการบ่อนทำลายการฟังความต้องการของประชาชนอย่างเดียว แต่ไม่ใส่ใจ อย่างไรก็ดีแม้แต่รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้นก็ไม่ได้มาซึ่งกระบวนการที่เป็นธรรม แต่ถูกเขียนขึ้นโดยคนไม่กี่คนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องในแวดวงระบอบทหาร ที่ผ่านประชามติในปี 2559 โดยไม่มีความอิสระและแม้แต่ความเป็นธรรม อีกทั้งยังประกอบด้วยบทบัญญัติต่างๆ  ที่เพิ่มอำนาจให้แก่บุคคลที่ประชาชนไม่ได้เลือกไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อที่จะควบคุมระบอบการปกครองที่มีอยู่ ในระหว่างที่การยื่นร่างต่างๆ เพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ได้ดำเนินต่อไปในการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เช่นกันที่ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาที่มีความเป็นประชาธิปไตยในมาตรฐานเดียวกันในระดับนานาประเทศที่ให้ความสำคัญประชาธิปไตยด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมในการที่จะร่วมทำงานกับความต้องการต่างๆ ของประชาชน เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และมีเจตนา และภาพรวมอย่างตรงไปตรงมาของทุกๆ กระบวนการนิติบัญญัติ

ดังนั้น การแก้ไขปัญหากฎหมายมาตรา 112 นั้น รวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชนนั้นมีความสำคัญสองระดับ คือการที่จะปรับทุกข์บำรุงสุขในขั้วความรุนแรงก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และในการค้นหาฉันทามติในประชาธิปไตยอันใหม่เพื่อให้ประเทศได้เดินหน้าต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net