Skip to main content
sharethis

112WATCH คุยกับนักวิชาการ ถึงมุมมองต่อ ม.112 ผลต่ออาเซียน ในประเด็นสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการสร้างการตื่นรับรู้อย่างชัดเจนในประชาคมนานาชาติถึงการบังคับใช้กฎหมายนี้

เปรม สิงห์กิล (Prem Singh Gill)

 

โครงการ 112WATCH สัมภาษณ์ เปรม สิงห์กิล (Prem Singh Gill) นักวิชาการที่ปัจจุบันประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้มาตรา 112 ในทางที่ไม่ชอบธรรม จากมุมมองที่ไม่ใช่ไทย ความเห็นของเขาต่อเรื่องอาเซียนและการสางเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนน่าสนใจอย่างมาก เขามองว่าอาเซียนขากประสิทธิภาพในการบริหารประเด็นเหล่านี้ แม้ว่าอาเซียนจะพยายามเล่นบทบาทของการเป็นองค์กรที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เขามองว่า มันยังเป็นหนทางอีกยาวไกล หากอาเซียนต้องการได้รับการนับถือว่าเป็นองค์กรที่จริงจังต่อการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้งหลัก

112Watch: ในฐานะชาวต่างชาติ เห็นผลกระทบของการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ในประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้อย่างไร ?

เปรม สิงห์กิล: ในมุมมองของผม การบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ในการยัดเยียดความเป็นอาชญากรรมในรูปแบบต่างๆที่ถูกคิดค้นการใช้งานมาโดยผู้คนต่างๆ นั้นไม่มีขอบเขตจำกัดของการยัดเยียดใดๆ ด้วยองค์ประกอบที่คลุมเครือของอาชญากรรม และการกระทำหรือการแสดงออกดังกล่าว สามารถตีความได้แตกต่างกัน และกำกวม จึงไม่สมเหตุสมผลที่จะใช้ในศาล ด้วยเหตุนี้ บุคคลธรรมดาบางคนอาจถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายมาตรา 112 โดยไม่มีคำตัดสินหรือเหตุผลที่ชัดเจน เพราะเหตุนี้แม้แต่บุคคลธรรมดาทั่วไปเองก็อาจจะกลายเป็นผู้ถูกกล่าวหาได้ ซึ่งการกล่าวหานั้นสามารถทำได้โดยไม่ต้องให้การข้อมูลที่ชัดเจนใดๆ อย่างไรก็ดีความอดทนที่จะไม่วิพากษ์วิจารณ์กฎหมายข้อห้ามมากมายจากสถาบันกษัตริย์ไทยก็เป็นศูนย์แล้ว ซึ่งได้การวิพากวิจารณ์รวมถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยด้วย อีกทั้งก็ยังถามถึงสิทธิเสรีภาพของการแสดงออกต่างๆกับการเมืองปกครอง อันที่ซึ่งมีอยู่บนพื้นฐานกฎหมายสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ ที่จริงๆ แล้วไม่ควรต้องถูกกล่าวโทษเป็นข้อหาร้ายแรงด้วยซ้ำ

 

การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในไทยส่งผลต่อความพยายามส่งเสริมสันติภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างไรภายในประเทศภูมิภาคใกล้เคียง ?

การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยนั้นได้ส่งผลเสียต่อการพยายามส่งเสริมสันติภาพ และสิทธิมนุษยชน เพราะว่าการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยนั้นสามารถกล่าวหาใครก็ได้ โดยที่ดำเนินการได้แม้ว่าบุคคลทั่วไปก็ตาม และจะต้องดำเนินคดี เพราะได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนภายใต้ประมวลกฎหมายด้วยวิธีการพิจารณาความอาญาของกฎหมายไทย และนี่อาจจะข้อด้อย และผิดปกติอย่างมากสำหรับประชาชนไทยใครก็ตามที่สามารถดำเนินคดีต่อผู้อื่นที่ต้องการจัดการได้ทันที แต่จากการสังเกตการณ์ของผมพบว่า ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจขั้นพื้นฐานขงประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำให้พวกเขาใช้สิทธิของตนเอง โดยไม่มีแผนการกลยุทธ์ใดๆ นอกจากถูกควบคุม และจ่ายเงิน โดยตัวแทนทางการเมือง เพื่อให้ไปประท้วงต่างๆ (โดยสิ่งเหล่าเราไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย) อินเดียถือเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่ซึ่งการเมืองเริ่มต้นจากในหมู่บ้าน และจบลงที่ในเมืองใหญ่ และน้อยมากที่ผู้คนจะถูกควบคุม และจ่ายเงินเพื่อประท้วงต่างๆ แทนตัวแทนทางการเมือง มันแน่นอนว่าพวกเขานั้นโดยไม่ได้เงินอะไร มากไปกว่านั้นการกระทำดังกล่าวของประชาชนไทยนั้นเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองเสียมากกว่าที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันไทยกษัตริย์ในทางเสื่อมเสีย และมันเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมในตอนนี้ ระหว่างที่คนวัยหนุ่มสาวไทยมีการแสดงออกความคิดของพวกเขา ผู้ซึ่งได้ถูกดำเนินคดีนั้น หลายต่อหลายครั้งการขอประกันตัวได้ถูกปฏิเสธ แม้แต่การขอทัณฑ์บนก็ยังถูกปฏิเสธ ในจุดนี้นั้นตั้งแต่ประเทศไทยได้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญมานั้นตั้งแต่ปี 1930 ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรจากการเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลย

พอจะแนะนำแนวทางการสร้างการตื่นรับรู้อย่างชัดเจนในประชาคมนานาชาติถึงการบังคับใช้กฎหมายนี้ ?

ในการที่จะสร้างการตื่นรับรู้ในประชาคมนานาชาติของการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยนั้น มันมีรายงาน และกรณีศึกษาได้ถูกเขียนเอาไว้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯที่เกินกว่าเหตุเอาไว้ในประเทศไทยอยู่แล้ว นี่คือสิ่งที่ประชาคมนานาชาติได้เข้าถึง และตื่นรับรู้ของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ รวมถึงการถูกปฏิบัติอย่างไรต่อประชาชนไทยในเรื่องนี้ การศึกษาของประชาคมนานาชาติในกรณีศึกษานี้จะเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ได้ตื่นรับรู้ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือในอีกทางหนึ่ง รัฐมหาอำนาจ หรือรัฐที่ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนจะต้องเข้ามาดำเนินการ และจัดการประชุม หรือเวิร์คช็อปให้แก่ผู้นำในรุ่นใหม่ และคนวัยหนุ่มสาว และอย่างไรก็ดีก็ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนไทย และผู้นำของพวกเขาด้วย

คุณคิดอย่างไรกับคำกล่าวที่ว่า กฎหมายนี้สามารถปรับใช้ร่วมกันกับกฎหมายในโลกยุคใหม่ได้ ?

ในส่วนตัวแล้ว ผมไม่คิดว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศไทยสามารถปรับใช้ร่วมกันกับกฎหมายในโลกยุคใหม่ได้ เพราะว่ามันไม่สอดคล้องในระดับสากลในแง่มุมของการรับประกันเสรีภาพของการแสดงออก และสิทธิแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ที่สำคัญกฎหมายนี้ไม่ควรจะอยู่ในประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างประเทศไทยด้วยซ้ำ ผมขอยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่ได้ยกเลิกกฎหมายนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี 1947 และแม้ว่าประเทศสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งเป็นระบอบราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญนั้นตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นนี้ยังทำตัวดีกว่าในประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามเสียอีก ดังที่กล่าวมาให้ข้างต้นนั้น ประเทศไทยจำเป็นจะต้องตระหนักได้แล้วว่าจุดยืนใน

ประเด็นนี้ในทางกฎหมายระดับสากล และบรรทัดฐานนั้นถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยิ่งจะทำให้การต่อต้านสถาบันกษัตริย์ไทยนั้นเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

อาเซียน มีบทบาทอย่างไรบ้างในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยในบริบทของการบังคับใช้กฎหมายนี้ในไทยเกินกว่าเหตุ ?

อาเซียนนั้นมีบทบาทในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย ที่จะดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความเสถียรภาพภายในประเทศ ถ้าหากว่ามีการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทยเกินกว่าเหตุ อาเซียนก็จะเข้ามาสอดส้อง และส่งเสริมความยั่งยืนของประชาคมในประเทศ ในบริบทของการปกป้องประชาชนจากการถูกกลั่นแกล้ง แต่ในความเห็นผมนั้น อาเซียนมีบทบาทส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยน้อยมาก เพราะว่าหลายๆประเทศในกลุ่มนั้น มีมุมมองของวิสัยทัศน์ที่ถอยหลังกลับไปเป็นตัวตนของตนเองในอดีตอย่างที่เคยเป็น เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คอมมิวนิสต์ อนุรักษ์นิยมขวาจัด หรือรูปแบบการปกครองที่รุนแรง เป็นต้น ซึ่งยังคงมีอยู่ และพวกเขาค่อนข้างที่จะเข้มข้นในจุดยืนแบบนี้ขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอาเซียนยังคงมีหนทางต่างๆให้ดำเนินการหลายอย่าง แต่ถ้าพวกเขาตั้งใจที่จะพิจารณาตัวเองใหม่ในบทบาทดังกล่าวนั้น อย่างแรกพวกเขาต้องกำหนดความคิดใหม่และตระหนักว่า สิ่งๆนี้ที่ยังค้างคานั้นควรจะต้องจัดการต่อหรือไม่ ที่สำคัญกว่านั้น แม้ว่าจะต้องยอมรับเข้าใจวัฒนธรรมของตัวประเทศพวกเขานั้น และการประยุกต์ปรับใช้ของมุมต่างๆเกี่ยวกับสิทธินั้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องมีเช่นกัน มากกว่านั้นต้องมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยด้วย อันซึ่งมีความหมายในจุดเดียวกัน แต่การปฏิบัติการในเรื่องนี้ และการริเริ่มนั้นจะต้องผ่านทางวัฒนธรรมของพวกเขาที่ซึ่งจะต้องมีสมดุลระหว่างการปฏิบัติการค่อยๆ แทรกซึมไป และค่อยๆ เน้นไปเรื่อยๆ 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net