Skip to main content
sharethis

112WATCH คุยกับนักวิชาการด้านสันติภาพฯ มหาวิทยาลัยคันไซไกได ญี่ปุ่น ปมใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ เกินกว่าเหตุในไทย แนะคนขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปค้นหาพันธมิตรที่เป็นกลางทางการเมือง รวมทั้งใช้กลไกล UPR สำหรับสอดส่องดูแลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนของ UN ผลักดันสู่การหารือกันและปฏิรูป

 

มาร์ค โคแกน (Mark S. Cogan )รองศาสตราจารย์ ภาคการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยคันไซไกได ญี่ปุ่น 

โครงการ 112WATCH สัมภาษณ์ มาร์ค โคแกน (Mark S. Cogan )รองศาสตราจารย์ ภาคการศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยคันไซไกได ญี่ปุ่น เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ หรือ lese-majeste  เกินกว่าเหตุในไทย

โดยมีรายละเอียดบทสัมภาษณ์ดังนี้ : 

112WATCH: ในฐานะผู้ที่ไม่ใช่ชาวไทย และไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย คุณมีความคิดเห็นอย่างไรในปัจจุบันที่มีการบังคับใช้กฎหมาย lese-majeste รุนแรงเกินเหตุต่อการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์?

Cogan: การใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นอาวุธทางการเมืองนั้นถือเป็นปัญหาได้เลย และมันทำให้ผมกังวลมาสักพักแล้ว อีกทั้งยังใช้กฎหมายตัวนี้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในการปราบปรามตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2557 ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงเวลาแห่งการสูญเสียกษัตริย์ภูมิพลผู้ล่วงลับ ในส่วนของกลุ่มการเมืองสุดโต่งได้เพิ่มความเข้มข้นการเล่นงานผู้อื่นด้วยกฎหมายมาตรา 112 ท่ามกลางสายตาของชาวไทยทั้งหลาย บางคนในกลุ่มของพวกเขาถึงกับมองหาผู้กระทำผิดในออนไลน์ หรือแม้กระทั่งตอบโต้อย่างรุนแรงกับเพื่อนบ้านของพวกเขาที่กล่าวถึงพาดพิงในเชิงลบกับสถาบันกษัตริย์ มันเป็นสิ่งเดียวที่ใช้งานมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในฐานะของกฎหมายในเชิงอาวุธทางการเมืองมาควบคุมผู้เห็นต่าง นี่ไม่ได้เป็นที่กำลังกังวลของชาวไทยเท่านั้น แต่รวมถึงชาวต่างชาติผู้ซึ่งกำลังวางแผนจะมาเยือนประเทศไทย อีกทั้งหลายชาติได้เพิ่มคำแนะนำประชาชนในชาติของตนที่จะเดินทางมาเยือนประเทศไทยเกี่ยวกับกฎหมาย lese-majeste ซึ่งมันเป็นที่กำลังกังวลอย่างยิ่ง เพราะในมุมมองของนักท่องเที่ยวกับมองว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในเส้นทางการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยประเทศหนึ่ง

112WATCH: มีหลายกลุ่มในประเทศไทยที่พยายามผลักดันที่จะปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 แต่ยังคงพบเจอกับอุปสรรคมากมาย และในความพยายามที่จะช่วยผลักดันจากประชาคมนานาชาติ อะไรบ้างที่พอจะช่วยให้เรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น?

Cogan: ในกลุ่มคนของผู้สนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 และสิทธิมนุษยชนในนานาชาติได้ผลักดันเรื่องนี้เป็นหลัก โดยมีการเรียกการผลักดันเรื่องนี้ว่า "ขนามนาม และประณามซะ" ต่อรัฐบาลไทย แต่นั้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามันไม่มีผลกระทบอะไรอย่างสิ้นเชิงเลย แต่ถ้าเราเลือกไม่กล่าวถึงรัฐบาลไทย แต่จะเลือกกล่าวถึงกลุ่มองค์กรที่พยายามผลักดันในประเทศไทย และหลายๆ ฝ่ายจากนานาชาติ นั้นจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดีที่สุดต่อรัฐบาลไทย ที่ผสมผสานการใช้การสนับสนุนจากนานาชาติ และการกล่าวถึงเรื่องนี้ในมุมมองทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งความสนใจของสื่อต่างๆ จะต้องขับเคลื่อนข่าวสถานการณ์เรื่องกฎหมาย lese-majeste ด้วยเช่นกันจึงจะดีที่สุด โดยเลือกข่าวสถานการณ์หลังจากมีการบังคับการกฎหมายมาตรา 112 ที่เกินกว่าเหตุ หรือเหตุการณ์ล่าแม่มด ซึ่งจะเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมที่สุดในการเติมเชื้อไฟด้วยสื่อข่าวหลายๆสำนักเพื่อนำมาซึ่งการพูดคุยหรือหารือในระดับนานาชาติ อีกทั้งจะเป็นการสร้างความตื่นตระหนกในกฎหมายมาตรา 112 ในขณะเดียวกันผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปฯจะต้องตระหนักด้วยว่าช่วงจังหวะเวลาของความสนใจของสื่อนั้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่อาจจะถูกหยุดหายโดยข่าวเรื่องอื่นได้ และความสนใจของสาธารณะชนก็จะเงียบหายไปด้วย โดยวัฏจักรของข่าวนั้นมีระยะเวลา 24 ชั่วโมง หรืออาจน้อยกว่าด้วยซ้ำ อีกทั้งส่วนสำคัญอีกอย่างคือการพูดถึงการปฏิรูปในมุมมองทางการเมืองนั้น ผู้สนับสนุนการปฏิรูปต่างๆ จะต้องรักษาระยะห่างกับม็อบทางการเมือง แม้จะเห็นด้วยกันทุกประการแต่นั้นก็เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือต่อรัฐบาลไทย และสุดท้ายแล้วการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 ก็จะเดินหน้าแม้ว่าจะเชื่องช้าอย่างหอยทากก็ตาม ในขณะเดียวกันก็ไม่มีกลุ่มบุคคลใดของรัฐบาลไทย (หรือของสถาบันกษัตริย์) ที่คอยขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้กลายมาเป็นการพูดถึงการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 ในเชิงทางการเมืองเลย

สถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดก็ตาม อาจสามารถกลายเป็นตัวแปรของการขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูป หรือเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนั้น ข้อสำคัญคือการค้นหาพันธมิตรที่เป็นกลางทางการเมือง และแต่งตั้งให้เป็นบุคคลทางการเมือง หรือกลุ่มบุคคลทางการเมืองที่จะคอยควบคุมทิศทางการหารือร่วมกันในเชิงทางการเมืองให้เดินหน้าต่อไปได้ และยังมีองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเหมาะสมสำหรับสอดส่องดูแลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนผ่าน the Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งเป็นกระบวนกลไกที่ดูแลโดย United Nation Human Rights Council โดยเมื่อปีที่แล้ว ประเทศไทยมีการดำเนินการกระบวนการดังกล่าวที่เจนีวา เช่นเดียวกันกับทุกประเทศที่ปฏิบัติทุก 4 ปีครึ่งนั้นพบว่า ประเทศไทยก็ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีมากนัก และผมเห็นว่าเหล่าผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปกฎหมายมาตรา 112 ยังไม่กระตือรือร้นมากพอที่จะไปถึง กระบวนการ UPR ยิ่งกว่านั้นกลุ่มผู้ที่สนับสนุนการปฏิรูปฯ จะต้องเตรียมตัวให้ดีกว่านี้สำหรับวาระของ UPR ครั้งถัดไป เฉกเช่นเดียวกันกับวาระอื่นๆ ของ United Nation ที่ประเด็นนี้สามารถเกี่ยวพัน และแสดงให้เห็นด้วยตัวของมันเองได้ เพื่อที่จะไปได้มากกว่าการ "ขนามนาม และประณามซะ" และจะนำไปสู่การหารือกันว่าการปฏิรูปจะเป็นไปในทิศทางไหน และจะทำให้ได้นโยบายที่มีทางเลือกอย่างสมเหตุสมผล หรือการได้พูดคุยกันทั้งสองฝ่ายโดยตรงที่ซึ่งจะมีการพลิกโฉมสำคัญของสถานการณ์การใช้กฎหมาย lese-majeste ก็เป็นได้

112WATCH: สถาบันกษัตริย์ไทยเองก็เป็นศูนย์กลางของวิกฤตทางการเมืองไทยมาโดยตลอดยิ่งกว่านั้นกษัตริย์ไทยก็ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่สนใจในการที่จะปฏิรูป ถ้ากระแสของการปฏิรูปยังคงดำเนินต่อไป คุณคิดว่าจะเห็นอนาคตของประเทศไทยเป็นอย่างไร?

Cogan: การปฏิรูปส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์มักจะสร้างข้อถกเถียง และแน่นอนอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการโต้ตอบกลับจากกลุ่มคนที่หวังตั้งใจให้คงสถานะภาพความเป็นต่อของสถาบันกษัตริย์ต่อไป และที่ชัดเจนยิ่งกว่าคือผู้ที่มีอิทธิพลในวังก็อยากจะเห็นการคงสถานะเช่นนี้ไว้เช่นกัน ผมไม่เชื่อว่าการปฏิรูปที่ผ่านมาจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหลักที่ก่อให้เกิดสังคมไทยร่วมสมัยที่พลิกโฉมได้ แต่ในปีสองปีที่ผ่านมานั้นการแสดงออกทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมานั้นได้เกิดขึ้นนั้นเพราะข้อห้ามในบริบทของสังคม และการเมืองที่มีข้อห้ามนั้นได้พังทลายลง ผลกระทบของภัยคุกคามจากการถูกจับกุมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ลดลงซึ่งเห็นได้จากบันทึกจำนวนการจับกุมภายใต้ข้อหาที่เกี่ยวกับกฎหมายมาตรา 112 มากไปกว่านั้นชาวไทยหลายคนก็กล้าที่จะพูดถึงอะไรก็ตามที่หลายปีที่ผ่านมาพวกเขาพูดถึงไม่ได้ ซึ่งจะนำมาด้วยการถูกจับ หรือได้รับโทษขั้นรุนแรง ดั่งหลักฐานเมื่อไม่นานมานี้อดีตข้าราชการได้ถูกจำคุก 43 ปี และนี่จะยิ่งส่งผลกระทบในระยะเวลาอันใกล้นี้ให้มีภาวะมืดมนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อระบอบการปกครอง และสถาบันกษัตริย์ที่ยังคงอยู่อีกด้วย เพิ่มเติมในวลาต่อมาด้วยการปราบปรามหลายต่อหลายครั้ง และลดความชอบธรรมต่อประชาชนลง พฤติกรรมดังกล่างก็ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลเสียต่อสถาบันกษัตริย์อย่างมากที่สุด และไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย

112WATCH: ในส่วนของรัฐบาลในโลกตะวันตกเองก็ไม่เต็มใจที่จะเริ่มประเด็นของกฎหมายมาตรา 112 และประเด็นการปฏิรูปสถาบันกษัตตริย์ไทยแต่อย่างใด นั้นก็เพราะพวกเขายังมีผลประโยชน์ต่างๆ จากประเทศไทย เราเองก็ไม่อยากให้พวกเขาก็ลำบากใจต่อการที่ต้องขัดกับผลประโยชน์ของประเทศชาติพวกเขา แต่มันพอจะมีหนทางอื่นของพวกเขาที่จะผลักดันการส่งเสริมประชาธิปไตยในประเทศไทยอันซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนพึ่งมีของชาวไทยหรือไม่?

Cogan: ผมบอกเลยว่า นี่คือความท้าทายสุดๆ ซึ่งจะเห็นได้จากงานของ UPR ที่จะพบว่า รัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยที่จะตอบโต้ได้ดีเสมอต่อรัฐบาลในโลกตะวันตกในประเด็นกฎหมายมาตรา 112 ที่ผ่านมาในการประชุม UPR หลายๆ ครั้งจะยังคงได้ยินประโยคที่กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ไทยว่า "เป็นเสาหลักของชาติ" อยู่เสมอๆ และแม้ว่ารัฐบาลไทยจะได้รับคำแนะนำที่ดีจากประเทศอื่นๆ ที่กังวลการใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นอาวุธทางการเมืองที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ปฏิเสธคำแนะนำนั้น แต่เลือกที่จะรักษาความสัมพันธ์ต่อไปกับโลกตะวันตกต่อไป สหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามาได้เลือกที่จะตักเตือกรัฐบาลไทยมาตั้งแต่การรัฐประหาร 2557 และก็มีนักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า การพูดถึงของประธานาธิบดีโอบามาในประเด็นประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนนั้น ทำให้ประเทศไทยตีตัวออกห่าง และหันไปซบอกจีนแทน ในขณะเดียวกันนักวิชาการบางคนกล่าว่า การกระทำของรัฐบาลไทยนี้แค่ "เอนเอียงตามกระแสลม" เช่นเดียวกันกับต้นไผ่เท่านั้น ซึ่งทำให้ประเด็นการใช้กฎหมายมาตรา 112 แข็งกร้าวขึ้นไปเรื่อยๆ แต่จากการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตของผมต่อสหประชาชาตินั้น ดูเหมือนว่าประเด็นนี้จะอ่อนไหวมากๆ ต่อความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องถูกตัดทิ้งออกไปเสียก่อนที่เวทีจะเริ่มด้วยซ้ำ และเป็นการน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไม่ได้มีการถกเถียงประเด็นนี้ในเวทีโลกอย่างที่สหประชาชาติ

112WATCH: ในตอนนี้ประเทศไทยก็เหมือนเป็นเงาของการกระทำของรัฐบาลเผด็จการเมียนมาร์ที่ผลของการกระทำนั้นได้ทำร้ายสิทธิมนุษยชนต่อสายตาโลก คุณมีคำแนะนำใดมั้ยต่อกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิรูปฯชาวไทยที่จะสื่อสารต่อทั้งโลก และทำให้พวกเขาได้รู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพื่อที่จะไม่ให้เป็นไปมากกว่านี้เช่นเดียวกับเมียนมาร์?

Cogan: ผมไม่สบายใจอย่างยิ่งต่อการที่ประเทศไทยเป็นเงาของเมียนมาร์ด้วยระดับความรุนแรงของการกระทำของรัฐ และการกระทำของรัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมาร์ที่เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 อันซึ่งทำร้ายต่อสิทธิมนุษยชนที่เกินต่อขีดจำกัดไปแล้ว และยังไม่ได้กลายเป็นจุดสนใจของการเป็นเหยื่อของชาวไทย และชาวเมียนมาร์ต่อสายตาโลกเลย การกระทำเช่นนี้ของกองทัพเมียนมาร์นั้นได้เคยเกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทยที่ขาดการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนอย่างสิ้นเชิงในปี 2516 2519 2534 2553 มาแล้ว และล่าสุดด้วยการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ที่เกินกว่าเหตุด้วยบทลดโทษ ความรุนแรงของกำลังตำรวจทหาร การคุมขัง และการถูกจับเข้าค่ายปรับทัศนคติ คำแนะนำของผมในสถานการณ์นี้คือการไม่เปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกับเมียนมาร์ แต่มุ่งหน้าหาโอกาสที่จะแชร์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยบนสื่อต่างประเทศ และนั้นจะเป็นโอกาสทองของประเทศไทย ซึ่งผมเองก็ตั้งใจ และอยากให้เกิดขึ้นจริง ตอนที่รัสเซียได้บุกรุกรานยูเครนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้น ยิ่งจะทำให้เห็นภาพสะท้อนได้ชัดถึงชะตากรรมของชาวเมียนมาร์นั้นไม่มีเลย และความสนใจของทั้งโลกต่อประชากรอัฟกันนิสถานที่ต้องพบเจอกับวิกฤตมนุษยธรรมนั้นได้ถูกหลงลืมไปโดยสื่อนานาชาติ การที่เราทำอะไรไม่ได้เลยในนามของมนุษย์ด้วยกันที่ช่วงชิงความสนใจจากทั้งโลกจากหลายๆ วิกฤตพร้อมกันนั้น มันเป็นการที่ท้าทายอย่างหนักแน่น

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net