ยุบสภา ไม่กระทบ 250 ส.ว. ยังอยู่ แถม 'มีอำนาจ' เลือกนายกฯ หลังเลือกตั้ง 66

ยุบสภา ไม่กระทบ ‘ส.ว.’ 250 คน ยังอยู่ได้ถึงวันที่ 11 พ.ค. 2567 และมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง 66 การยุบสภาครั้งนี้ส่งผลไปสู่การเปลี่ยนแปลง ส.ส. เท่านั้น แต่ ส.ว.ชุดพิเศษ ไม่ได้รับผลกระทบในเชิงโครงสร้าง

 

22 มี.ค. 2566 iLaw รายงานว่า แม้เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาจะประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 แล้ว โดยหลักการยุบสภาจะมีผลกับ “สภาผู้แทนราษฎร” หรือ ส.ส. ชุดปัจจุบันที่จะหมดหน้าที่และกระบวนการต่อไปคือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดต่อไปเพื่อเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติต่อ

อย่างไรก็ดี การยุบสภามีผลต่อวุฒิสภาในเชิงปฏิบัติงานบางอย่างที่จะทำไม่ได้ระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ยังไม่เข้าทำงาน ขณะที่เชิงโครงสร้าง วุฒิสภา ชุดพิเศษ ตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ 2560 จะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไป

โดยในรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 268 กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดพิเศษ 250 คน มีที่มา 3 ทาง คือ

1) ส.ว. โดยตำแหน่งจากปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

2) 194 คน มาจากการสรหาโดยคณะกรรมการ สรรหาจำนวน 400 คน เพื่อให้ คสช. คัดเลือกให้เหลือ 194 คน และคัดชื่อสำรองอีก 50 คน

3) กกต. จัดให้กลุ่มอาชีพเลือกกันเอง 200 คนและให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คัดเลือกให้เหลือ 50 คน

ส.ว. ชุดพิเศษมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ซึ่งการแต่งตั้งวุฒิสภาชุดพิเศษนี้ มีผลในวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น ส.ว. ชุดพิเศษ จึงจะทำงานไปจนถึง 11 พฤษภาคม 2567

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 ยังกำหนดให้วุฒิสภาชุดพิเศษ มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรด้วย ดังนั้น การยุบสภาครั้งนี้จึงส่งผลไปสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าตาของ ส.ส. เท่านั้น แต่ ส.ว.ชุดพิเศษ ไม่ได้รับผลกระทบในเชิงโครงสร้าง

อย่างไรก็ดี ในช่วงยุบสภา วุฒิสภาจะประชุมไม่ได้ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 126) ยกเว้น

1) กรณีที่เป็นการประชุมเพื่อลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลมาดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจวุฒิสภาไว้

2) กรณีที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก วุฒิสภาสามารถประชุมในนาม “รัฐสภา” ได้ คือกรณีที่เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 17 และมาตรา 19 การรับทราบร่างกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา 20 การพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่องคมนตรีเป็นผู้เสนอ ตามมาตรา 21 การให้

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท