Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ที่ประชุม กมธ.แรงงานชี้ บังคับลาออกต้องจ่ายค่าชดเชย การชุมนุนมทำได้ไม่กระทบงาน > ที่ประชุม กมธ.แรงงานชี้ บังคับลาออกต้องจ่ายค่าชดเชย การชุมนุนมทำได้ไม่กระทบงาน

ที่ประชุม กมธ.แรงงานชี้ บังคับลาออกต้องจ่ายค่าชดเชย การชุมนุนมทำได้ไม่กระทบงาน

Submitted by Nodame on Thu, 2019-12-19 18:15

ต่อกรณีที่มีความเป็นไปได้ว่ามีการบังคับพนักงานบริษัทให้ลาออกเพราะเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ที่ประชุม กมธ.แรงงานเสนอเรียกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ยันจุดยืนทางการเมืองไม่เกี่ยวกับการทำงานสื่อ ไม่มีความผิดและไม่กระทบต่องาน ‘จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา’ เลขานุการ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ ระบุ ทั้งหมดคือกระแสสังคมที่เหนือกฎหมายและทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

19 ธ.ค. 2562 เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี นักวิชาการที่เกาะติดเรื่องสวัสดิการและแรงงาน โพสต์ข้อความเล่าถึงการประชุม คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร วันดังกล่าว(18 ธ.ค.62) ว่า ไชยวัฒน์ วรรณโคตร เลขาอนุกรรมาธิการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้เสนอต่อกรรมาธิการการแรงงานในประเด็นการบังคับลาออกหรือการลงโทษตามข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ่านการละเมิดสิทธิพื้นฐานเช่นเสรีภาพในการแสดงออก หรือการชุมนุมทางการเมือง โดยอ้างถึง ฎีกา 4052/2548 ว่าหากนายจ้างระบุว่าหากไม่ลาออกจะไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชย และลูกจ้างเกิดความรู้สึกกลัวและเซ็นใบลาออกทันที ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชย

ทั้งนี้จากเอกสารที่ไชยวัฒน์ยังระบุว่า การที่บริษัทตั้งกรรมการสอบเหตุการณ์ซึ่งทางบริษัทมิได้ระบุไว้ในประกาศ จึงไม่แน่ใจว่าเป็นเหตุ เกี่ยวกับข้อบังคับในการทำงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน หมวด 9 การควบคุม มาตรา 108 หรือไม่ หากไม่เกี่ยวข้องการที่บริษัทตั้งกรรมการสอบพนักงานตามกระแสสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นการใช้สิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญและเป็นเรื่องไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน จนนำมาสู่การลาออกในท้ายที่สุดนั้น การกระทำของบริษัทในลักษณะนี้ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่?

นอกจากเรื่องค่าชดเชย ไชยวัฒน์ยังเสนอให้กรรมาธิการแรงงาน ส่งต่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงแรงงาน สหภาพแรงงาน เจ้าของกิจการ เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและวินัยเพื่อไม่ให้ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยขอเสนอ อุตสาหกรรมภาคการผลิต อุตสาหกรรมด้านการบริการและการเงิน อุตสาหกรรมด้านสื่อสารมวลชน และขอให้กรรมาธิการแรงงานทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เพราะในกรณีดังกล่าวนอกจากประเด็นแรงงานแล้วยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายการกระทำที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากล

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ ในฐานะตัวแทนสถานประกอบการด้านสื่อยืนยันว่า การทำงานด้านสื่อไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา จุดยืนทางการเมือง รสนิยมทางเพศส่วนตัว การชุมนุมทางการเมือง หากไม่มีการแจ้งลาเป็นเท็จเช่นลาป่วยเพื่อการชุมนุมก็ไม่ถือมีความผิด และไม่กระทบต่องาน ดังนั้นจึงไม่มีเหตุอันใดที่บริษัทด้านสื่อจะมีข้อบังคับการทำงานที่ขัดกับสิทธิพื้นฐานได้

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เลขานุการ กมธ.สิทธิมนุษยชนฯ (ผู้ได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู) ให้ข้อมูลยืนยันว่า การชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ ไม่เข้าองค์ประกอบการผิดกฎหมายใด และบริษัทไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ ว่าผิดข้อบังคับไหน หรือผิดกฎหมายบ้านเมืองอย่างไร ดังนั้นเรื่องทั้งหมดคือกระแสสังคมที่ เหนือกฎหมาย และทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

นี้คือความคืบหน้าเบื้องต้น ติดตามฉบับเต็มและทิศทางของ กรรมาธิการแรงงานต่อเรื่องนี้ ทาง เพจ ประธานกรรมาธิการการแรงงาน สุเทพ อู่อ้น ประธานกรรมาธิการการแรงงาน [1]

ษัษฐรัมย์ยังระบุว่า ในเบื้องต้นจะมีการประสานองค์กรสิทธิที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับเรื่องนี้ สิ่งที่ต้องยืนยันคือนี่ไม่ใช่กรณีแรก ไม่ใช่กรณีสุดท้าย เกิดกับทุกคนได้ แม้แต่ตัวเราเอง กรรมาธิการการแรงงานต้องสร้างบรรทัดฐานเรื่องนี้ต่อไป

 

 

ข่าว [2]
การเมือง [3]
สังคม [4]
แรงงาน [5]
สิทธิมนุษยชน [6]
คุณภาพชีวิต [7]
กรรมาธิการการแรงงาน [8]
การบังคับลาออก [9]
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน [10]
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี [11]
ไชยวัฒน์ วรรณโคตร [12]
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ [13]
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา [14]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2019/12/85607

Links
[1] https://m.facebook.com/suthepUA/
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B8%B5
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%A3
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2