จดหมายเปิดผนึกจากองค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กรถึงนายกฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่บ้านหนองบัว อ.ท่าสองยาง ตาก เตือนระวังละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ห้ามส่งผู้ลี้ภัยไปเผชิญอันตราย
เมื่อวันที่ 3 ก.พ. องค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กรได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก” ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. และจะส่งกลับทั้งหมดภายในวันที่ 15 ก.พ. โดยตอนหนึ่งในจดหมายระบุว่า “การส่งกลับผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ อาจจะเป็นการการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่ภัยแห่งความตาย อันเป็นการละเมิดกฎจารีตระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักการการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non- refoulement principle)"
สำหรับรายละเอียดของจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 มาตรการ และรายนามของบุคคล และองค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กร มีดังนี้
000
จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล เรื่องขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก
เรื่อง ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวบ้านหนองบัว ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก ถึง ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล ตามที่ปรากฏข่าวต่อสาธารณะในกรณีของกองทัพภาคที่ 3 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะมีการดำเนินการส่งกลับผู้อพยพในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ทั้งหมด ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 นั้น พวกเราในฐานะตัวแทนของกลุ่มประชาสังคมจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา นักกิจกรรมทางสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ศิลปิน นักเขียน และประชาชนไทยทั่วไป มีความห่วงใยอย่างยิ่งในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีการส่งกลับผู้ลี้ภัยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากกับระเบิด ซึ่งไม่มีฝ่ายใดสามารถยืนยันถึงความปลอดภัยได้ ซึ่งจะถือได้ว่าการส่งกลับผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ อาจจะเป็นการการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่ภัยแห่งความตาย อันเป็นการละเมิดกฎจารีตระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักการการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement principle) ตลอดจนมาตรการดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ที่ผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมและปัญหาความไม่มั่นคงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มเมื่อผู้อพยพเหล่านี้ไม่ได้รับความปลอดภัยหรือถูกคุกคามในพื้นที่ พวกเขาอาจะย้อนกลับเข้ามาประเทศไทยอีกโดยวิธีการอื่นๆ อันจะทำให้เกิดปัญหาทางสังคม ปัญหาค้ามนุษย์ หรือกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายได้ต่อไป ด้วยความห่วงใยในสถานการณ์ดังกล่าว พวกเราจึงมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐบาลไทย ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล ดังต่อไปนี้ 1.ขอให้รัฐบาลไทยยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยทั้งหมดชั่วคราว จนกว่าจะมีการกระบวนการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบที่โปร่งใส โดยการมีส่วนร่วมของสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ตัวแทนจากผู้ลี้ภัย ชุมชนท้องถิ่น สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นการรับประกันว่าผู้ที่กลับไป จะไม่ถูกประหัตประหารหรือเสี่ยงภัย เช่น กับระเบิด ตลอดจนมีกระบวนการตรวจสอบความสมัครใจของผู้ลี้ภัยอย่างแท้จริงก่อนมีกระบวน การส่งกลับอย่างสมศักดิ์ศรี และสอดคล้องกับขั้นตอนปฏิบัติของผู้ลี้ภัยที่ บัญญัติไว้ในกฎบัตรสากลที่เกี่ยวข้องต่อไป 2.ขอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไปยังหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติการกระทำอันเป็นการข่มขู่ คุกคาม หรือสร้างความวิตกกังวลต่อผู้ลี้ภัย จนกว่าการแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่ยืนอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของผู้ภัยจะมีหลักประกันจักแล้วเสร็จ 3.ขอให้รัฐบาลมีการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ต่อกรณีการส่งกลับผู้ลี้ภัยในครั้งนี้ โดยการเชิญสื่อมวลชนและเปิดรับกลุ่มประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นพม่า ที่มีความประสงค์ในการเข้าร่วมสังเกตการณ์การส่งกลับผู้ลี้ภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นสักขีพยานต่อความสมัครใจของผู้ลี้ภัยในการกลับภูมิลำเนา 4.ขอให้มีการร่วมกันแสวงหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในอนาคต ภายหลังการส่งกลับผู้ลี้ภัย รวมทั้งสร้างเวทีเพื่อระดมการพูดคุยแลกเปลี่ยน ในการแสวงหาทางออกต่อกรณีปัญหาผู้ลี้ภัยในระยะยาว เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการรับรู้และปฏิบัติร่วมกันต่อไป 5.ขอให้หน่วยงานและองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนได้มีการช่วยเหลือและติดตามตรวจสอบให้มีการแก้ไขปัญหาที่ยืนอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย ให้ได้รับการปกป้องจนถึงที่สุด จากข้อเสนอดังกล่าวนี้ เรามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยเจตนาเพื่อลดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกัน และเพื่อแสวงหาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป สุดท้ายนี้ เรามีความเชื่อว่ากระบวนการการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ จะสร้างทางออกของกรณีปัญหานี้ร่วมกัน บนตรรกะเหตุผลของการเคารพและยอมรับซึ่งสิทธิศักดิ์ศรีแห่งการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ทุกผู้คน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก ด้วยความเคารพในหลักสิทธิของความเป็นมนุษย์ร่วมกัน 3 กุมภาพันธ์ 2553
องค์กรไทย Thai Organizations 1.ศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Regional Center for Sustainable Development (RCSD), Chiangmai University 11. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ Northern Development Foundation 21. กลุ่มมะขามป้อม Makhampom Group 31. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) Students Federation of Thailand
องค์กรประเด็นพม่า Burma organizations 1. Campaign Action Coordination Team (CACT) 11. Kuki Students Democratic Front 21. Karenni Social Welfare and Development Committee 31. Burmese Women’s Union (BWU)
บุคคล Aung Marm Oo |