Skip to main content
sharethis

1 เมษายน 2553 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เผยแพร่ผลสำรวจความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ในช่วงการชุมนุมทางการเมือง พบนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้อยละ 41.4 ระบุ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบมากต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ   แต่ยังยกให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุดในบรรดา 11 เมือง ของกลุ่มเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย  โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.  ความเห็นต่อประเด็นสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เพียงใด พบว่า  

มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ระบุว่า ส่งผลมาก ถึงร้อยละ 41.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากการสำรวจเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2552 (ร้อยละ 19.3)  

 
สำรวจเมื่อ
31 ต.ค.-1 พ.ย. 52
(ร้อยละ)
สำรวจเมื่อ
26 - 29 มี.ค. 53
(ร้อยละ)
ส่งผลมาก
(โดยแบ่งเป็น ส่งผลมากที่สุด ร้อยละ 7.8 และส่งผลมาก ร้อยละ 33.6)
19.3
41.4
ส่งผลน้อย      
(โดยแบ่งเป็น ส่งผลน้อยที่สุด ร้อยละ 23.0 และส่งผลน้อย ร้อยละ 35.6)
80.7
58.6
 
2. เมืองหลวงที่น่าท่องเที่ยวมากที่สุด 5 อันดับแรกในความเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพฯ  (เปรียบเทียบเฉพาะ 11 เมืองในกลุ่มเครือข่ายเมืองใหญ่แห่งเอเชีย 21 (The Asian Network of Major Cities 21 หรือ ANMC21)ได้แก่ กรุงเดลี กรุงฮานอย กรุงจาการ์ตา กรุงกัวลาลัมเปอร์ กรุงมะนิลา
กรุงโซล กรุงโตเกียว กรุงไทเป กรุงย่างกุ้ง สิงคโปร์ และกรุงเทพมหานคร) 
 
อันดับ 1 กรุงเทพฯ ประเทศไทย                         ร้อยละ 31.9
อันดับ 2 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น                    ร้อยละ 19.0
อันดับ 3 สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์                    ร้อยละ 12.6
อันดับ 4 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย     ร้อยละ 8.8
อันดับ 5 กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม               ร้อยละ 7.6
 
3. เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวกรุงเทพฯ อีกครั้ง พบว่า
จะกลับมาอีก                           ร้อยละ 75.5
จะไม่กลับมาอีก                    ร้อยละ   2.7
ยังไม่แน่ใจ                          ร้อยละ  21.8
 
4. การยินดีที่จะแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวกรุงเทพฯ พบว่า
จะแนะนำ                     ร้อยละ 82.8
จะไม่แนะนำ               ร้อยละ   0.7  
(โดยให้เหตุผลว่า มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เสียงดัง และทางเดินเท้าไม่สะอาด)
ไม่แน่ใจ                    ร้อยละ 16.5
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net