เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เสนอร่างพ.ร.บ. ป้องกันและต่อต้านการทรมาน

วันพฤหัสบดีที่ 23มิถุนายนที่ผ่านมา เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจัดสัมนาสาธารณะ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในหัวข้อ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและต่อต้านการทรมาน รูปธรรมของทางออกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทรมานในสังคมไทย”

การสัมมนาเริ่มตั้งแต่เวลา 8:30 จนถึง 16:30 น. โดยมีตัวแทนญาติหรือเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นักวิชาการและประชาชนเข้าร่วมรับฟังและเสนอความเห็น

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เสนอร่างพ.ร.บ. ป้องกันและต่อต้านการทรมาน

 

ในช่วงเช้าของงานสัมมนาได้มีการนำผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานมาเล่าประสบการณ์ของตน เช่นพระทวีศักดิ์ ขีณมโล วันตะโกรวม จังหวัดสิงห์บุรี ที่โดนตำรวจทำการซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าชิงทรัพย์ นางพิกุล พรหมจันททร์ ตัวแทนเครือข่ายญาติผู้เสียชีวิตและสูญหายในจังหวังกาฬสินธุ์ และนายอิสมาแอ เตะ ตัวแทนเครือข่ายส่งเสริมสิทธิและเข้าถึงความยุติธรรม โดยมีคุณ จอม เพ็ชรประดับ นักข่าวอิสระเป็นผู้ดำเนินรายการ

หลังจากนั้นมีการนำเสนอรายงานการศึกษาสภาพปัญหาของการทรมาน โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โดยนางสาวพรเพ็ญ ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาสภาพปัญหาการทรมานเช่น กรณีนักศึกษาราชภัฎยะลา ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแนวร่วมก่อความไม่สงบ ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจค้นและควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก นอกจากนี้ยังถูกทรมานให้รับสารภาพโดยที่ไม่มีหมายค้นหรือหมายจับ และยังควบคุมตัวเกิดระยะเวลากฎอัยการศึกอีกด้วย ทั้งนี้เป้นการใช้อำนาจเกิดขอบเขตและไม่สอดคล้องกับเจนารมณ์ของกฎอัยการศึก ซึ่ง ณ ขณะนี้ผู้ได้รับผลกระทบคนดังกล่าวก็ไม่มั่นใจระบบการคุ้มครองพยาน ปัจจุบันถูกโทรศัพท์ข่มขู่ตลอด และชื่อยังปรากฎตามด่านต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดน และกระบวนการศาลยังใช้เวลานานมากและหากแพ้ดคีก็เกรงว่าจะถูกเจ้าหน้าที่ฟ้องกลับ

หรือกรณีคดีกาฬสินธุ์ นายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง ซึ่งอายุเพียงแค่สิบเจ็ดปี เสียชีวิตโดยการถูกฆ่าแขวนคอในช่วงนโยบายการปราบปรามยาเสพติด เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าเหตุเสียชีวิตเนื่องมาจากการฆ่าตัดตอน

นางสาวพรเพ็ญ ได้ประมวลสภาพปัญหาของการซ้อมทรมานว่า มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของค่ายทหาร หน่วยเฉพาะกิจ สถานีตำรวจ หรือสถานที่อื่นใดที่สามารถเข้าถึงได้ยากทำให้ขาดการตรวจสอบจากประชาชนทั่วไป การตรวจเยี่ยมไม่พบข้อเท็จจริงเพราะมีเป็นการการแจ้งล่วงหน้า ขาดกลไกตรวจสอบการใข้อำนาจของเข้าหน้าที่ โดยอ้างว่าการซ้อมทรมานไม่มีการพิสูจนืไม่การแจ้งความ และผู้เสียหายไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาฟื้นฟูอย่างเหมาะสม

รศ. ณรงค์ ใจหาญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สรุปสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทรมาน โดยจากการตรวจสอบประมมวลกฎหมายอาญา พบว่ามีบทบัญญัติสามารถลงโทศเจ้าพนักงานที่กระทำทรมานตามอนุสัฐฐาได้ แต่เป้นการลงโทษตามความผิดที่กระทบต่อสิทธิในร่างกาย เสรีภาพ รวมถึงความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่ยังมีข้อจำกัดในบางกรณีที่กระทำต่อจิตใจหรือทำให้น่าจะเป็นอันตราย หรือเป็นการกระทำอันเป็นการกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ยังไม่เป็นความผิด

ปัญหาในกฏหมายวิธีสบัญญัติ เรื่องการห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่ได้จากการทรมาน มีบทบัญญัติกำหนดไว้แล้วใน ป.วิ.อ.ม. 226 และมีข้อห้ามการทรมานในกระบวนการสอบสวนในมาตรา 135 แต่มีปัญหาทางการบังคับใช้ว่าจะได้หลักฐานอย่างไรว่ามีการทรมานก่อนให้การรับสารภาพ และในทางตรงกันข้าม การที่มีข้ออ้างว่ามีการทรมาน จะมพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเป็นจริง

ในกรณีที่มีการทรมานและผู้ทรมานเป็นเจ้าพนักงานและมีอำนาจสอบสวนด้วย จะมีปัญหาว่าจะมีการสอบสวนเจ้าพนักงานอย่างไร ที่จะให้เกิดความเป็นธรรมได้ และมีมาตรการในการป้องกันการทรมานซ้ำอย่างไร ทั้งนี้กระบวนการตรวจสอบ หากเป้นการทำร้ายร่างกาย อาจใช้พนักงานสอบสวนโดยทั่วไปได้ แต่ถ้าเป้นการทรมานจิตใจอาจไม่ปรากฎร่องรอย จะตรวจสอบอย่างไร จึงจะได้หลักฐานว่ามีการทรมานจริง

การหาตัวผู้กระทำความผิดที่เป็นเจ้าพนักงาน ยังมีความยากต่อผู้เสียหาย และหน่วยงานอื่น เพราะการทรมานอาจกระทำในขณะที่ผู้ถูกทรมานถูกปิดตา หรือถูกกระทำโดยไม่รู้จักตัวเจ้าพนักงานได้ จึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบหากไม่ได้รับความร่วมมือจากหัวหน้าหน่วยงาน

รศ. ณรงค์ยังเสนอว่า พนักงานสืบสวนสอบสวนควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในความหมายของการทรมาน จึงจะสอบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงตามองค์ประกอบ และต้องมีความรู้ทางเทคนิคที่จะเก็บข้อมูล และมีความรู้ทางด้านเนื้อหากลไกในอนุสัญญาด้วย หรือควรมีมาตรการป้องกันการทรมาน โดยการอบรมและมีมาตรการควบคุมไม่ให้เจ้าพนักงานกระทำทรมาน ทั้งที่กระทำภายในองค์กรและนอกองค์กร หรือควรตั้งคำถามว่าจะต้องมีหน่วยงานพิเศษที่สอบสสวยเกี่ยวกับการทรมานหรือไม่?

ทั้งนี้การเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกทรมาน ตามรัฐธรรมนูฐมาตรา 32 วรรคท้ายกำหนดให้ยื่นขอจากศาล แต่ในทางปฏิบัติบังไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดวิธีการสั่งและจะเยียวยาในเรื่องใดบ้าง? ควรมีกฎหมายกำหนดชัดเจนหรือไม่?

กลไกในการป้องกันการทรมานและการตรวจสอบการบังคับให้เป็นไปตามมาตรการ ในปัจจุบันมีหน่วยงานแต่ละหน่วยงานที่กำกับดูแลไม่ให้มีการทรมาน ออกระเบียบที่ห้ามมิให้มีการกระทำที่ทรมาน ยกเลิกระเบียบที่ขัดต่ออนุสัญา แต่ยังไม่มีการอบรมหลักสูตรการต่อต้านทรมานที่ชัดเจน ยังไม่มีการจรวจสอบข้อร้องเรียนหรือการตรวจสอบในการป้องกันการทรมานที่ชัดเจน

แนวทางแก้ไขเช่น กำหนดให้มีพนักงานสอบสวนพิเศษ หรือกำหนดให้มีแพทย์นิติเวชเข้าร่วมในการสอบสวน รวมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างพิจารณา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท