TCIJ: เปิดปมดัน 'โรงไฟฟ้าถ่านหินปะนาเระ' อ้างมั่นคง-ทำเลดี-ที่เอกชน-คนค้านน้อย

รายงานจาก TCIJ ระบุ กมธ.พลังงาน สนช. เสนอสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ใช้งบ 7 หมื่นล้านบาท  อ้างเพื่อสำรอง หากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพาเดินหน้าต่อไม่ได้  เกิดคำถามเอาถ่านหินทำไม ? ทั้งที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่รัฐออกนโยบายสนับสนุนโรงไฟฟ้าทดแทนมากที่สุด ภาพรวมพบศักยภาพพลังงานทดแทนภาคใต้มีสูง แต่รัฐบาล คสช. กลับเดินหน้าโครงการด้วยกรอบคิด กฟผ.
 
2 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ TCIJ รายงานว่าเป็นเรื่องที่เรียกเสียงคัดค้านทันที  เมื่อคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  เสนอให้รัฐบาลสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี โดยข้อเสนอนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม สนช.ไปแล้วเมื่อปลายเดือน มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช. ให้เหตุผลว่าปัจจุบันภาคใต้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าประมาณ 3,122 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นกำลังการผลิตที่พึ่งพาได้เพียง 2,473 เมกะวัตต์ รับจากภาคกลางประมาณ 600 เมกะวัตต์ และรับซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ รวมเป็นกำลังการผลิตที่สามารถพึ่งพาได้ทั้งหมด 3,373 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้จากข้อมูลเมื่อเดือน เม.ย. 2558 อยู่ที่ 2,500 เมกะวัตต์ และข้อมูลพยากรณ์ในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 3,218 เมกะวัตต์ ดังนั้นการพัฒนาโครงการไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 เป็นสิ่งที่ควรรีบพิจารณาและดำเนินการเร่งด่วน เพื่อป้องกันการขาดแคลนพลังงาน
 
 
ภูมิประเทศ ของ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ติดทะเล 2 ด้าน ทั้งทิศเหนือและทิศตะวันออก (ที่มาภาพ: Google Map)
 

ปะนาเระ เหนือกว่าที่อื่น

 
แต่จากสถานการณ์การชุมนุมคัดค้านต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่ายหินเทพา ที่อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุตามแผน PDP 2015 ได้นั้น ศอ.บต. จึงเตรียมการศึกษาศักยภาพเบื้องต้น สำหรับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เพื่อเป็นแบบแผนทดแทนเพิ่มเติมกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่ายหินเทพาไม่สามารถพัฒนาได้ตามกำหนด เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นสามารถสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีต่อการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดต้นแบบสำหรับการเรียนรู้และการยอมรับในพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้แผนในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ จ.ปัตตานี นี้ยังคงปฎิบัติตามเกณฑ์ของแผน PDP 2015 ในส่วนของ 1,000 เมกะวัตต์ ที่ยังไม่ได้กำหนดพื้นที่เพื่อการผลิตในปี 2577  โดยรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการโรงไฟฟ้าปะนาเระนั้น  เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ขนาดกำลังติดตั้ง 1,000 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินซับบิทูมินัส หรือ บิทูมินัส นำเข้าจากต่างประเทศ ต้นทุนโครงการประมาณ 70,000 ล้านบาท ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าประมาณ 2.67 บาทต่อหน่วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบสถานที่ตั้งและท่าเทียบเรือระหว่าง โรงไฟฟ้ากระบี่-เทพา และปะนาเระ พบว่าท่าเทียบเรือที่ยื่นลงไปในทะเลให้ได้ร่องน้ำลึก 6-7 ม. ใช้เรือบรรทุกได้ 13,000 ตันได้นั้น โรงไฟฟ้ากระบี่มีระยะทางที่ 6.7 กม. โรงไฟฟ้าเทพามีระยะทางที่ 3.00 กม. และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีระยะทางที่ 3.58 กม. ส่วนระยะทางท่าเทียบเรือที่ยื่นลงไปในทะเลให้ได้ร่องน้ำลึก 16 ม. ที่ใช้เรือบรรทุกได้ 80,000-100,000 ตัน นั้น โรงไฟฟ้ากระบี่ไม่มีท่าเทียบเรือดังกล่าว โรงไฟฟ้าเทพามีระยะทางที่ 15 กม. และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีระยะทางที่ 4.96 กม. ซึ่งเมื่อสรุปด้านความสิ้นเปลืองในการขนส่งถ่านหินนั้นพบว่า โรงไฟฟ้ากระบี่มีความสิ้นเปลืองมากที่สุด ตามมาด้วยโรงไฟฟ้าเทพา และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีความสิ้นเปลืองน้อยที่สุด
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท