Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

4 ข้อคำถามคาใจว่าด้วยการไม่เปิดเผยข้อมูล งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ การเสียชีวิตของ สมาน กุนัน เสนอตั้งหน่วยกู้ภัยแห่งชาติ

ถึง คสช.

กรณีการหลงถ้ำของ 13 หมูป่าในถ้ำหลวง อ.แม่สาย จ.เชียงราย ช่วงวันที่ 23 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพการกู้ภัยระหว่างทีมต่างประเทศ-ทีมไทย

นอกจากนี้รัฐบาลพยายามกีดกันสื่อมวลชนจนเกินเหตุ และปกปิดข้อมูลการกู้ภัยนี้ ขณะที่สื่อมวลชนต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อมูล-บทสัมภาษณ์ที่เกี่ยวกับการกู้ภัยนี้อย่างเสรี

แม้ 13 หมูป่าจะถูกลำเลียงออกจากถ้ำหลวงอย่างปลอดภัย แต่สังคมยังคงมีคำถามถึงข้อมูลที่ขัดแย้งกันระหว่างข้อมูลของสื่อมวลชนต่างประเทศ-รัฐบาลต่อกรณีนี้


1. การลำเลียง 13 หมูป่าออกจากถ้ำ: สื่อมวลชนต่างประเทศเผยแพร่ข้อมูลการสัมภาษณ์ทีมต่างประเทศที่เข้าร่วมการกู้ภัยนี้ซึ่งต่างจากข้อมูลที่รัฐบาลเปิดเผยก่อนหน้านี้

- ทีมต่างประเทศบางคนอ้างถึงความจำเป็นในการวางยาสลบ (Sedation: ศัพท์ทางการแพทย์คือ การวางยาให้สงบ) เพื่อทำให้เด็กไม่ตื่นตระหนก ต่างจากที่รัฐบาลอ้างถึงการใช้ยาคลายเครียด

- คลิปการลำเลียง 13 หมูป่าออกจากถ้ำแสดงให้เห็นถึงเด็กเหล่านี้ถูกห่ออยู่ในเปลที่ถูกลำเลียงโดยทีมกู้ภัยต่างประเทศ ต่างจากที่รัฐบาลอ้างเด็กเหล่านี้ดำน้ำออกจากถ้ำโดยมีทีมกู้ภัยต่างประเทศเป็นผู้นำทาง

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงควรเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงต่อวิธีการลำเลียง 13 หมูป่าออกจากถ้ำหลวงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตนเอง


2. ค่าใช้จ่ายในการกู้ภัย: รัฐบาลอ้างถึงค่าใช้จ่ายของรัฐจำนวนหลายร้อยล้านบาทในการกู้ภัยนี้ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับความจริง

- อุปกรณ์ที่ใช้ในการกู้ภัยนี้หลายอย่างได้รับการบริจาค เช่น เสื้อกันฝน, เครื่องสแกนถ้ำ และเครื่องสูบน้ำ รวมทั้งวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ถ่านไฟฉาย และน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเครื่องสูบน้ำ

- เอกชนร่วมบริจาคอาหาร-น้ำดื่มให้กับการกู้ภัยนี้ บางรายปรุงอาหารสดแจกจ่ายให้กับทีมต่างประเทศ-ทีมไทยในพื้นที่กู้ภัย

- ทหารกว่า 1,000 คนที่ช่วยสูงน้ำออกจากถ้ำหลวงได้รับเงินเดือนจากทหารตามปกติ

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงควรเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่าย, การรับบริจาค และการจ่ายค่าตอบแทนให้กับทีมกู้ภัย-ทหารเพื่อป้องกันการทุจริต-แอบอ้าง


3. การเสียชีวิตของ สมาน กุนัน: ทีมอังกฤษให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่างประเทศถึงการละเลยต่อวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยของทีมไทย เช่น ทีมไทยมีถังอากาศ, เรกูเรเตอร์ และไฟฉายคนละ 1 ชุดในระหว่างการดำน้ำเข้าไปภายในถ้ำหลวง และการที่ทีมไทยอยู่ภายในโถงถ้ำทั้งที่อาจมีอากาศไม่เพียงพอที่จะดำน้ำออกมา

ขณะที่สื่อมวลชนรายงานถึงการเสียชีวิตของ สมาน กุนัน ซึ่งเป็น 1 ในทีมไทยระหว่างการดำน้ำออกจากถ้ำหลังการลำเลียงถังอากาศ แต่รัฐบาลไม่เปิดเผยถึงสาเหตุการเสียชีวิตของเขา

ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงควรเปิดเผยถึงสาเหตุการเสียชีวิตของ สมาน กุนัน และรัฐบาลควรสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิตนี้มีส่วนเกี่ยวข้อกับความสะเพร่าของทีมไทยหรือไม่


4. การตั้งหน่วยกู้ภัยแห่งชาติ: การกู้ภัยนี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของทีมไทยที่เชื่อมั่นในหน่วย SEAL ที่ไม่มีประสบการณ์ในการกู้ภัยถ้ำมากเกินไป

อย่างไรก็ตามรัฐบาลให้ความสำคัญต่อกรณีเพียงการเตรียมจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์กู้ภัย และการฝึกการดำน้ำในถ้ำให้กับหน่วย SEAL เพิ่มเติมแทนที่จะเป็นการตั้งหน่วยกู้ภัยแห่งชาติแบบเดียวกับในชาติตะวันตก
.
รัฐบาลต้องยอมรับความจริงที่ว่า การกู้ภัยนี้ไม่มีทางประสบความสำเร็จ หากไม่มีทีมต่างประเทศช่วยเหลือ รัฐบาลควรถอดบทเรียนนี้เพื่อการตั้งหน่วยกู้ภัยแห่งชาติ

หน่วยกู้ภัยแห่งชาติจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม และทีมงานที่มีประสบการณ์ ไม่ใช่การใช้หน่วย SEAL ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเพื่อการกู้ภัย

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน:  เฟสบุ๊ค เอกชัย หงส์กังวาน

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net