ครป. เผยรายชื่อ คกก.ชุดใหม่ปี 2564-2566 ชี้ 'รัฐบาลอำนาจนิยม' และ 'กลุ่มทุนผูกขาด' คือภัยร้ายแรง

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เผยรายชื่อคณะกรรมการชุดใหม่ ประจําปี 2564-2566 ประเมินสถานการณ์การเมืองใน 2 ปีข้างหน้าภัยร้ายแรงที่คุกคามประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนคือ 'รัฐบาลอำนาจนิยม' และ 'กลุ่มทุนผูกขาด'

25 กรกฎาคม 2564 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้เผยแพร่ผลการประชุมสมัชชา ครป. ประจำปี 2564 วันนี้ว่า ภายหลังจากคณะกรรมการของ ครป. สมัยที่แล้วได้ปฏิบัติภารกิจรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยมาครบวาระ 2 ปีแล้ว จึงได้จัดประชุมสมัชชา ครป. ประจำปี 2564-2566 ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมสมัชชา ครป. จำนวน 35 คน จากคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการ สมาชิก และแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมระบบออนไลน์ในสถานการณ์พิเศษ

ที่ประชุม ครป.ได้ประเมินสถานการณ์การเมืองใน 2 ปีข้างหน้า เห็นร่วมกันว่าภัยร้ายแรงที่คุกคามประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนคือ "รัฐบาลอำนาจนิยม" และ "กลุ่มทุนผูกขาด"  ประกอบกับการเมืองระหว่างประเทศที่กำหนดนโยบายความมั่นคงภายใน ระบอบประยุทธ์ได้สร้างเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดประชารัฐขึ้นจนเกิดความเหลื่อมล้ำสูงสุดในทางเศรษฐกิจ ขณะที่ในทางการเมืองได้สร้างรัฐอำนาจนิยมภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตยครึ่งใบแบบอนุรักษ์นิยมขึ้น ผ่านรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจ คสช. ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสถานะอำนาจนิยมและสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และขาดระบบกำกับอำนาจรัฐ ตามกลไกประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และการมีสวนร่วมจากประชาชน

ดังนั้น ความขัดแย้งจึงอาจเกิดการปะทุของเหตุการณ์ขึ้นในรอบ 2 ปีนี้อย่างรุนแรง ทั้งจากการรวบอำนาจทางการเมือง ความผิดพลาดในการบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจที่เน้นเสรีนิยมทางการเงิน การละเลยไม่ใส่ใจใยดีในการแก้ไขปัญหาสิทธิชุมชน โครงการขนาดใหญ่ที่กระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ฐานทรัพยากร และความทุกข์ยากของคนชายขอบที่หมักหมมมายาวนาน โดยเฉพาะการบริหารจัดการโรคติดต่อร้ายแรงที่ล้มเหลวในปัจจุบัน เพราะการคอร์รัปชั่นทางอำนาจและนโยบาย ซึ่งทางออกเฉพาะหน้านั้น ภาคประชาชนเห็นว่าจะต้องขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ออกไป และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่ทำหน้าที่แทนปวงชนชาวไทยอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจรัฐและทุนผูกขาด โดยมีประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยเป็นศูนย์กลางการกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนการปฏิรูปกองทัพ-ตำรวจ กระบวนการยุติธรรม และองค์กรต่างๆ อย่างเป็นระบบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการผูกขาดการเมืองและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

ครป. จึงกำหนดเป้าหมายในการทำงานของคณะกรรมการ ครป. ชุดใหม่ว่า จะต้องรณรงค์เพื่อสร้างประชาธิปไตยทั้งทางการเมืองและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ หยุดการผูกขาดอำนาจนิยมและระบบเศรษฐกิจผูกขาด ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะในทุกระดับตลอด 2 ปีนี้ข้างหน้านี้อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศเพื่อหนุนเสริมประเด็นต่างๆ และทำงานกับคนรุ่นใหม่มากขึ้นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ 1) การปฏิรูปการเมือง พรรคการเมือง การเลือกตั้ง และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตย 2) กระจายอำนาจการปกครอง อำนาจการจัดการตนเองในระดับท้องถิ่นและจังหวัด ขับเคลื่อนสิทธิชุมชน  3) สร้างประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ รัฐสวัสดิการ หยุดระบบเศรษฐกิจผูกขาด  4) ตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รณรงค์ให้มีการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิและความเสมอภาคของประชาชน และการเข้าถึงความยุติธรรม รวมทั้งการตรวจสอบบทบาทขององค์กรอิสระ และ 5) การสร้างสรรค์ทิศทางใหม่ในการพัฒนาประเทศในระยะยาวหลังโควิดและนวัตกรรมใหม่ทางการเมือง โดยที่ประชุมสมัชชามีการเลือกคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ชุดใหม่ ประจําปี 2564-2566 ดังนี้

ประธาน
นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์

รองประธาน
นายประยงค์ ดอกลำใย
ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล
นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ

เลขาธิการ
เมธา มาสขาว

รองเลขาธิการ
นายณัฐวุฒิ อุปปะ
นายกิตติชัย ใสสะอาด
นายสุริยา บุญโชติ

กรรมการ
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
นางสาวลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
ดร.สุริยะใส กตะศิลา
ดร.เนรมิตร จิตรรักษา
นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด
นายจำนงค์ หนูพันธ์  
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
นายต่อพงษ์ เสลานนท์
นายชัยวัฒน์ ตรีวิทยา
นายสาวิทย์ แก้วหวาน
นายสมควร พรหมทอง
นายประพจน์ ศรีเทศ
นายวรภัทร วีระพัฒนคุปค์
นางลัดดา รักษ์ประชาไท

คณะทำงาน ปฏิรูปการเมืองและยกร่างรัฐธรรมนูญ
-นายกษิต ภิรมย์
คณะทำงาน การกระจายอำนาจ และจังหวัดจัดการตนเอง
-ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล
คณะทำงาน ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ
-นายปรีดา เตียสุวรรณ์
คณะทำงาน การตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
-นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
คณะทำงาน ขบวนผู้หญิง ความเสมอภาคทางเพศ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
-นางสุนี ไชยรส
คณะทำงาน การเลือกตั้งและพรรคการเมือง
-นางสาวลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

ผู้ประสานงานภาคเหนือ
-นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด, นายประพจน์ ศรีเทศ
ผู้ประสานงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, นางสุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง
ผู้ประสานงานภาคกลาง
-นายจำนงค์ หนูพันธ์, นายณัฐวุฒิ อุปปะ
ผู้ประสานงานภาคใต้
-นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ, นายสมควร พรหมทอง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท